คนกล้าย่อมชนะมารเสนาได้ ครั้นชนะแล้ว ย่อมได้ความสุข
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 257
……………………………..
[๖๙๖] มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่
เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้น เป็น
ผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มีความกำหนด ไม่
เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่าดังนี้
[๖๙๗] มารเสนา เรียกว่า เสนา ในคำว่า มุนีนั้น กำจัดเสนา
แล้วในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยินในอารมณ์ที่ทราบ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความ
ผูกโกรธ ความลบพลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง
ความโอ้อวค ความกระด้าง ความแข่งดี ความถิอตัว ความดูหมี่น ความ
เมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริคทั้งปวง ความกระวนกระวาย
ทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดิอดร้อนทั้งปวง อกุศลาภิสังขาร
ทั้งปวง ชื่อว่ามารเสนา สมจริงดัที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
กิเลสกาม เรากล่าว่าเป็นมารเสนาที่ ๑ ของท่าน
ความไม่ยินดี เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๒ ของท่าน
ความหิวกระหาย เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๓ ของท่าน
ตัณหา เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๔ ของท่าน
ความง่วงเหงาหาวนอน เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๕ ของท่าน
ความขลาด เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๖ ของท่าน
ความลังเลใจ เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๗ ของท่าน
ความลบหลู่ ความกระด้าง เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๘ ของท่าน
ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ และยศ ที่ได้มาทางผิด
เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๙ ของท่าน
ความยกตนและข่มผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๑0 ของท่าน
ดูก่อนพระยามาร เสนาของท่านนี้เป็นผู้มีปกติ
กำจัดบุคคลผู้มีกรรมดำ คนไม่กล้าย่อมไม่ชนะมารเสนานั้นได้
ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้ว
ย่อมได้ความสุขดังนี้
เมื่อใด มารเสนาทั้งหมด และกิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด
อันมุนีชนะ ไม่พ่ายแพ้ ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว มุนีนั้น
กำจัดเสนาในรูปที่เห็น ในเสียงที่ไม่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ
ในอารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่ามุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง
คือในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ
ขออนุญาตเรียนสอบถามครับว่า
"คนไม่กล้าย่อมไม่ชนะเสนามารนั้นได้ ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้"
อย่างไรจึงเป็นคนไม่กล้า อย่างไรจึงเป็นคนกล้าครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
เรียนความเห็นที่ 5 ครับ
จากข้อความที่ว่า
ดูก่อนพระยามาร เสนาของท่านนี้เป็นผู้มีปกติ
กำจัดบุคคลผู้มีกรรมดำ คนไม่กล้าย่อมไม่ชนะมารเสนานั้นได้
ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้ว
ย่อมได้ความสุขดังนี้
ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดง คำว่า ความเป็นผู้กล้า คือ วีระ ซึ่งเป็นพระนามของพระ
พุทธองค์พระนามหนึ่งครับ คือ พระองค์เป็นผู้กล้า แต่คงไม่ใช่ใจกล้าอย่างเดียวแบบ
ชาวโลกนะครับ แต่กล้าด้วยเห็นโทษของกิเลส พระองค์จึงกล้าด้วยปัญญาที่จะดับ
กิเลส คือ ละมาร คือ กิเลสมารและมารต่างๆ ผู้กล้าเท่านั้นที่จะละเสนามารได้ กล้าด้วย
ปัญญาครับ ต้องมีปัญญาด้วย คนไม่กล้าเพราะไม่มีปัญญา คนขลาดเพราะมีความไม่รู้
ไม่กล้าที่จะชนะกิเลสเพราะไม่เห็นโทษของกิเลส จึงชื่อว่าผู้ขลาดเพราะไม่มีปัญญา
ย่อมไม่สามารถละกิเลสได้เลย
ซึ่งในคำว่า วีระ หมายถึง ผู้กล้าแล้ว ยังหมายถึง ผู้มีความเพียร ทรงเป็นผู้มีความเพียร
ที่จะละเสนามารและกิเลสประการต่างๆ ตั้งแต่ที่บำเพ็ญทุกกรกิริยาแล้ว เพราะมีความ
เพียรที่ประกอบด้วยปัญญา จึงสามารถดับกิเลสได้ครับ จึงชื่อว่า วีระ เป็นผุ้กล้า ผู้
องอาจและผู้มีความเพียรที่จะละเสนามารครับ
ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ ขออนุโมทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 270
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ทรงมี
ความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ทรงองอาจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วีระ. ให้ผู้อื่นมีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ผู้สามารถ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว
ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดแล้ว ปราศจากความเป็น
ผู้ขนลุกขนพอง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นผู้แกล้วกล้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑- หน้าที่ 263
ก็บทว่า พุทฺธ วีร เป็นคำเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า. อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตเรียกว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้อรรถ ต่างด้วย
อภิญญาเป็นต้น ด้วยพระสยัมภูญาณ ต่างด้วยอภิญญาเป็นต้น ฉันใด แม้ที่
บัณฑิตเรียกว่า วีระ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะทรงประกอบไปด้วยความเพียร
ใหญ่ ที่ทรงเริ่มตั้งด้วยสามารถแห่งการย่ำยีมารแม้ทั้ง ๕.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 151
พึงทราบในบทว่า วีร เป็นต้นว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า วีระ เพราะพระองค์มีความ
เพียร ชื่อว่าเป็นผู้ชนะสงครามเพราะพระองค์ทรงชนะ เทวบุตรมาร มัจจุมาร และ
กิเลสมาร
จากที่ท่านอาจารย์ผเดิมกรุณาอธิบายขยายความนั้น เห็นได้ว่า คำว่า "คนกล้า" มิใช่คนธรรมดาเลย และหากสังเกตเสนามารแต่ละตัว ซึ่งท่านกล่าวว่าเป็นเสนามารของท่าน (ซึ่งหมายถึงของเราแต่ละคน) แล้ว ทำให้เรากลายเป็นคนขลาดตัวเล็กๆ ไปเลยนะครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมมากครับ