จิตขณะใดที่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ครับ

 
Graabphra
วันที่  21 ส.ค. 2554
หมายเลข  19542
อ่าน  1,835

ธรรมะเป็นเรื่องละเอียด..วิปัสนาภาวนากับวิปัสนาญาณ..ยังมีความแตกต่างเชิญคลิกอ่าน..สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา มีจุดประสงค์ต่างกันอย่างไร ขออนุโมทนาคะ..


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
1 จิตขณะใดที่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ครับ--------------------------------------------------------------------------------------------

วีถีจิตทางปัญจทวาร จิตอื่นๆ ที่เกิดทางปัญจทวาร เช่น ปัญจทวาราวชนจิต จักขุ

วิญญาณจิต สันตีรณจิต สัมปฏิฉันนจิต ....ชวนจิต 7 ขณะ ..ตลอดวิถี รวมทั้งจิตอื่นๆ

ที่เกิดต่อทางมโนทวารวิถี ขณะที่รูปที่จิตนั้นรู้ ยังไม่ได้ดับ จิตขณะนั้น มีปรมัต-ถธรรมเป็นอารมณ์ จิตที่เป็นอกุศล หรือ จิตที่เป็นกุศล มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ได้ แต่กุศลขั้น รูปาวจรกุศล ส่วนใหญ่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ โลกกุตตรกุศล มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ซึ่งก็ คือ พระนิพพาน------------------------------------------------------------------------------------------------

2 จิตภูมิใด ชาติใด ที่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ครับ------------------------------------------------------------------------------------------------กามาวจรภูมิ โลกุตตรภูมิ------------------------------------------------------------------------------------------------

3 สรุปว่า จิตจะขาดปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ไม่ได้เลยใช่ใหมครับ เพราะจิตรู้อารมณ์------------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่จำเป็นครับจิตเกิดขึ้นโดยมีบัญญัติเป็นอารมณ์ คือ ไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ก็ได้ครับ เช่น นึกคิดเป็นเรื่องราวต่างๆ ในขณะที่ฝัน เป็นต้น หรือแม้ไม่ฝันก็นึกคิดเรื่องต่างๆ ได้ ขณะนั้น จิตมีบัญญัติเป็นอารมณ์ โดยไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 21 ส.ค. 2554

4 ปรมัตถธรรมเกิดได้ทั้ง 6 ทวาร ใช่ใหมครับ---------------------------------------------------------------------------------------------

ปรมัตถธรรม เกิดได้ทั้ง 6 ทวาร ครับ แต่ก็ต้องแบ่งละเอียดไปอีกครับ เพราะปรมัตถธรรมกว้างมาก มี จิต เจตสิกและรูป นิพพาน และจิตยังแบ่งเป็นหลายประเภทอีกครับ จิตบางประเภท ก็เกิดทางปัญจทวาร จิตบางประเภท ก็ไม่เกิดทางปัญจทวาร แต่เกิดกับทางมโนทวารเท่านั้น ละเอียดมากครับ และ พระนิพพาน ก็จะไม่เป็นอารมณ์ทางปัญจทวารครับ นี่ยกตัวอย่างพอสังเขปครับ------------------------------------------------------------------------------------------------

5. ปัญจทวารวัชนจิต กับมโนทวารวัชนจิต กับผัสสเจตสิก เกี่ยวข้องกับการที่จิตรู้ปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ใช่ไหมครับ อย่างไรครับ--------------------------------------------------------------------------------------------

เพราะมีผัสสะ การกระทบ คือ รูป และ ตา อาศัยผัสสเจตสิก คือ การกระทบ จึงเกิดจิต ที่รู้อารมณ์ต่างๆ และ อาศัยจิตอื่นๆ เป็นปัจจัย เช่น ภวังคจิต และปัญจทวาราวัชวนจิต จึงมีการเห็น และเกิดจิตอื่นๆ ตามลำดับ หมายความว่าขณะที่เห็นนั้น รูปยังไม่ได้ดับไป ยังมี รูป (สี) ที่เป็นปรมัตธรรม เป็นอารมณ์อยู่ครับและ เมื่อหมดวาระของวิถีจิตทางปัญจทวาร วิถีจิตทางมโนทวาร ก็เกิดขึ้น โดยมีภวังคจิต เกิดขึ้นคั่น และมีการรับรู้อารมณ์ที่เป็นปรมัตถธรรมต่อ ซึ่งก็คือ มโนทวา--ราวัชนจิต เกิดขึ้น โดยวาระแรกๆ ของวิถีจิตทางมโนทวาร ก็ยังมีปรมัตธรรมเป็นอารมณ์อยู่ครับ ดังนั้น ทั้ง 3 อย่างที่กล่าวมานั้น จึงเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์กันทั้งสิ้น หากไม่มี ผัสสเจตสิก จะไม่มีจิตการเกิดขึ้นรู้ สภาพธรรมใดๆ ทั้งสิ้นเลยและเมื่อไม่มี ปัญจทวาราวัชนจิต ก็จะไม่มีโลกนี้ปรากฎอีกเช่นกัน คือ ไม่มีเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และรู้กระทบสัมผัส และ ถ้าไม่มี มโนทวาราวัชนจิต ก็จะไม่รู้เลยว่า สิ่งที่ปรากฎนั้นเป็นอะไร สิ่งใดเลยครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ปรมัตถธรรม คือ อะไร? ปรมัตถธรรม หมายถึง ธรรมที่มีจริง สิ่งที่มีจริง มีลักษณะเฉพาะของตนๆ ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ ซึ่งไม่พ้นไปจากสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันเลย (จิต เจตสิก และรูป) นอกจากนั้น ปรมัตถธรรม ยังหมายถึงธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับคือพระนิพพานด้วย อีกประการหนึ่งที่ควรจะเข้าใจ คือ อารมณ์ อารมณ์ หมายถึงสิ่งที่จิตรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้น เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว มีทั้งหมด ๖ ประเภทใหญ๋ๆ คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธัมมารมณ์ (อารมณ์ที่รู้ได้ทางใจอย่างเดียว ได้แก่ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ จิตทั้งหมด เจตสิกทั้งหมด พระนิพพาน และบัญญัติ)

เมื่อทราบแล้วว่าปรมัตถธรรม คือ อะไร และ อารมณ์ คือ อะไรแล้ว ก็ควรที่จะได้พิจารณาต่ออีกว่า ทุกขณะของชีวิต เป็นจิตที่เกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยปราศจากจิตเลยแม้แต่ขณะเดียว เมื่อจิตเกิดขึ้น (และต้องหมายรวมเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) ก็ต้องรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดตามสมควรแก่ประเภทของจิตนั้นๆ เช่น จิตเห็น

ต้องรู้สี (สี เป็นปรมัตถธรรม คือ เป็นรูปธรรม) จิตได้ยิน ต้องรู้เสียง (เสียงก็เป็นปรมัตถ-ธรรม) เป็นต้น ซึ่งชีวิตประจำวันวัน มีทั้งปรมัตถธรรม เป็นอารมณ์ และ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตที่เกิดขึ้นรูอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกายจะมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์เท่านั้น ส่วนจิตที่เกิดขึ้นทางมโนทวาร มีอารมณ์เป็นปรมัตถธรรมก็ได้ และ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แต่เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจิตขณะใด เป็นภูมิใด เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งก็คือรู้อารมณ์ นั่นเอง ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 22 ส.ค. 2554

จิตทุกชาติจิตทุกภูมิ (ไม่ใช่ทุกดวง) และเว้นบางภูมิที่ไม่มีนามธรรม..........แม้จิตของ

สัตว์เดรัฉานมีปรมัติธรรมเป็นอารมณ์ได้วิถีจิตทางปัญจทวารมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์

เท่านั้น ..วิถีจิตทางมโนทวารมีบัญญัติหรือปรมัติเป็นอารมณ์ก็ได้..ขณะเป็นสมถภาวนา

มีบัญญัติเป็นอารมณ์.. ขณะเป็นวิปัสสนาภาวนามีปรมัติธรรมเป็นอารมณ์ (สมถภาวนา

และวิปัสนาภาวนาเกิดทางมโนทวาร) ...ถ้าเข้าใจไม่ถูกต้องกรุณาแนะนำด้วยคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 22 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

เรียนสนทนาเพิ่มเติมครับ สมถภาวนามีบัญญัติ เกิดทางมโนทวาร ถูกต้องครับ ส่วน

วิปัสสนาภาวนา เกิดได้ทั้งทางปัญจทวารและมโนทวารครับ เพราะ วิปัสสนาภาวนา

หมายถึง ขณะที่สติปัฏฐานเกิด หรือ ขณะที่ได้วิปัสสนาญาณ ถ้าขณะที่สติปัฏฐานเกิด

เกิดได้ทั้งทางปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถี ส่วนถ้าเป็นวิปัสสนาญาณเกิดได้เพียง มโน

ทวารวิถีเท่านั้นครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 22 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Sam
วันที่ 22 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
thorn
วันที่ 22 ส.ค. 2554

สรุป ก็คือ ในโลกนี้ มี อารมณ์ อยู่ ๒ อย่างที่จิตรู้ คือ ปรมัตถอารมณ์ และ บัญญัติ

กล่าวคือ ปรมัตถอารมณ์ก็คืออารมณ์ที่อยู่ใน อารมณ์ ๖ อย่าง (รูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฐฐัพพารมณ์ และธรรมารมณ์) ยกเวัน บัญัญัติ เท่านั้น

อย่างนั้น หรือเปล่า

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 22 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 9 ครับ

ถูกต้องครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
คนไทยพบธรรม
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ความเข้าใจธรรม เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการอบรมปัญญา ในโลกนี้ย่อแล้ว มี 2 อย่าง คือนามธรรม หมายถึงธาตุรู้ อาการรู้ สภาพรู้ และ รูปธรรม หมายถึงทุกสิ่งทุก อย่างที่ไม่ใช่สภาพรู้ เป็นรูปธรรมทั้งหมด ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้น มีปรมัตถธรรม เป็น อารมณ์ คือรู้ตรงลักษณะสภาพธรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นนามธรรม หรือรูปธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 23 ส.ค. 2554

ธรรมะเป็นเรื่องละเอียด..วิปัสนาภาวนากับวิปัสนาญาณ..ยังมีความแตกต่างเชิญคลิกอ่าน..สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา มีจุดประสงค์ต่างกันอย่างไร ขออนุโมทนาคะ..

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Graabphra
วันที่ 23 ส.ค. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 25 ส.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ