เกี่ยวกับอัฐบริขาร

 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่  8 ส.ค. 2554
หมายเลข  18891
อ่าน  4,651

ขอเรียนถามเกี่ยวกับอัฐบริขารดังนี้ครับ 1. การถวายผ้าไตร ควรถวายกี่ขันฑ์จึงจะถูกตามวินัย และเมื่อภิกษุได้ผ้าไตรใหม่แล้วต้องสละผื้นเก่าหรือไม่ครับ 2. บาตรสแตนเลส ถูกต้องตามพระวินัยหรือไม่ และสามารถถวายบาตรสแตนเลสพระภิกษุได้หรือไม่ 3. การถวายผ้าปูนั่ง (นิสีทนะ) ที่เป็นขนาดสี่เหลี่ยมจตุรัส สามารถถวายพระภิกษุใช้ได้หรือไม่ หรือต้องตัดตามขนาดที่ระบุตามพระวินัยจึงจะใช้ได้ อนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 9 ส.ค. 2554

๑.เท่าที่พบข้อความในพระไตรปิฎก การที่คฤหัสถ์จะถวายผ้าแก่บรรพชิต ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าขาว บางท่านก็ถวายผ้าที่ตนเองใช้ห่มอยู่ เช่น เอกสาฎกพราหณ์ หรือนางสามาวดีและหญิงบริวาร ๕๐๐ เป็นต้น ก็ถวายผ้าที่ตนห่มอยู่ แต่เมื่อพระภิกษุท่านรับไปแล้วท่านต้องทำการตัดเย็บย้อมให้ได้ความยาว จำนวนขันฑ์และสี เป็นต้น ให้เป็นไปตามพระวินัยบัญญัติ แต่เมื่อกาลผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน มีพ่อค้ากระทำจีวรสำเร็จรูปวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป ผู้ที่มีศรัทธาจะถวายผ้าก็ซื้อสำเร็จรูปถวายได้เลย แต่ควรเป็นผู้ละเอียดที่จะดูว่า สี ความยาว จำนวนขันฑ์ และผ้านั้นมีการตัดเย็บถูกต้องหรือไม่ เพราะทราบมาว่า บางแห่งทำการเย็บผ้าโดยไม่ได้ตัด เพียงพับและเย็บให้เห็นเหมือนตัดเย็บก็มี ส่วนจำนวนขันฑ์นั้นตามพระวินัยก็จะมีระบุจำนวนไว้ ๕ ขันฑ์ ๗ หรือ ๙ ขันฑ์เป็นต้น อนึ่งในพระวินัยไม่ห้ามจำนวนการรับผ้าไว้ คือสามารถรับได้จำนวนมากๆ แต่เมื่อรับไปแล้วต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัย ภายใน ๑๐ วัน และใช้บริหารอยู่เพียง ๓ ผืนคือ ผ้านุ่ง ๑ ผ้าห่ม ๑ ผ้าห่มช้อน ๑ ดังนั้นเมื่อจะใช้ผ้าผืนใหม่ก็ต้องสละผ้าผืนเก่า

๒.สำหรับบาตรสแตนเลส ตามพระวินัยใช้ได้ เพราะมันก็คือ บาตรเหล็กนั่นเอง๓.ตามนัยเดียวกับข้อ ๑ ครับ พระภิกษุท่านต้องทำให้ถูกตามพระวินัย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 9 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในคำตอบของอาจารย์ประเชิญครับ

ขอเรียนถามอาจารย์ประเชิญเพิ่มเติมในข้อสงสัยครับ คำว่าขันฑ์ หมายถึงอะไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 9 ส.ค. 2554

คำว่าขันฑ์ ในที่นี้หมายถึง ชิ้น หรือ ผืน เพราะจีวรที่พระภิกษุท่านใช้ไม่ใช่ผ้า

ขนาดยาวเป็นชิ้นเดียว แต่มีผ้าหลายๆ ชิ้น หลายๆ ผืน มาเย็บต่อกัน...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 9 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์ประเชิญ ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pat_jesty
วันที่ 9 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 10 ส.ค. 2554

ขอเรียนถามเพิ่มเติมครับ - บาตรแสตนเลสจำเป็นต้องเอามาเผาหรือลมดำเพื่อให้เป็นสีดำหรือไม่ครับ - แล้วในสมัยพุทธกาลพระภิกษุใช้บาตรที่ทำจากดินแล้วเอามาเผาใช่หรือไม่หรือว่าใช้บาตรเหล็กเหมือนกันครับ เนื่องจากเคยได้ยินว่าห้ามวางบาตรไว้ในสูงหรือเวลาเปิดปิดประตูห้ามถือบาตรแต่ต้องวางบาตรเนื่องจากเกรงว่าบาตรจะตกแตกหรือเป็นเรื่องของสิกขาบทครับ อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 10 ส.ค. 2554
ตามพระวินัยเกี่ยวกับเรื่องบาตร จากอรรถกถาปัตตวรรค สิขาบทที่ ๑ มีว่าบาตรที่พระภิกษุจะใช้ (อธิษฐาน) บาตรนั้นต้องระบมเสียก่อนจึงควรอธิษฐานบาตรเหล็กต้องระบม ๕ ไฟ บาตรดินต้องระบม ๒ ไฟ จึงจะอธิษฐานใช้ได้ดังนั้นตามพระวินัย บาตรสแตนเลสก็ต้องนำไประบมเสียก่อนจึงจะใช้ได้ในสมัยครั้งพุทธกาลพระภิกษุใช้บาตรทั้ง ๒ ชนิด คือ บาตรดินและบาตรเหล็ก
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ