ภาษิตและคาถา

 
audience
วันที่  29 ส.ค. 2549
หมายเลข  1950
อ่าน  913

ภาษิตและคาถาในพระไตรปิฎกหมายความว่าอย่างไร ขอตัวอย่างด้วยครับ ทั้ง ภาษิตและคาถา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 29 ส.ค. 2549

ภาษิต หมายถึงคำพูด คาถา หมายถึง คำพูดที่เป็นคาถาประพันธ์ร้อยกรอง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

[๔๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั้นมิใช่พราหมณ์ นั้นเป็นมารผู้มีบาป มาเพื่อประสงค์จะทำปัญญาจักษุของพวกเธอให้ พินาศ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงภาษิตพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า ผู้ใดได้เห็นทุกข์มีกามเป็นเหตุแล้ว ไฉนผู้นั้นจะพึงน้อมใจไปในกามเล่า บุคคล ผู้ทราบอุปธิว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลก แล้ว พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธินั้นเสีย.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 29 ส.ค. 2549

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

[๘๗] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เพราะความตระหนี่ และความประ- มาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ บุคคล ผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้.ธรรมดาว่า พุทธวิถีใครๆ ก็ไม่อาจเพื่อจะให้ยิ่งกว่า เพราะฉะนั้น พรหมจึงมาตามพุทธวิถีอันตนไม่สามารถผ่านไป ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่. ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้วก็ได้ภาษิตคาถาที่ตนแต่งมา.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ