เลี่ยงอาบัติ

 
แสงจันทร์
วันที่  8 ส.ค. 2554
หมายเลข  18887
อ่าน  1,818

กรณีพระยืนให้พรหรือยืนแสดงธรรมให้โยมที่ไม่ได้ป่วยแล้วนั่งฟังต้องอาบัติทุกกฎในเสขียะวัตรหมวดธัมมะเทสนาปะฏิยังยุต แต่ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมนั่งรับพรบางทีพระก็บอกไม่ไหวเช่นในเมืองคนใส่บาตรมากหน้าหลายตา ถ้าพระขณะให้พรมีคนยืนอยู่ข้างๆ ท่านหมายใจว่าเราจักแสดงธรรมแก่ผู้ที่ยืนอยู่ข้าง เช่นลูกศิษย์วัดหรือสามเณร หรือทำในใจว่าเราจะทบทวนซึ่งพระธรรม อย่างนี้ยังต้องอาบัติอยู่หรือเปล่า


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สำหรับประเด็นนี้ในอรรถกถาได้อธิบายไว้ในเรื่องถ้าพระมหาเถระนั่งบนอาสนะ ถามปัญหากับพระภิกษุหนุ่มที่ยืนอยู่ อิริยาบถนั่ง สบายกว่า อิริยาบถยืน ผู้ที่แสดงธรรมคือพระภิกษุหนุ่ม ยืนอยู่จะแสดงธรรมกับผู้นั่งฟัง ไม่ควร ดังนั้น อรรถกถาอธิบาย ไม่ควรกล่าว แต่เพราะอาศัยความเคารพกับพระมหาเถระที่ถามจึงไม่สามารถกล่าวบอกว่าให้ท่านลุกขึ้นยืนฟัง หากตั้งใจจะกล่าวกับภิกษุรูปอื่น คนอื่นที่ยืนข้างๆ ไมได้ตั้งใจแสดงกับผู้ถามก็ได้ครับ

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒- หน้าที่ 967

สองบทว่า น ิเตน นิสินฺนสฺส มีความว่า ถ้าแม้นว่า พระมหาเถระนั่งบนอาสนะ ถามปัญหากะภิกษุหนุ่มผู้มายังที่บำรุงของพระเถระแล้วยืนอยู่, เธอไม่ควรกล่าว. แต่ด้วยความเคารพ เธอก็ไม่อาจกล่าวกะพระเถระว่า นิมนต์ท่านลุกขึ้นถามเถิด. จะกล่าวด้วยตั้งใจว่า เราจักกล่าวแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่ข้างๆ ควรอยู่.

สำหรับกรณีใส่บาตรและพระให้พรกับโยมที่นั่งอยู่หลายคน โดยมากก็นั่งกันทั้งนั้นดังนั้นถ้านั่งกันหมด ไม่ควรแสดง ไม่ควรให้พร แต่สามารถกล่าวได้ว่าขอให้ท่านทั้งหลายยืนฟัง ภิกษุผู้รับบิณฑบาตสามารถบอกกับโยมได้ครับที่กำลังจะนั่งรับพร และแม้ว่าโยมทั้งหลายนั่งอยู่ มีบางคนยืน หากตั้งใจจะแสดงกับคนที่ยืนก็พออนุโลมได้ แต่ที่ถูกแล้ว ในอรรถกถากล่าวถึงตัวอย่างเพราะภิกษุหนุ่มเคารพในพระมหาเถระ ภิกษุหนุ่มจึงไม่อาจกล่าวว่านิมนต์ท่านลุกยืนฟังธรรม แต่เมื่อเป็เพศฆราวาสแล้วเป็นเพศที่ต่ำกว่าพระภิกษุ ทางที่ถูก ควรจะบอกโยมทั้งหลายที่แม้มีบางคนยืนอยู่ และก็มีคนที่นั่งด้วยบอกกับโยมทั้งหลายกล่าวว่า พวกท่านจงยืนรับพร ซึ่งพระภิกษุก็สามารถอธิบายเหตุผลในเรื่องนี้กับโยมได้ ก็เป็นการรักษาตัวท่านและให้ความเข้าใจถูกกับอุบาสก อุบาสิกาได้ด้วยครับ การบอกให้ยืนไม่ใช่เรื่องลำบากอะไรครับ โดยไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องเลี่ยงอะไรทั้งสิ้น ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แสงจันทร์
วันที่ 8 ส.ค. 2554

ที่ว่าคนมากหน้าหลายตา คือใส่คนละครั้งครับเช่นเดินถนนในตลาดช่วงเช้าวุ่ยวายมากคนใส่เยอะแต่ไม่ได้ใส่พร้อมกันแถมโยมบางคนหัวแข็งอีก แต่ก็พอใจและขอคุณสำหรับคำตอบ พระท่านจะไดนำไปใช้ในกรณีฉุกเฉิน

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 8 ส.ค. 2554

ฆราวาสก็สามารถรักษาพระวินัยให้ท่านได้ ไม่ทำให้ท่านต้องอาบัติ เวลาใส่บาตรเสร็จก็บอกกับท่านว่า ไม่ต้องให้พร และอีกอย่างหนึ่ง พร หมายถึง การทำความดีในครั้งพุทธกาล เวลาที่พระพุทธเจ้าจะแสดงธรรม ท่านก็ต้องดูกาลเวลา ที่เหมาะสมเช่น ท่านพาหิยะ เดินทางมาเพื่อจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และให้พระพุทธเจ้าแสดงธรรม ในระหว่างทาง แต่พระพุทธเจ้าก็ยังไม่ได้แสดงธรรม แม้ทูลขอครั้งที่สอง และครั้งที่สาม พระพุทธเจ้าแสดงธรรมสั้นๆ ท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะในอดีตท่านเคยสะสมบุญบารมี และเป็นผู้เลิศทางบรรลุเร็วค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 8 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือ สิ่งที่ผิด สิ่งที่ไม่ตรงตามพระธรรมวินัย หลีกเลียงด้วยการไม่กระทำในสิ่งที่ผิด นั่นเอง เมื่อได้กระทำในสิ่งที่ถูกต้องตรงตามพระวินัยแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้เดือดร้อนใจเลย ผู้ที่เป็นบรรพชิตจึงควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจอย่างถ่องแท้จริงๆ
แล้วน้อมประพฤติตามในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตและงดเว้นจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม เพราะถ้าหากว่าไม่ศึกษาแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ต้องอาบัติข้อต่างๆ ได้โดยง่าย และการต้องอาบัติเป็นโทษแก่ตนเองเท่านั้นจริงๆ สิกขาบทที่ควรศึกษาในขณะบิณฑบาต ไม่ได้มีเฉพาะกรณีให้พรในขณะรับอาหารบิณฑบาต เท่านั้น ยังมีอีกมากมายที่ควรศึกษาให้เข้าใจ เช่น ไม่รับอาหารเกินขอบบาตร สำรวมในขณะที่รับบาต เป็นต้น ทั้งหมดเพื่อการขัดเกลากิเลสของตนเอง ทั้งสิ้น เพื่อความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เพื่อความเป็นผู้มีชีวิตที่เรียบง่ายเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสในเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์อย่างแท้จริง ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ