ความหมายของ บาป กิเลส ตัณหา

 
สุธี
วันที่  24 ส.ค. 2549
หมายเลข  1906
อ่าน  2,870

อยากทราบว่าในพระไตรปิฎกได้กล่าวความหมายของ บาป , กิเลส , ตัณหา ไว้ในเล่มไหน ข้อไหนบ้างครับ? ยกตัวอย่างที่ผมค้นเจอ เช่น [๗๙๓] โทสะ

เป็นไฉน? อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ... (พระ

ไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์) ทำนอง

นี้อ่ะครับ

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 25 ส.ค. 2549

ความหมายของคำดังกล่าวมีทั่วไปในพระไตรปิฎกและอรรถกถา แต่บางคำ

อาจจะไม่มีโดยตรงตามทีท่านต้องการ โปรดอ่านข้อความบางตอนที่หามาจาก

พระไตรปิฎกและอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้าที่ 162 พึงทราบในคาถาที่สอง. บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่อกุศลทุกชนิด.บทว่า อกรณํ คือไม่ให้เกิดขึ้น. บทว่า กุสลสฺส ได้แก่กุศลอันมีในภูมิ ๔.บทว่า อุปสมฺปทา คือได้เฉพาะ. บทว่า สจิตฺตปริโยทปนํ คือยังจิตของตนให้สว่าง. ก็บทนั้นย่อมมีได้โดยความเป็นพระอรหันต์ ด้วยประการดังนี้บรรพชิตควรละบาปทั้งปวงด้วยศีลสังวร ยังกุศลให้ถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัสสนาทั้งหลาย ยังจิตให้ผ่องแผ้วด้วยอรหัตตผล นี้เป็นคำสอน คือ เป็น

โอวาท คือ เป็นคำตักเตือนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120 บทว่า ปาปํ น กยิรา แปลว่า ไม่ควร ทำบาปนั้น สมควรที่จะกล่าว

แม้ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายคาถา

ธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 215 คนพาลประสบทุกข์เพราะ

บาปกรรม ก็เมื่อคนพาลกระทำบาป คืออกุศลกรรมอยู่ กรรมนั้นย่อมปรากฏ

ดุจน้ำผึ้ง คือดุจน้ำหวาน ได้แก่ประดุจน่าใคร่ น่าชอบใจ, คนพาลนั้น

ย่อมสำคัญ บาปนั้น เหมือนน้ำหวาน ด้วยประการฉะนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ