สุปุพพัณหสูตร.. เวลาที่เป็นฤกษ์ดี
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 591
๑๐. สุปุพพัณหสูตร
ว่าด้วยเวลาที่เป็นฤกษ์ดี
[๕๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้านั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลากลางวัน เวลากลางวันนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น.
(นิคมคาถา)
กายกรรม วาจากรรม มโนกรรม ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณ เป็นฤกษ์ดี มงคลดี แจ้งดี รุ่งดี ขณะดี ครู่ดี และเป็นการบูชาอย่างดีในพรหมจารีทั้งหลาย คนทำกรรมอันเป็นประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อันเป็นประทักษิณ
ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มีประโยชน์อันได้แล้ว ถึงซึ่งความสุข งอกงามในพระพุทธศาสนา เป็นผู้หาโรคมิได้ สำราญกายใจ พร้อมด้วยญาติทั้งปวงเทอญ.
จบสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐
จบมงคลวรรคที่ ๕
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เวลาดี ฤกษ์ที่ดี ขณะที่ดีของชีวิตไม่ใช่ขณะที่เป็นอกุศล ไม่ใช่เวลาที่เป็นไปตามดวงดาว แต่ขณะที่ดี เวลาที่ดี และประเสริฐ คือ ขณะที่กุศลจิตเกิด กุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเมื่อกุศลจิตเกิดขึ้นย่อมนำมาซึ่งสิ่งที่ดี กับตัวผู้เกิดกุศลจิตเอง และย่อมเป็นประโยชน์กับผู้คนรอบข้างด้วย ดังนั้น เวลาดี ฤกษ์ดี คือ ขณะที่เป็นกุศล เพราะนำมาซึ่งความเจริญ ซึ่งในชาดกเรื่องหนึ่งก็แสดงว่า ฤกษ์ดี เวลาที่ดี คือ เวลาที่ประโยชน์เกิดขึ้น นั่นแหละเป็นฤกษ์ที่ดีแล้วครับ
[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 49
๙. นักขัตตชาดก
ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
[๔๙] "ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลา ผู้มัวคอยฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้."
จบ นักขัตตชาดกที่ ๙
ดังนั้น เวลาที่ดี เวลาที่ประเสริฐ ขณะที่ประเสริฐ คือ ขณะที่เกิดกุศลจิต ที่ไม่ใช่เพียงกุศลขั้นทานเท่านั้น กุศลทุกๆ ประการที่เกิดขึ้น เป็นเวลาดี ฤกษ์ดี นำมาซึ่งความเจริญ และที่สำคัญที่สุด เวลาที่ดี ขณะที่ดีที่สุดในชีวิต คือ ขณะที่เข้าใจพระธรรม ปัญญาเกิดขณะนั้นเป็นฤกษ์ที่ดี มงคลดีของชีวิต เพราะนำมาซึ่งความเจริญของกุศลธรรม และละอกุศลธรรมคือความไม่รู้ได้ในขณะนั้นครับ
ขออนุโมทนาคุณหมอที่นำธรรมดีๆ มาฝากครับ
ขออนุโมทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณคำปั่น, คุณผเดิม, คุณเมตตา, คุณwannee.s และ ทุกท่านครับ
ทุกขณะที่คิดดี กระทำดี ขณะนั้นเป็นฤกษ์ดี และขณะที่ฟังพระธรรม เข้าใจธรรม ขณะนั้นเป็นฤกษ์ที่ดีที่สุดซึ่งหาได้ยาก ไม่ควรละเลยทุกๆ ขณะที่ผ่านไป ... ด้วยการ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ
...ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มได้ที่...
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนา คุณผเดิม และคุณหมอเพิ่ม ด้วยค่ะ...
ฤกษ์ดี ยามดี ก็คือขณะที่ทำความดี และขณะที่ประเสริฐที่สุดในชีวิต คือขณะที่สติปัฏฐานเกิดค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เวลาที่ดี เวลาที่ประเสริฐ ขณะที่ประเสริฐ คือ ขณะที่เกิดกุศลจิต ที่ไม่ใช่เพียงกุศลขั้นทานเท่านั้น กุศลทุกๆ ประการที่เกิดขึ้น เป็นเวลาดี ฤกษ์ดี นำมาซึ่งความเจริญ และที่สำคัญที่สุด เวลาที่ดี ขณะที่ดีที่สุดในชีวิต คือ ขณะที่เข้าใจพระธรรม
น้อมกราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ
ขอนอบน้อมพระรัตนตรัย
อรรถกถาสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐
พึงทราบวินิจฉัยในสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
ในคำเป็นต้นว่า สุนกฺขตฺตํ วันที่คนทั้งหลายบำเพ็ญสุจริตธรรมทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์ ชื่อว่าเป็นวันที่ได้การประกอบฤกษ์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วันนั้นมีฤกษ์ดีทุกเมื่อ. วันนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นวันทำมงคลแล้ว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วันนั้นมีมงคลดีทุกเมื่อ.
แม้วันที่มีความสว่างไสวทั้งวัน จึงชื่อว่า สุปฺปภาตเมว มีความสว่างไสวเป็นประจำ.
แม้การลุกขึ้นจากการนอนของวันนั้น ก็ชื่อว่า สุหุฏฺฐิตํ ลุกขึ้นด้วยดี.
แม้ขณะของวันนั้น ก็ชื่อว่า สุกฺขโณ ขณะดี.
แม้ยามของวันนั้น ก็ชื่อว่า สุมุหุตโต ยามดี.
ก็ในบทว่า สุมุหุตฺโต นี้ พึงทราบการแบ่งเวลาดังนี้
เวลาประมาณ ๑๐ นิ้ว ชื่อขณะ.
เวลา ๑๐ เท่าโดยขณะนั้น ชื่อว่าลยะ.
เวลา ๑๐ เท่าโดยลยะนั้น ชื่อว่าขณลยะ.
เวลา ๑๐ เท่าโดยขณลยะนั้น ชื่อว่ามุหุตฺตะ.
เวลา ๑๐ เท่าโดยมุหุตตะนั้น ชื่อว่าขณมุหุตฺตะ.
บทว่า สุยิฏฺฐํ พฺรหฺมจาริสุ ความว่า ทานที่เขาให้ในผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ ในวันที่บำเพ็ญสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์แล้ว ชื่อว่า สุยิฏฺฐํ (มีการบูชาดีแล้ว) .
บทว่า ปทกฺขิณํ กายกมฺมํ ความว่า กายกรรมที่เขาทำแล้วในวันนั้น ชื่อว่าเป็นกายกรรมประกอบด้วยความเจริญ.
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ปทกฺขิณานิ กตฺวาน ความว่า ครั้นกระทำกายกรรมเป็นต้นที่ประกอบด้วยความเจริญแล้ว.
บทว่า ลภนฺตตฺเถ ปทกฺขิเณ ความว่า จะได้ประโยชน์ที่เป็นประทักษิณ คือประโยชน์ที่ประกอบด้วยความเจริญนั่นเอง.
ข้อความที่เหลือในพระสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น
จบอรรถกถาสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐
กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลทุกท่านทุกประการค่ะ