พระพุทธพจน์ ..อวิชชาโยคะเป็นดังนี้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2549
หมายเลข  1910
อ่าน  1,626

อวิชชาโยคะเป็นอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด ความดับ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ความดับ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามจริง ความไม่รู้แจ้ง ความเขลา ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมติดแนบใจ นี่เรียกว่า อวิชชาโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ เป็นดังนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 28-31 โยคะสูตรที่ ๑๐


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
kchat
วันที่ 24 ส.ค. 2549

พระพุทธพจน์ ทั้งหลายมีประโยชน์มากครับ แต่ลึกซึ้งและยากที่จะเข้าใจจริงๆ ครับ เช่น บุคคลไม่รู้ถึงความเกิด ความดับ หมายถึงไม่รู้อะไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ฟาง
วันที่ 24 ส.ค. 2549

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
saowanee.n
วันที่ 24 ส.ค. 2549

หมายถึง ไม่รู้ความเกิด ความดับ ของสังขารธรรมทั้งหลาย ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้ใดที่กล่าวว่าพระพุทธพจน์ง่าย ไม่จำเป็นต้องศึกษา ผู้นั้นกำลังลบหลู่พระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
narong
วันที่ 26 ส.ค. 2549

ขอเพิ่มเติมว่า สังขารธรรมคือ จิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นและดับไป แต่ผู้ที่ไม่รู้ความจริง จะเข้าใจว่าทุกอย่างตั้งอยู่เป็นตัวตน เช่น ทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตา (วรรณรูป) เป็นรูปธรรม ปรากฏให้จักขุวิญญาณเห็นเพราะเกิดขึ้นจึงเห็น และ การเห็นเป็นนามธรรมคือจิตเป็นสภาพรู้ก็เกิดขึ้นจึงเห็นและดับไป เกิดดับๆ แต่ผู้ที่ไม่ประจักษ์ความจริง ไม่สามารถรู้ชัดการเกิดดับของสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ ซึ่งต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาธรรมะ ด้วย

การอ่านและฟังให้เข้าใจ ความเข้าใจ คือ ปัญญา จะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้ปัญญาค่อยๆ เจริญขี้น จนถีงระดับที่มากพอที่เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด ซึ่งเป็นหนทางเดียวในการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม แต่ผู้ที่ศึกษาก็ไม่ควรไปคิดว่าเมื่อไรสติปัฏฐานจะเกิด เพราะจะเป็นตัวตนที่จะทำซึ่งเป็นเครื่องกั้น ดังนั้น จึงควรค่อยๆ เข้าใจในสิ่งที่ได้อ่าน ฟัง สะสมไปเรื่อยๆ ขณะนี้ความเข้าใจยังอยู่ในขั้นปริยัติ จึงไม่ต้องไปพยายามคิดหรือจินตนาการว่า ขั้นปฏิบัติ (สติปัฏฐาน) หรือขั้นวิปัสนา เป็นอย่างไร เพราะไม่เกื้อกูลให้ความเข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ในขั้นฟัง เพิ่มมากขึ้นเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Kalaya
วันที่ 15 พ.ค. 2563

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 15 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ