"สติไม่เกิด" และ "หมั่นเจริญสติ" ลักษณะของสภาพธรรมต่างกันอย่างไร

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  10 ส.ค. 2554
หมายเลข  18911
อ่าน  1,445

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงครับ

ผมอาจจะหาเรื่องมาสงสัย แต่เพื่อให้คลายความสงสัย และ เพื่อความเข้าใจถูก ตามที่

อาจารย์เพียรสอนน่ะครับ ขอถามว่า

๑ คำว่า "สติไม่เกิด" คงหมายถึง สภาพธรรมใดๆ เกิดขึ้น แต่สติไม่เกิดระลึกรู้ขณะนั้น

(คำนี้บอกถึงความเป็นอนัตตา สติจะเกิดก็เกิดแล้วแต่เหตุปัจจัย) กับ

๒ คำว่า "หมั่นเจริญสติ" คงหมายถึง ลักษณะที่ดูจะกลายเป็นการบังคับให้สติเกิด มีความ

เป็นตัวเราไป หมั่นเจริญสติหรือเปล่าครับ ผมควรจะใช้คำว่า สร้างปัจจัยให้สติเกิดดีกว่า

หรือไม่ครับ (ซึ่งการสร้างปัจจัยให้สติเกิดนั้น ก็คือการฟังพระธรรมที่ถูกต้อง ให้เข้าใจ)

หรือผมเข้าใจ และ คิดมากในคำเกิดไปครับ กราบขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านมากครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ถ้าเราไม่ลืมความเข้าใจเบื้องต้นไว้เสมอก็จะไม่ทำให้สับสนไม่ว่าจะได้ยินคำอะไรก็

ตามความเข้าใจที่ควรจะมั่นคงเสมอคือ สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับ

บัญชาไม่ได้ มีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น แม้แต่ในเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน การ

เจริญสติปัฏฐานก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง คือ มีจิตและเจตสิก แต่เป็นจิตที่

ประกอบด้วยเจตสิกฝ่ายดีคือสติและปัญญา เป็นต้น เมื่อสติปัฏฐานเป็นจิตและเจตสิก

ทีเป็นสภาพธรรมแล้ว สติปัฏฐานที่เป็นสติและปัญญาก็ไม่พ้นจากความเป็นอนัตตา

คือ บังคับบัญชาไม่ได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยสติและปัญญาจึงเกิดขึ้นครับ

ดังนั้นคำว่า สติไม่เกิด ก็คือ ขณะนั้นสติปัฏฐานไม่เกิดเพราะเหตุปัจจัย และปัญญา

ที่สะสมมายังไม่พอ ไม่ถึงพร้อมก็ไม่สามารถทให้สติเกิดได้ เมื่อสติไม่เกิดก็คือไม่เกิด

เพราะไม่มีเหตุปัจจัยเพียงพอนั่นเอง จะทำให้สติเกิด โดยเราที่จะทำก็ไม่ได้เพราะเป็น

เรื่องของหน้าที่ของธรรมไม่ใช่เรา ถ้าจะทำ ก็เป็นความต้องการที่เป็นโลภะ นั่นก็ไม่ใช่

เหตุปัจจัยที่สติจะเกิด สติไม่เกิด ก็คือไม่เกิดเป็นธรรมและเป็นธรรมดา และเข้าต่อไป

ว่าเมื่อสติเกิดก็เกิดเองเพราะเป็นธรรมและเป็นอนัตตาอีกเช่นกันในการที่สติจะเกิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2554

คำว่าสติไม่เกิด ก็แสดงถึงวามเป็นอนัตตาของสภาพธรรมอยู่แล้วว่า ไม่มีเราที่จะทำ

ให้สติเกิด แต่เป็นธรรมทำหน้าที่ เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยที่เป็นปัญญาขั้นกานฟัง เพียงพอก็

สติไม่เกิดครับ

และจากคำถามข้อที่ 2 ที่ว่า "หมั่นเจริญสติ" หากเรามีความเข้าใจถูกตั้งแต่ต้นใน

เรื่องความเป็นอนัตตา ก็จะเข้าใจแม้คำว่า หมั่นเจริญสติ ถามว่าใครหมั่น เรา หรือ

ธรรมครับมีเราที่หมั่นที่จะทำสติไหมครับ ไม่มี เพราะมีแต่ธรรม ดังนั้นคำว่า หมั่นเจริญ

สติ ก็คือ สติที่เกิดขึ้นเองบ่อยๆ ขณะนั้นเป็นผู้หมั่นเจริญสติแล้ว เพราะสติเกิดขึ้น

บ่อยๆ ถามว่าใครทำให้สติเกิดขึ้นได้เองบ่อยๆ ธรรมอีกเช่นกันคัรบ เพราะมีเหตุปัจจัยให้

สติเกิดได้บ่อย เพราะมีการสะสมปัญญามามากขึ้นจากการฟังและการที่เคยสติเกิดแล้ว

นั่นเองครับ ดังนั้นเมื่อฟังคำว่า หมั่นเจริญสติ จึงไม่มีเราที่จะพยายามที่จะทำให้สติเกิด

หรือ มีตัวเราที่หมั่น แต่อาศัยการฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ บ่อยๆ ตามที่ผู้ถามได้กล่าวไว้

นั่นเองที่จะเป็นเหตุให้เกิดสติ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม สติก็เกิดเอง แต่ไม่เกิดก็คือไม่เกิด

และเมื่อสติเกิดบ่อยๆ ขึ้นเองก็เป็นผู้หมั่นเจริญสติ เป็นธรรมที่หมั่น ที่เกิด ที่เจริญสติครับ

ไม่ใช่เรา ดังนั้นก็ฟังพระธรรมต่อไป สบายๆ ด้วยความเข้าใจว่าเป็นอนัตตา ไม่มีเรา ก็จะ

เข้าใจการเจริญสติปัฏฐานและคำทีได้ยินต่างๆ ก็จะเข้าใจถูกตามไปด้วยครับ หมั่นเจริญ

สติ ก็คือ การฟังพระธรรมอันเป็นการที่ธรรมทำหน้าที่หมั่นให้สติเกิดนั่นเองครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 10 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในชีวิตประจำวัน อกุศลจิตเกิดมาก ขณะที่ไม่มีสติจึงมีมากเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าจะยังไม่กล่าวถึงสติปัฏฐาน ขณะที่จิตเป็นอกุศล ไม่มีสติเกิดร่วมด้วย แต่ถ้ากุศลจิตเกิดขึ้น จะมีสติเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ไม่ปราศจากสติเลยในขณะที่จิตเป็นกุศล สติเป็นสติ เป็นสภาพธรรมที่ระลึกได้ เป็นไปในกุศลธรรม ถ้าเป็นสติปัฏฐานแล้ว ต้องเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา สติและปัญญาเกิดขึ้นพร้อมกันระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น เรื่องเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่เรื่องที่จะบังคับบัญชาด้วยความเป็นตัวตน ไม่มีตัวตนที่หมั่นเจริญสติ เพราะธรรมทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แม้แต่สติ ก็เช่นเดียวกัน ทั้งหมดทั้งปวงนั้น จึงเป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง

การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ซึ่งจะต้องอาศัยการฟังในสิ่งที่มีจริงซึ่งเป็นปรมัตถธรรม บ่อยๆ เนืองๆ ขาดการฟังไม่ได้เลยทีเดียว และประการที่สำคัญสภาพธรรมที่จะเป็นที่ตั้งให้สติระลึกรู้ ก็คือ ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ นั่นเอง ซึ่งจะต้องศึกษาเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ทางใจ นั้น เป็นที่ตั้งให้สติเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น แล้วแต่ว่าสติจะระลึกและปัญญารู้ลักษณะใด ซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย โดยไม่จำกัดและไม่เจาะจง ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 10 ส.ค. 2554

* * * --------------------- * * *

สาธุ อนุโมทนาจิตที่เป็นกุศลของอาจารย์

และ

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ

* * * * -------------------------- * * * *

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ