การตักบาตร

 
ท่วมท้น
วันที่  16 ส.ค. 2554
หมายเลข  18956
อ่าน  1,535

อยากสอบถามว่า ถ้าเราเว้นที่จะไม่ตักบาตร กับพระภิกษุ ที่ท่านไม่สำรวมในขณะบิณฑ

บาตร แล้วเลือกตักแต่ พระที่สำรวมในขณะบิณฑบาต จะเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือ

สมควร หรือไม่ อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การใส่บาตร คือ การอนุเคราะห์เพศบรรพชิตให้ดำรงอยู่และให้ประพฤติพรหมจรรย์

ศึกษาพระธรรมต่อไป อีกเหตุผลหนึ่ง คือ การบูชาคุณของพระอริยสงฆ์ โดยไม่ได้

ใส่บาตรเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใดครับ

ดังนั้นหากมีความเข้าใจถูก ผู้มีปัญญา ไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกๆ ประการ อัน

เป็นไปเพื่อละ สละขัดเกลากิเลส ดังเช่นในสมัยพุทธกาล แม้พระอนาคามี ท่านก็ถวาย

ทานกับพระภิกษุทุศีล แม้เทวดาจะมาบอกว่าภิกษุรูปนั้น ไม่ดี ท่านก็ถวายทานกับพระ

ภิกษุรูปนั้นเพราะท่านมีปัญญา ถวายไม่เจาะจง มุ่งถวายแด่สงฆ์เป็นสำคัญ ไม่ได้มีจิต

มุ่งถวายกับภิกษุรูปหนึ่ง รูปใดครับ เพราะไม่ใช่มุ่งถวาย สมมติสงฆ์ แต่น้อมระลึกถึงที่จะ

ถวายแด่สงฆ์สาวกที่เป็นอริยสงฆ์ครับ จิตท่านก็ไม่หวั่นไหวและไม่ได้หมายความว่า เมื่อ

ท่านรู้ว่าเป็นภิกษุทุศีล ไม่ดี ท่านจะไม่ถวาย เพราะว่ากลัวว่าพระรูปนั้นจะเป็นบาป เมื่อ

รับทานของพระอนาคามี ท่านก็ถวายอาหารครับ และท่านก็กล่าวว่า ธรรมอัศจรรย์

ข้อหนึ่งของท่านคือ ท่านมีจิตไม่หวั่นไหวเลย แม้ภิกษุรูปนั้นจะเป็นภิกษุทุศีลครับ ภิกษุ

ไม่ดี ท่านก็ถวายทาน ใส่บาตรครับ นี่แสดงให้เห็นผู้มีปัญญาในสมัยพุทธกาล ผู้ที่เป็น

พระอนาคามีท่านพิจารณาอย่างไร แม้ถวายกับภิกษุผู้ทุศีล ไม่ดี ทั้งๆ ที่ท่านก็รู้อยู่ครับ

ดังนั้นหากมีปัญญาแล้ว ย่อมสามารถเจริญกุศลได้ทุกๆ ประการ ทุกๆ บุคคล และ

สามารถน้อมจิตพิจารณาในขณะที่ใส่บาตรได้ว่า ถวายแด่พระอริยสงฆ์ครับ เพราะฉะนั้น สำคัญที่ปัญญา ความเข้าใจ เป็นสำคัญ ไม่ว่าในเรื่องใด เมื่อมีปัญญาเห็นถูกแล้ว ย่อมไม่เป็นเครื่องกั้นในการเจริญกุศลประการต่างๆ เลยครับ

ส่วนเมื่อภิกษุรูปใดสำรวม ไม่สำรวมในขณะใส่บาตร การที่เลือก ขณะที่เลือก ด้วยจิต

อะไร ตรงนี้สำคัญครับ เพราะอยากได้บุญมาก จึงเลือก เพราะไม่ชอบกิริยาอาการของ

พระรูปนี้ เป็นต้น อันนี้ยังไม่ใช่เหตุผลในการเลือกที่ถูกต้อง เพราะสำคัญที่จิตเราเป็น

กุศล มุ่งถวายแด่สงฆ์ ที่เป็นอริยสาวกเป็นสำคัญ ไม่ใช่ถวายกับภิกษุบุคคล ดังนั้นการ

ไม่สำรวม ก็เป็นเรื่องของภิกษุบุคคล แต่การน้อมใจถวายแด่สงฆ์ สำคัญที่จิตเรา เป็น

สำคัญครับ แต่ในบางกรณี หากเห็นว่าพระรูปนั้นของล้นบาตรมีมากเกินไปแล้ว จึงไม่

ถวายพระรูปนั้น ถวายกับพระรูปอื่น ที่ของมีน้อย อันนี้สมควรครับ เพราะรู้ประโยชน์ ว่ามี

มากเกินไปกว่าที่ท่านจะรับแล้ว ไม่ควรให้ล้นบาตร ก็ถวายรูปอื่นได้ครับ

ดังนั้น สำคัญที่ความเข้าใจจริงๆ แม้แต่เรื่องการใส่บาตร เมื่อมีความเห็นถูกแล้ว ก็จะ

เจริญกุศลทุกๆ ประการ และเมื่อมีความเห็นถูกแล้ว แม้การใส่บาตร ก็สามารถน้อมใจ

มุ่งถวายแด่สงฆ์ แม้ภิกษุรูปนั้นจะทุศีล ไม่ดีก็ตามครับ ดังนั้นเหตุผลของการใส่บาตร

คือด้วยการอนุเคราะห์เพศบรรพชิตและด้วย บูชาคุณปรมัตสงฆ์ ดั่งน้อมถวายแด่พระ

อริยเจ้าครับ เมื่อมีปัญญา ก็เป็นเรื่องขัดเกลากิเลสได้ทุกประการ แม้แต่เรื่องใส่บาตร

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 16 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การให้ทาน จะน้อยหรือมาก ก็เป็นการสละความตระหนี่ของตนเอง เป็นกุศลประการหนึ่ง ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะการใส่บาตรเท่านั้นที่จะเป็นการให้ทาน การให้วัตถุสิ่งของที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ถึงแม้ว่าผู้รับจะไม่ใช่เพศบรรพชิต ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ควรกระทำด้วย นอกจากนั้นแล้ว บุญ ซึ่งเป็นความดี นั้นมีมากถึง ๑๐ ประการ [ที่นอกเหนือจากการให้วัตถุสิ่งของ (ทาน) แล้ว ก็ยังมีอีก ถึง ๙ประการ] ที่จะเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน ดังนี้ ๑. ทาน การให้วัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้รับ

๒. ศีล ได้แก่ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่เป็นกุศล คือ ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่นให้เดือดร้อน

๓. ภาวนา การอบรมจิตให้สงบ คือ สมถภาวนา ๑ และการอบรมให้เกิดปัญญา ซึ่งเป็นวิปัสสนาภาวนา ๑

๔. อปจายนะ การอ่อนน้อมต่อผู้ที่ควรอ่อนน้อม ก็เป็นบุญ เพราะว่าจิตใจในขณะนั้นไม่หยาบกระด้างด้วยความถือตัว

๕. เวยยาวัจจะ การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ควรสงเคราะห์ ไม่เลือกสัตว์ บุคคล ผู้ใดที่อยู่ในสภาพที่ควรสงเคราะห์ช่วยเหลือให้ความสะดวก ให้ความสบาย ก็ควรจะสงเคราะห์แก่ผู้นั้น แม้เพียงเล็กน้อยในขณะนั้น ก็เป็นกุศล

๖. ปัตติทาน การอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลอื่นได้ร่วมอนุโมทนา ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลจิตของบุคคลอื่นเกิดได้

๗. ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาแก่ผู้อื่นที่ได้กระทำกุศล เพราะเหตุว่าถ้าเป็นคนพาลไม่สามารถจะอนุโมทนาได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ได้ทราบการกระทำบุญกุศลของบุคคลอื่น ก็ควรเป็นผู้ที่มีจิตยินดี ชื่นชม อนุโมทนาในกุศลกรรมของบุคคลอื่นที่ตนได้ทราบนั้น ไม่ใช่เป็นผู้ที่ตระหนี่แม้แต่จะชื่นชมยินดีในบุญกุศลของบุคคลอื่น

๘. ธัมมเทศนา การแสดงธรรมแก่ผู้ต้องการฟัง ไม่ว่าเป็นญาติมิตรสหาย หรือบุคคลใดก็ตามซึ่งสามารถจะอนุเคราะห์ให้เขาได้เข้าใจเหตุผลในพระธรรมวินัย ก็ควรที่จะได้แสดงธรรมแก่บุคคลนั้น

๙. ธัมมัสสวนะ การฟังธรรมเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง ก็เป็นบุญ

๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การกระทำความเห็นให้ตรงตามสภาพธรรมและเหตุผลของสภาพธรรมนั้นๆ ธรรมใดที่เป็นกุศล ก็ให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงว่า เป็นกุศลจริงๆ ธรรมใดที่เป็นกุศล ก็ให้พิจารณากระทำความเห็นให้ตรงตามสภาพธรรมจริงๆ ว่า สภาพธรรมนั้นเป็นกุศล ไม่ปะปน กุศลธรรม กับ กุศลธรรม เป็นต้น

ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องของการเจริญกุศล ที่ควรจะสะสมเท่าที่สามารถจะเป็นไปได้ ในชีวิตประจำวัน ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แสงจันทร์
วันที่ 16 ส.ค. 2554

ชีวิตเป็นของน้อย เร่งทยอยสร้างกุศลอย่าได้มัวประมาท

ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ ไม่ติเตียนใครทั้งผู้ให้และปฏิคาหก

ขโณ โว มา อุปจฺจคา ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pat_jesty
วันที่ 16 ส.ค. 2554
ขอขอบคุณ และอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ท่วมท้น
วันที่ 17 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณ และอนุโมทนา กุศลจิต ที่เมตตา ตอบ ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ