จะลดความติดข้องในกามลง ต้องเห็นโทษของกาม

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  25 ส.ค. 2549
หมายเลข  1916
อ่าน  1,656

การที่จะลดความติดข้องในกามลงได้นั้น ก็ต้องเห็นโทษของกามค่ะ เพราะแม้ความสุขในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ไม่เที่ยง (เมื่อไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์) เป็นเหตุให้ไม่หยุดการแสวงหา ทั้งในทางที่ชอบและมิชอบ การศึกษาพระธรรม (เพื่อความเข้าใจชีวิตอย่างแท้จริง) เป็นหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะละคลายความติดข้องยินดีได้ เพราะเมื่อไม่รู้ว่าทุกข์คืออะไร... จึงต้องการที่จะได้เหตุที่นำมาซึ่งทุกข์อยู่เรื่อยๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 25 ส.ค. 2549
อนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
toangsg
วันที่ 22 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
apiwattano
วันที่ 22 ต.ค. 2552

ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่เที่ยง..เมื่อสนทนากับคนรอบข้างเมื่อไร จิตมักเอนเอียงหลงไปตาม
ความคิดว่ามันคือความสุข..มักเสียเวลาไปกับความคิด-ชอบในสิ่งนั้นๆ อยู่เรื่อยๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Kalaya
วันที่ 15 พ.ค. 2563

เมื่อหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะละคลายความติดข้องยินดีได้ เพราะไม่รู้ว่าทุกข์คืออะไร...

กราบเรียนถาม ความหมาย ของคำว่า ทุกข์ คืออะไรค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 15 พ.ค. 2563

เรียน ความคิดเห็นที่ 4

ขอเชิญอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

ขึ้นชื่อว่าทุกข์มีความหมายต่างๆ

... จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือ ทุกขทุกข์ (ทุกข์เพราะทนได้ยาก)

วิปรินามทุกข์ (ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง)

สังขารทุกข์ (ทุกข์ของสังขาร)

ปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์ปกปิด)

อัปปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์เปิดเผย)

ปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยอ้อม)

นิปปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยตรง) .

บรรดาทุกข์เหล่านั้น ทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิต ชื่อว่า ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ทั้งโดยสภาวะทั้งโดยชื่อ

สุขเวทนา ชื่อว่า วิปรินามทุกข์ เพราะเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ โดยการเปลี่ยนแปลง.

อุเบกขาเวทนา และสังขารทั้งหลายที่เหลือเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า สังขารทุกข์ เพราะถูกความเกิดและดับบีบคั้น ก็ความบีบคั้น (ด้วยความเกิดและดับ) ย่อมมีแม้แก่มรรคและผลทั้งหลายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังขารทุกข์ ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยทุกขสัจจะ.

ความป่วยไข้ทางกายและจิตมี ปวดหู ปวดฟัน ความเร่าร้อนเกิดแต่ราคะ ความเร่าร้อนเกิดแต่โทสะ เป็นต้น ชื่อว่า ปฏิจฉันนทุกข์ เพราะต้องถามจึงรู้ และเพราะก้าวเข้าไปแล้วก็ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า ทุกข์ไม่ปรากฏ ดังนี้บ้าง

ความป่วยไข้ มีการถูกลงกรรมกรณ์ ๓๒ เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า อัปปฏิจฉันนทุกข์ เพราะไม่ถามก็รู้ได้ และเพราะเข้าถึงแล้วก็ปรากฏ ท่านเรียกว่า ปรากฏทุกข์บ้าง. ทุกข์แม้ทั้งหมดมีชาติ เป็นต้น อันมาแล้วในวิภังค์ แห่งทุกขสัจจะ เว้นทุกขทุกข์ที่เหลือ ชื่อว่า ปริยายทุกข์ เพราะเป็นวัตถุ (ที่อาศัยเกิด) แห่งทุกข์นั้นๆ ทุกขทุกข์ ชื่อว่า นิปปริยายทุกข์...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ