ธรรมใดๆก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ

 
ตามรู้ตน
วันที่  28 ส.ค. 2554
หมายเลข  19595
อ่าน  1,950

กรุณาดูที่ กระทู้ คุณดวงตาเห็นธรรม ขณะเดินจงกรมและนั่งสมาธิ มีคำตอบ

คลิกอ่านที่นี่... ขณะเดินจงกรมและนั่งสมาธิ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ส.ค. 2554

ขอเชิญสมาชิกทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็น ในประเด็น คือ ปฏิบัติธรรมคืออะไร

และกับกับคำว่า ทำ และปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องคืออย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
miran
วันที่ 28 ส.ค. 2554

ถ้าเราจำกัดความของ ฟังพระธรรมเทศนาก็ดี เดินจงกรมก็ดี นั่งสมาธิก็ดี ลงในคำว่าศีล สมาธิ

และปัญญา และอะไรเป็นเหตุทำให้เราเกิด ศีล สมาธิ และปัญญา ได้บริบูรณ์ ล่ะครับ

ถ้าเราทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้น มีขึ้น เจริญขึ้น ให้มี ให้เป็นขึ้น สิ่งนั้นนั่นแหละครับ ชื่อว่า ทำ หรือ

ปฏิบัติธรรม. ที่จริงผมไม่ค่อยรู้เรืองธรรมอะไรมาก แต่ผมเห็นเงียบๆ ก็เลยลองตอบมาดู ไม่รู้ผม

ตอบถูกหรือเปล่า

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 28 ส.ค. 2554

ธรรมใดๆ ก็ไร้ค่าถ้าไม่เข้าใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kinder
วันที่ 28 ส.ค. 2554
แนะนำให้ฟัง พื้นฐานพระอภิธรรม แล้วจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
miran
วันที่ 28 ส.ค. 2554

แต่ยังไงก็ต้องเริ่มต้นด้วยการฟังธรรม ไม่งั้นอยู่ดีจะปฏิบัติ ศีลคืออะไรมีอะไรบ้างก็ไม่รู้จัก สมาธิ

คืออะไรก็ไม่รู้จัก ปัญญาคืออะไรมีลักษณะอย่างไรก็ไม่รู้จัก แล้วจะไปพิจารณาอะไร ตรึกอะไร

อะไรคือกุศลอกุศล อะไรควรละ อะไรควรทำให้เจริญ ใช่ไหมครับ

สมัยพุทธกาลถ้าจะเจริญวิปัสสนาธุระ ก็ต้องรับโอวาทจากพระพุทธเจ้า หรือครูอุปัชฌาย์

อาจารย์เกี่ยวกับหลักปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนการทำให้ถึงอรหันต์อย่างเข้าใจ จึงออกไปปฏิบัติครับ

ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
บรรพต
วันที่ 29 ส.ค. 2554

ผมมีความเข้าใจอย่างนี้ครับ

การปฏิบัติธรรม คือการเข้าถึงเฉพาะลักษณะธรรมนั้นๆ ครับ

ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องคือ ศึกษาให้เข้าใจลักษณะของธรรมแต่ละชนิด

และเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมธรรมก็จะปฏิบัติกิจของธรรม ครับ

ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pat_jesty
วันที่ 29 ส.ค. 2554

มีความเข้าใจว่า

"ทำ" หรือ "ปฏิบัติ" คือ การทำหน้าที่ หรือ การเป็นไปของสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะมีเหตุ

ปัจจัยพร้อมให้เกิดขึ้น ก็ทำ (ปฏิบัติ) หน้าที่เฉพาะของตน แล้วหมดกิจ ก็ดับไป

เพราะฉะนั้นทุกขณะ ก็มีธรรมเกิดขึ้นปฏิบัติกิจของตนอยู่ต่างๆ กัน ตามแต่ลักษณะ

เฉพาะของตนอยู่ทุกขณะ แต่เพียงแค่ที่เรายังไม่สามารถรู้ตรงตามความเป็นจริงได้นั้น

เพราะปัญญาที่ถึงขั้นรู้ตรงสภาพธรรมตามความเป็นจริง ยังไม่เกิดขึ้นทำ (ปฏิบัติ) กิจ

จึงยังไม่สามารถรู้ได้ ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ ก็ต้องสะสมความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย

เพื่อความเข้าใจที่มั่นคง จนเป็นเหตุพร้อมให้เกิดปัญญาขึ้นทำหน้าที่รู้สภาพสิ่งที่มีจริง

ดังกล่าวได้

ดังนั้น ทุกขณะจึงเป็นเพียงแต่ ธรรมเกิดขึ้นปฏิบัติกิจของตน ตามเหตุตามปัจจัย แล้ว

ดับไป ไม่มีบุคคล หรือใคร....

ขอบคุณทุกท่านที่รวมสนทนาเพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น และขออนุโมทนาในกุศจิตของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ผู้รู้น้อย
วันที่ 30 ส.ค. 2554

เห็นด้วยกับคุณบรรพตครับ ....นีก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่น่าสรรเสริญ....คือท่านไม่ละโอกาส

เมื่อเห็นผู้สนใจ..ใฝ่ศึกษาในอภิธรรม...ในธรรมที่ถูกต้อง....ขออนุโมทนาในบุญกุศลครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 30 ส.ค. 2554

คำว่าปฏิบัติที่ใช้กันในภาษาไทย กับปฏิบัติในภาษาบาลี ความหมายไม่ตรงกันกล่าวคือ โดยมากจะเข้าใจกันว่า เป็นการไปทำ แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่การไปทำเพราะเหตุว่า ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติ ไม่ใช่การไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมาแต่ธรรมเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของธรรม นั่นก็คือ สติ และ สัมปชัญญะ (ปัญญา) เกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องอาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรมสะสมความเข้าใจขึ้นไปตามลำดับ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว การปฏิบัติถูกต้อง ย่อมมีไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นความเข้าใจ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับคำว่า ปฏิบัติธรรมนั้น ในพระไตรปิฎกแสดงถึงคำเต็มไว้ คือ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมคือ สมควรแก่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม บรรลุมรรค ผล นิพพาน ครับ ----------------------ข้อความจากธรรมทัศนะ...

ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
kinder
วันที่ 30 ส.ค. 2554

กรุณาดูที่ กระทู้ คุณดวงตาเห็นธรรม ขณะเดินจงกรมและนั่งสมาธิ มีคำตอบ

คลิกอ่านที่นี่... ขณะเดินจงกรมและนั่งสมาธิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ