วางใจให้เป็นกลาง

 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่  8 ส.ค. 2554
หมายเลข  18888
อ่าน  9,883

ขอเรียนถามคำว่า การวางใจเป็นกลาง มีคำนี้ในพระไตรปิฎก หรือไม่ อย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การวางใจเป็นกลาง มีในพระไตรปิฎกครับ การวางใจเป็นกลางในที่นี้ หมายถึง จิตที่ไม่

หวั่นไหวไปเป็นอกุศล ไม่ว่าจะพบสิ่งที่ดี หรือ ไม่ดี ก็ไม่หวั่นไหวไป คือ ไม่เป็นอกุศลนั่น

เอง การวางใจเป็นกลาง จึงไม่ใช่หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ ที่เป็นอุเบกขาเวทนา เพราะ

ความรู้สึกเฉยๆ ที่เป็นอุเบกเวทนาเกิดกับจิตที่เป็นกุศลและอกุศลก็ได้ครับ เช่น ขณะที่

เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วเกิดชอบ แต่ก็เป็นเพียงความรู้สึกเฉยๆ ก็มีโลภะเกิดแล้ว แต่ไม่ถึง

กับโสมนัส แม้จะเป็นความรู้สึกเฉยๆ แต่ก็หวั่นไหวแล้วด้วยอกุศลที่เกิดขึ้น ขณะนั้นจึงไม่ใช่เป็นผู้วางใจเป็นกลางที่เป็นกุศลครับ ความไม่หวั่นไหวไปในสิ่งที่ดีหรือไม่ดี เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศลครับ ดังนั้น ในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น ความเป็นผู้วางใจเป็นกลาง คือเป็นอุเบกขาบารมี ที่ไม่ใช่อุเบกเวทนาที่เป็นความรู้สึกเฉยๆ แต่เป็นอุเบก-ขาบารมี ที่เป็นเจตสิกที่เกิดขึ้น คือ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก อันเป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิตฝ่ายดีเท่านั้น มีกุศลจิต เป็นต้น และมีความเป็นกลาง เป็นอาการที่ปรากฎ เพราะไม่หวั่นไหวไปในอกุศล เมื่อเป็นกุศลในขณะนั้น จึงเป็นกลาง เป็นผู้วางใจเป็นกลางในขณะนั้นด้วยตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก ด้วยกุศลจิต อย่างเช่น อุเบกขาบารมี ความเป็นผู้วางเฉย เป็นกลางในสิ่งที่ดีหรือไม่ดี เป็นผู้มีจิตเสมอกัน คือ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความชอบในสิ่งที่ดี

และไม่ชอบ (เป็นโทสะ) ในสิ่งที่ไม่ดี ด้วยกุศลจิตที่เป็นตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก หรือ มี

ปัญญา เข้าใจความจริงว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน จึงวางเฉย ไม่หวั่นไหวไป

ในเมื่อสัตว์ได้รับความเดือดร้อน จึงมีใจเป็นกลางด้วยตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกครับ

การวางใจเป็นกลาง จึงเป็นเรื่องของกุศลจิตที่ เกิดจากปัญญาความคิดถูก หากไม่มี

ปัญญา ความเห็นถูกแล้ว ก็ไม่สามารถวางใจเป็นกลาง คือไม่หวั่นไหวในสิ่งที่ดีหรือไม่ดี

ที่ได้พบเลยครับ ก็ทำให้เป็นอกุศลไป ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ขณะนั้น จึงไม่ชื่อว่าเป็นผู้วางใจเป็นกลางครับ การวางใจเป็นกลาง จึงเป็นกุศลจิตที่เกิดกับตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก

อันมีความเป็นกลางนั่นเองครับ ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...กรุณาอธิบายตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก

ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก -- โสภณสาธารณเจตสิก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 8 ส.ค. 2554

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑- หน้าที่ 57

ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านจงบำเพ็ญแม้อุเบกขาบารมีให้บริบูรณ์ พึง

วางใจเป็นกลาง ทั้งในสุขและทั้งในทุกข์. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดินเมื่อคน

ทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมทำใจเป็นกลางอยู่ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน วางใจเป็นกลางอยู่ในสุขและทุกข์ ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้ว

จึงอธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก

เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

คราวนั้นเรา เลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐

ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ นี้ กระทำให้มั่น

ก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคงประดุจตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ.

ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉย ในของไม่สะอาดและของ

สะอาดที่คนทิ้งลง เว้นจากความโกรธและความยินดีทั้งสอง

นั้น ฉันใด

แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นประดุจตราชั่งในสุข

และทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว จัก

บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 8 ส.ค. 2554

อคติ4 , ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก เหมือนหรือต่างกันอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 8 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

อคติ4 , ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก เหมือนหรือต่างกันอย่างไรคะ

คำว่าอคติ หมายถึง ฐานะอันไม่พึงถึง,ทางความประพฤติที่ผิด, ความลำเอียง มี ๔ คือ ๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก ๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง ๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา ๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

อคติ จึงเป็นไปในฝักฝ่ายอกุศล ความไม่ตรง เพราะขณะที่อกุศลเกิดขึ้น มีลำเอียง

เพราะโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ขณะนั้นไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะอกุศลไม่ตรง

ตามความเป็นจริง ขณะนั้นไม่มีความเป็นกลาง คือ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก เพราะหวั่น

ไหวไปด้วยอกุศล ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก จะเกิดกับจิตที่ดีงามเท่านั้น มีความเป็นกลาง

ที่ไม่หวั่นไหว จึงปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ขณะที่กุศลจิตเกิด มีตัตตรมัช-

ฌัตตตาเจตสิกเกิดร่วมด้วยครับ

ดังนั้น อคติ ความลำเอียง ความประพฤติที่ผิดทาง ความไม่ตรง จึงตรงข้าม แตกต่าง

กับ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก อย่างสิ้นเชิง เพราะ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก ตรง เป็นกลาง

ตามสภาพธรรมนั้น คือ เป็นกุศลในขณะนั้นจึงตรง เป็นกลางด้วยกุศลครับ แต่ขณะที่อคติ ลำเอียง เพราะอำนาจกิเลส กิเลสจะเห็นตามความเป็นจริงไม่ได้ จึงไม่ตรง ไม่เป็นกลางนั่นเองครับ และสภาพธรรรมอื่น ก็ไม่สม่ำเสมอ เพราะว่าไม่มีตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก

เกิดร่วมด้วยครับ

สรุปคือ อคติ เป็นความลำเอียงด้วยจิตที่เป็นอกกุศล แต่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกเป็นเจตสิกฝ่ายดี เกิดกับกุศลจิต ขณะใดเป็นกุศล เป็นกลาง ไม่เอนเอียงเพราะกิเลสเป็นตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกในขณะนั้นครับ

ดังนั้น ในชีวิตประจำวัน ความเป็นกลางด้วยกุศลธรรม ความเป็นผู้ตรงจึงควรอบรมให้

เจริญขึ้น การตัดสินสิ่งใด ว่าถูกหรือผิด แม้แต่การใช้ชีวิตประจำวัน แม้ขณะนี้ก็ควรยึดที่

ความถูกต้องที่เป็นกุศล โดยไม่นำความลำเอียงมาตัดสินปัญหา เพราะเป็นความประพฤติที่ผิดทาง และก็เป็นอกุศลในขณะนั้น ในขณะที่เป็นอคติ ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงและย่อมไม่ได้ประโยชน์จากความอคติเลย นอกจากอกุศลที่เจริญขึ้นจากใจตัวเองโดยไม่รู้ตัวครับ ขอบพระคุณและขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 8 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาัสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น - ไม่มีตัวตนที่จะไปบังคับ หรือ ไปทำให้เกิดความเป็นกลางได้ เนื่องจากว่าความเป็นกลาง เป็นธรรมที่มีจริง เป็นธรรมฝ่ายดี (ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก) ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ความเป็นกลาง คือ ความไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียงไปด้วยอำนาจอกุศลธรรม ทั้งความรัก และ ความชัง นี่คือลักษณะของความเป็นกลาง โดยเป็นกุศลธรรมที่เกิดขึ้นนั่นเอง การที่จะเป็นกลาง ไม่หวั่นไหวมากน้อยแค่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความมากน้อยของปัญญา ด้วย จะเห็นได้ว่าในชีวิตประจำวัน การที่จะได้รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทั้งหลายนั้น กรรมของเราเองเป็นผู้นำมาให้ ถ้ากุศลกรรมยังคุ้มครองอยู่ ก็จะไม่มีโอกาสได้รับอารมณ์ไม่ดี ทางตา หู จมูก ลิ้น กายเลย แต่ถ้าอกุศลกรรมได้โอกาสเมื่อใด วิบากจิตก็เกิดขึ้น รับอารมณ์ที่ไม่ดี ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ที่คนอื่นสามารถทำร้ายเราได้ ที่เราเห็นรูปไม่ดีได้ยินเสียงไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี ได้รสไม่ดี ก็เพราะอกุศลกรรรมของเราที่ได้ทำไว้มีโอกาสให้ผล เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีปัญญาเข้าใจเหตุและผลของกรรมและวิบาก ก็จะมีความหวั่นไหวน้อยลง ไม่เป็นไปกับด้วยโลภะ หรือ โทสะ ความเป็นกลางไม่เอนเอียงไปด้วยอำนาจของอกุศล คือ โลภะ กับ โทสะ ก็จะมีขึ้นตามกำลังของปัญญาจริงๆ -อคติ (ความลำเอียง) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอกุศลธรรม เป็นทางฐานะที่ไม่พึงถึง เป็นฐานะที่ไม่ควรดำเนินไป เพราะเป็นการประพฤติที่ผิด มีการลำเอียง เพราะรัก เป็นต้น การล่วงอคติ ๔ ประการนี้ เป็นกิเลสที่หยาบมาก พระโสดาบันบุคคล ดับกิเลสอย่างหยาบอันเป็นเหตุล่วงอคติ ๔ นี้ได้แล้ว จึงไม่มีการล่วงอคติทั้ง ๔ ประการนี้เลย สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชนยังมีโอกาสล่วงอคติ ๔ ประการนี้ได้ ตามกำลังของกิเลส พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยนัยต่างๆ นั้น เพื่อให้ผู้ศึกษาเห็นโทษของอกุศล และเพื่อให้เห็นคุณของกุศล อันจะเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และเพื่อความเจริญขึ้นแห่งปัญญา ซึ่งจะเป็นเครื่องดับกิเลสได้ในที่สุด ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nong
วันที่ 8 ส.ค. 2554

....การตัดสินสิ่งใด ว่าถูกหรือผิด แม้แต่การใช้ชีวิตประจำวัน แม้ขณะนี้ก็ควรยึดที่ ความ

ถูกต้อง ที่กุศล โดยไม่นำความลำเอียงมาตัดสินปัญหา...

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 8 ส.ค. 2554

ตราบใดที่ยังไม่บรรลุเป็นพระโสดาบ้น ความลำเอียงเพราะรัก เพราะชัง เพราะเขลา

เพราะกลัว ก็ยังมีอยู่เป็นธรรมดา แต่เราก็สามารถสะสมเหตุใหม่ คือ การศึกษาธรรมะ

ให้เข้าใจถูก เห็นถูก ถ้าสติปัฏฐานเกิดก็ละคลายกิเลส ละคลายตัวตน สัตว์ บุคคลคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pat_jesty
วันที่ 9 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
หลานตาจอน
วันที่ 9 ส.ค. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
คนไทยพบธรรม
วันที่ 10 ส.ค. 2554

การวางใจให้เป็นกลางอาจจะหมายถึงเราจะไม่เลือกที่รักมักที่ชัง คือคนทำดีกับเรา เรา

ก็จะไม่แสดงความยินดีจนเลยเถิด ใครไม่ดีต่อเรา เราก็ไม่พอใจจนเกินงาม และยังกล่าว

ไปถึงคนที่เรารักหรือไม่รัก บางครั้งคนที่เราไม่รักทำอะไรไม่ถูกต้องดีงามเราก็ต้องไป

เตือนบอกกล่าวเค้าด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ซึ่งคงจะทำยากอยู๋เหมือนกัน ในส่วนคนที่เรารัก

ทำอะไรไม่ถูกต้องเราก็ต้องไปเตือนเค้าอยู่เหมือนกัน แม้ความไม่ถูกต้องอันนั้นเราจะมี

ผลประโยชน์อย่างไรก็ตาม เราจะไม่ปิดกั้นต่อตนเอง และ ผู้อื่นด้วย ตลอดจนคนทุกคน

ด้วยคำว่าใจไม่เป็นกลางอีก ขอขอบคคุณครับที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นได้

ระดับหนึ่ง ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 10 ครับ

ความเป็นผู้วางใจเป็นกลาง คือ ไม่หวั่นไหวไปในอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย คือไม่เป็น

โลภะยินดีพอใจแม้เล็กน้อยเลย และไม่เป็นความไ่ม่พอใจ แม้เพียงเล็กน้อย นั่นคือ จิต

เป็นกุศลในขณะนั้นครับ ดังนั้นหากยังมีความพอใจเล็กน้อย ยินดีเล็กน้อยในคำชม

หวั่นไหวแล้วด้วยอกุศลคือโลภะ ไม่ชื่อว่าเป็นผุ้วางใจเป็นกลาง ในทางคำติ หรือ ใคร

ไม่ดีกับเรา ถ้าเราไม่พอใจเล็กน้อยก็เป็นผู้ชื่อว่า เป็นผู้วางใจไม่เป็นกลางแล้วในขณะ

นั้นครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สุวรรณธาดา
วันที่ 11 มี.ค. 2560

สาธุ สาธุ ขอให้หนูได้รับความรู้และขอให้สอบผ่านและขอให้ประสบความสำเร็จและหนูทำบุญทำความดีและใดขอให้ได้รับพรได้ความสิ่งที่ตัวเองทำทั้งปัจจุบันและอนาคตและอนาคตตกาลด้วยเทริญ สาธุ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
สุวรรณธาดา
วันที่ 11 มี.ค. 2560

การวางใจเป็นกลางคือถ้าเราทำถูกต้องและถูกวิธีคือเราต้องศึกษาและถือและใช้ประจำในกิจวัตรเลยค่ะ

จะทำให้เราได้รับความรู้และมีสมาธิและการพูดวาจาดีกรุณาเรียบร้อยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
สุวรรณธาดา
วันที่ 11 มี.ค. 2560

กศน ตำบล ในเมือง อำเภอ บ้านไผ่ จังหวัด ขอนไผ่

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ