ธรรมเตือนใจ

 
pirmsombat
วันที่  20 ส.ค. 2554
หมายเลข  18993
อ่าน  1,535

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากพระไตรปิฏก

และ

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

อริยทรัพย์

ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ

และ

ปัญญา

เป็นที่ ๗

ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม

บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน

ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่า ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า

...............................

ศีล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หาก

ภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็น

ที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้

ก็พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายทีเดียว ดังนี้ และว่า

นกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่ฉันใด

จามรีรักษาขนหางฉันใด

คนมีบุตรคนเดียวรักษาบุตรผู้เป็นที่รักฉันใด

คนมีนัยน์ตาข้างเดียว รักษานัยน์ตาที่ยังเหลืออีกข้างฉันใด

ท่านทั้งหลายจงตามรักษาศีลเหมือนฉันนั้นทีเดียว

จงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีความเคารพทุกเมื่อเถิด ดังนี้

และว่า

กลิ่นดอกไม้ไม่ฟุ้งทวนลม

จันทน์หรือกฤษณา และมะลิซ้อน ก็ไม่ฟุ้งทวนลม

แต่กลิ่นสัตบุรุษย่อมฟุ้งทวนลม

สัตบุรุษย่อมฟุ้งไปได้ทุกทิศ

จันทน์ก็ดี กฤษณาก็ดี อุบลก็ดี มะลิก็ดี

กลิ่นคือศีล ยอดเยี่ยมกว่าบรรดาคันธชาตเหล่านั้น กลิ่นกฤษณา

และจันทน์นี้มีประมาณน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีล

เป็นกลิ่นสูงสุด ฟุ้งไปในทวยเทพทั้งหลาย

มารย่อมไม่พบทางของท่านเหล่านั้น

ผู้มีศีลสมบูรณ์ มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท

หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ

ภิกษุเป็นพระผู้มีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ยังจิตและ

ปัญญาให้เจริญอยู่ ผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตน

นั้น พึงสางชัฏนี้ได้ ดังนี้ และว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พีชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมถึง

ความเจริญงอกงามไพบูลย์ พีชคามและภูตคามเหล่านั้นทั้งหมด

อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้อย่างนี้

มีอุปมาแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล เจริญ

โพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเป็นใหญ่หรือ

ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ก็อุปไมยฉันนั้นเหมือนกัน

..................................

มานะ

บุคคลเป็นผู้มี

อุเบกขา

มีสติทุกเมื่อ

ไม่สำคัญว่าเสมอเขา

ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา

ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขาในโลก

กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น

.............................

อุเบกขาบารมี

อุเบกขาบารมี ความเป็นผู้วางเฉย ไม่หวั่นไหว ในสัตว์ ในสังขาร และใน

โลกธรรมทั้งหลาย ทั้งที่น่าปราถนาและไม่น่าปรารถนา

ถ้าเป็นไปได้นี่สบายจริงๆ สงบจริงๆ ไม่หวั่นไหวเลย

เพราะว่าปัจจุบันนี้ที่มีความทุกข์ เพราะหวั่นไหว

แต่ถ้ามีใจที่มั่นคง ในเรื่องของกรรม จะเป็นผู้ที่ไม่หวั่นไหวได้

และสำหรับผู้ที่เจริญอุเบกขาบารมีนั้น

ไม่สนใจในโทษผิดของผู้นั้น ในอรรถคถาใช้คำว่า

ในโทษผิดของผู้นั้น คือผู้ที่ทำความผิดนั้นๆ บุคคลนั้น

ผู้ที่เจริญอุเบกขาบารมี ไม่สนใจในความผิดของผู้นั้น

เป็นผู้วางเฉยไม่เดือดร้อน เพราะ

รู้ว่าทุกคนมีกรรมเป็นของๆ ตน

..............................

ไม่หวาดหวั่น

ภิกษุยินดีอยู่ด้วยปัจจัยตามมีตามได้

ย่อมไปได้ ๔ ทิศ ไม่ติดขัด

อดกลั้นต่ออันตรายทั้งหลาย

ไม่หวาดหวั่น

คนเดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ดังนี้.

............................

ผ้าเช็ดธุลี

แม้ชีวิตที่ต่างกัน ระหว่างบรรชิตและคฤหัสถ์

แต่สามารถที่จะเทียบเคียงให้เห็น

กิเลสที่่มีอยู่ในจิตใจเป็นประจำได้

สำหรับพระภิกษุนั้น เมื่อเข้าหาสงฆ์

พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วย

ผ้าเช็ดธุลี

เห็นคุณค่าของผู้มีจิตเป็นผ้าเช็ดธุลีไหม

มีความอ่อนน้อมไม่มีมานะ ไม่มีความสำคัญตน

ถ้าเป็นผ้าเช็ดธุลีได้เสมอๆ ก็เป็นความสบายใจ

ไม่ว่าใครจะประพฤติต่อท่าน ด้วย กาย วาจา อย่างไร

ไม่เดือดร้อนเลย เพราะว่า ไม่มีถือตน ว่ามีความสำคัญ

.................................

ปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาฏิโมกข์

ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร ปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย

สมาทานสิกขาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 4 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา

เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

เมื่อฟังพระธรรมแล้ว สงบกายและสงบจิต แล้วมีการสำรวมระวังเพี่มขึ้น

เพราะว่าเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษ แม้มีประมาณน้อย

นี่สำหรับผู้ที่ละเอียดมากทีเดียวนะคะ

ที่จะเป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย คิดถึงคนอื่นด้วยอกุศลจิตนิดเดียว

สติระลึกได้หรือยัง เห็นหรือยัง ภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย

คือแม้เพียงชั่วความคิด ก็ยังเห็นว่าเป็นโทษ

แต่ถ้ายังไม่เห็นนะคะ ปัญญาก็ยากที่จะเจริญได้

..............................


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณหมอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
aditap
วันที่ 20 ส.ค. 2554

ไพเราะทั้งอรรถ และ พยัญชนะ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 20 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณหมอ ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pirmsombat
วันที่ 20 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา คุณเผดิม คุณคำปั่น

คุณaurasa คุณNoparat (คำกล่าวของคุณทั้งสองถูกใจผมมากครับ)

คุณ bsomsuda และทุกๆ ท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
aurasa
วันที่ 20 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตคุณหมอค่ะ ผู้ให้ปัญญา..ย่อมได้ปัญญาเช่นกัน
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Noparat
วันที่ 21 ส.ค. 2554

การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะ กุศลศรัทธาของคุณหมอด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Pigmy
วันที่ 21 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nong
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 22 ส.ค. 2554

* * * ---------------------------- * * *

ขอบพระคุณมากครับ

และ

อนุโมทนาจิตดีดีที่ละเอียดละออในการสรรค์หาพระธรรม เพื่ออนุเคราะห์ผู้อื่นยิ่งครับ

* * * -------------------------------------------- * * *

จะว่าไปไม่มากท่านที่จะได้อ่านคำสัจจ์เช่นนี้ (ปุญหรือไม่) สาธุ ++

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pat_jesty
วันที่ 22 ส.ค. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
bsomsuda
วันที่ 23 ส.ค. 2554

"..เห็นคุณค่าของผู้มีจิตเป็นผ้าเช็ดธุลีไหม

มีความอ่อนน้อม ไม่มีมานะ ไม่มีความสำคัญตน

ถ้าเป็นผ้าเช็ดธุลีได้เสมอๆ ก็เป็นความสบายใจ

ไม่ว่าใครจะประพฤติต่อท่าน ด้วย กาย วาจา อย่างไร

ไม่เดือดร้อนเลย เพราะว่า ไม่ถือตน ว่ามีความสำคัญ.."

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
รุ่ง-ราตรี
วันที่ 21 ต.ค. 2554

(ดูแลใจ.....เมื่อ.....จิต..ตก ) ขอให้เพื่อนกัลยาณมิตรทุกคนรวมถึงตัวผู้เขียนเอง มีดวงตาเห็นธรรมในภพชาตินี้และชาติต่อๆ ไป....สาธุค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ