สภาวธรรม

 
ประไพ
วันที่  28 ส.ค. 2554
หมายเลข  19598
อ่าน  2,142

อยากทราบว่า สภาวะ ที่ ระลึกได้ว่า ไม่มีเรา ไม่มีของเรา ไม่เพลิดเพลินกับรสชาติอาหาร

มีสติระลึกอยู่เสมอ เวลาทำงาน ก็ทำโดยไม่มีความโลภ โกรธ แฝงเหมือนทุกครั้ง ทำด้วย

สติระลึกรู้ที่ว่า ไม่มีเรา ไม่ใช่ของเรา อย่างนี้เรียกว่าสภาวะอะไรคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 29 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง เพราะเป็นปัญญาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ จึงไม่ใช่ง่าย

เลยที่จะเข้าใจ แม้แต่การอบรมปัญญารู้ความจริงของสาพธรรมที่เป็นหนทางดับกิเลส

ก็เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ยากต่อการเข้าใจและอาจทำให้เข้าใจผิดได้ครับ ที่สำคัญะสะสมกิเลส

มามากมายมหาศาล และต้องยอมรับความจริงว่า ยังเป็นปุถุชน ผู้หนาด้วยกิเลส ผู้ที่จะ

ไม่มีกิเลสอกีเลย ไม่เกิดกิเลสเกิดขึ้น คือ พระอรหันต์เท่านั้นครับ

ดังนั้นขณะที่ทำงาน ที่กล่าวว่า ทำงาน โดยไม่มีความโลภ โกรธ แฝงอยู่เลย ใน

ความเป็นจริง ผู้ที่อบรมปัญญา ยิ่งมีปัญญามากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเห็นกิเลสมากขึ้นเท่า

นั้นว่ามีมาก แต่ถ้าไม่มีปัญญา เหมือนผู้ที่ไมได้ศึกษาธรรม ก็จะกล่าวว่าเขาดีอยู่แล้ว

เพราะไม่เห็นกิเลส หรือ ถ้าปัญญาไม่มากก็จะไม่เห็นกิเลสที่มีมากครับ ซึ่งกิเลสเกิดขึ้น

เป็นปกติในชีวิตประจำวัน โดยไม่รู้ตัว ไม่ต้องกล่าวถึงทำงานเลย ขณะนี้กิเลสเกิดขึ้น

ไหม ไม่รู้เลยครับ เกิดแล้ว แค่เห็นกิเลสก็เกิดแล้ว ไม่รู้ตัวเลย ยินดีพอใจในสิ่งที่เห็น

แม้จะไม่มีความรู้สึกชอบ โสมนัสในสิ่งที่เห็นเลย แต่ก็ติดข้อง ชอบแล้ว เพราะฉะนั้น

กิเลสจึงมีความละเอียด หลายระดับ ตั้งแต่มีกำลังที่พอจะปรากฏให้รู้ได้ กับที่ไม่รู้สึกตัว

เลย เพราะกิเลสอย่างละเอียดทีเกิดในชีวิตประจำวัน ต้องเป็นปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ได้

ดังนั้นปัญญาเท่านั้นยิ่งมีมากก็จะเห็นกิเลสมากขึ้น ครับ การทำงานก็คือปกติในชีวิต

ประจำวัน ขุ่นใจเล็กน้อยไม่รู้ตัวเลย เป็นโทสะแล้ว ติดข้องแม้เพียงแค่เห็นไม่รู้ตัวเลย

กิเลสเกิดแล้ว และที่สำคัญกิเลสตัวร้าย ความไม่รู้ โมหะ แม้ไม่ติดข้อง ไม่โกรธ แต่ไม่รู้

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ก็หลงแล้ว

แม้การทานอาหารที่ผู้ถามได้กล่าวว่าไม่ติดรสชาติ เป็นไปไม่ได้เลย เพราะผู้ที่จะไม่

ติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสคือพระอนาคามี แต่เราไม่รู้เองว่ากิเลส

เกิดแล้ว ในขณะลิ้มรส รวดเร็วโดยไม่รู้ตัวเพราะปัญญายังไม่ละเอียดนั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 29 ส.ค. 2554

ส่วนเรื่องที่ผู้ถามกล่าวถึงการรู้ว่าไม่มีเรา ไม่ใช่ของเรา ธรรมเป็นเรื่องละเอียก ลึกซึ้ง

แม้พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ยังน้อมพระทัยที่จะไม่แสดงธรรม เพราะเห็นว่าพระธรรมที่

พระองค์ตรัสรู้ยากที่สัตว์โลกจะเข้าใจ ดังนั้นความละเอียดของพระธรรมจึงมีมากครับ

แม้การรู้ว่าไม่มีเรา ไม่ใช่เรา นั้น การเจริญสติปัฏฐานที่รู้ความจริงของสภาาธรรมที่มี

จริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่ใช่การคิดนึกว่าไม่มีเรา ไม่ใช่รา แต่ที่สำคัญ อะไร

ที่ไม่ใช่เรา นั่นคือ ธรรม และธรรมอะไรที่ไม่ใช่เรา ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ และอะไรคือ

ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น..จิต เจตสิก รูป แต่ไม่ใช่การคิดนึกว่า เห็น

ไม่ใช่เรา สี ไม่ใช่เรา จิต เจตสิก รูปไม่ใช่เรา การรู้ความจริงไม่ใช่การคิดนึกว่าไม่มีเรา

ไม่ใช่เรา แต่ต้องเป็นสติและปัญญาที่รู้ตรงลักษณะครับ ที่กล่าวว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ไม่

ใช่เรา ขณะนี้เห็นเป็นเพียงสี หรือไม่ หรือยังเห็นเป็นสัตว์ บุคคลอยู่ นี่แสดงความ

ละเอียดของปัญญาครับ ดังนั้นขอให้เริ่มกลับมาสู่ความเข้าใจเบื้องต้น ถ้าคิดว่าเข้าใจ

แล้ว ก็จะทำให้หลงทางผิดได้ครับ ดังนั้นการรู้ว่าไม่มีเรา ไม่ใช่เรา ก็เป็นเพียงความคิด

นึก ถึงสภาพธรรม ไม่ใช่การรู้ตรงลักษณะขอสภาพธรรมจริงๆ ครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 29 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ชีวิตประจำวันที่ดำเนินไปนั้น ตามความเป็นจริง ขณะใดก็ตามที่จิตไม่ได้เป็นไปในกุศล กล่าวคือ ไม่ได้เป็นไปในทาน ไม่ได้เป็นไปในศีล ไม่ได้เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญาแล้ว ที่เหลือนอกจากนั้น เป็นอกุศลทั้งหมด (ถ้าไม่กล่าวถึง ขณะที่รับผลของกรรม) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อกุศลจิตย่อมเกิดมากกว่ากุศลจิต จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม แต่ส่วนมากมักจะไม่รู้ว่ามีอกุศลจิตเกิดมากกว่า, อกุศล เกิดขึ้น ตามการสะสมของจิตในอดีตที่ได้สะสมกิเลสมาอย่างมากมายนับชาติไม่ถ้วน โดยเฉพาะโลภะ ซึ่งเป็นความติดข้องยินพอใจในวัตถุต่างๆ ติดข้องยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย ซึ่งเป็นวัตถุกามในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น ก็มีความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็เป็นอกุศล ไม่พ้นเลยจริงๆ ซึ่งเมื่อมีเหตุมีปัจจัยอกุศลก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เมื่อสะสมมากขึ้น มีกำลังมากขึ้น ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กระทำทุจริตกรรมประการต่างๆ ได้ แสดงให้เห็นได้ว่า ตราบใดก็ตาม ที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ กิเลสอกุศล ก็ยังมีอยู่ครบ แม้แต่ในขณะที่รับประทานอาหาร ไม่พ้นไปจากโลภะ ความติดข้องยินดีพอใจเลย ซึ่งผู้ที่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรมเท่านั้น ที่จะเข้าใจได้ว่า อกุศล มีมากเหลือเกิน ติดข้อง อย่างรวดเร็ว ไม่พอใจ อย่างรวดเร็ว เป็นปกติของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ส่วน บุคคลผู้ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ถึงแม้ว่าตนเองจะยังมีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น อยู่ เมื่อฟังบ่อยๆ เนืองๆ ย่อมจะมีความรู้ความเข้าใจถึงโทษภัยของอกุสลประการต่างๆ เหล่านี้ สามารถค่อยๆ อบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ สามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอกุศลธรรม ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน และ ปัญญานี้เองเป็นธรรมที่จะดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด “ที่ใดมีปัญญา ที่นั่นจะไม่มีอกุศล หรือ ขณะที่เข้าใจ อกุศลจะอยู่ตรงนั้นไม่ได้”การที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม พิจารณาไตร่ตรองพระธรรม ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ อดทนที่จะฟัง ที่จะศึกษาต่อไปด้วยความไม่ท้อถอย ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ขาดการฟังพระธรรม ฟังเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก เพิ่มพูนความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม มากยิ่งขึ้น ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
akrapat
วันที่ 29 ส.ค. 2554

"อยากทราบว่า สภาวะ ที่ ระลึกได้ว่า ไม่มีเรา ไม่มีของเรา ไม่เพลินเพลินกับรสชาติอาหาร

มีสติระลึกอยู่เสมอ เวลาทำงาน ก็ทำโดยไม่มีความโลภ โกรธ แฝงเหมือนทุกครั้ง ทำด้วย

สติระลึกรู้ที่ว่า ไม่มีเรา ไม่ใช่ของเรา อย่างนี้เรียกว่าสภาวะอะไรคะ "

ถ้าสภาวะอย่างนี้ เกิดเอง และเกิดบ่อย ก็อย่าไปสนใจเลย ว่าเรียกว่าอะไร ปรมัตถ์ มันไม่มีชื่อหรอก แต่ระวังอย่าไปจงใจไปคิดเองแล้วกัน

ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 31 ส.ค. 2554

สภาวะ ที่ระลึกได้ไม่มีเรา ไม่มีของเรา เป็นนามธรรมที่เรียกว่าสติที่ประกอบด้วยปัญญา... หากเป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญาจริงน่าจะไม่สงสัยว่าเป็นสภาวะอะไร..ถ้ายังสงสัยน่าจะเป็นการคิดว่า ไม่มีเรา ไม่มีของเรา ไม่เพลินเพลินกับรสชาติอาหารที่ไม่ใช่การรู้ด้วยสติสัมปชัญญะ ณ.ขณะที่สภาพธรรมะเกิด..?

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 31 ส.ค. 2554

คงไม่ต้องเรียกว่าเป็นสภาวะอะไรหรอกครับ เพราะธรรมะคือธรรมะโดยไม่ต้อง

กังวลเรื่องชื่อเรียก ที่สำคัญกว่าคือควรสะสมความเข้าใจจากการฟังพระธรรมต่อไป

เนื่องจากความเข้าใจจากการฟังพระธรรมจะปรุงแต่ให้สติเริ่มระลึก และปัญญาเริ่ม

พิจารณาลักษณะของธรรมะในลักษณะที่ไม่ใช่เรา

เมื่อสติเริ่มเกิด ปัญญาที่เพิ่งเริ่มพิจารณายังไม่มีกำลัง ความสงสัยและกิเลส

อื่นๆ ย่อมเกิดขึ้นทำกิจได้เพระได้สะสมความไม่รู้มามาก จึงต้องอาศัยการฟังธรรมเพื่อ

เป็นปัจจัยให้สติระลึกบ่อยๆ เนืองๆ ต่อไป จนกว่าปัญญาจะเริ่มรู้ชัดและมีกำลังความ

สงสัยในสภาพธรรมจึงจะละคลายลง ผู้ที่จะไม่สงสัยในสภาพธรรมต่อไปอีกเลยคือ

พระอริยบุคคลขั้นโสดาบันขึ้นไปครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ประไพ
วันที่ 3 ก.ย. 2554

ขอบพระคุณมากค่ะ สำหรับความเมตตาในการแสดงความคิดเห็น สภาวธรรมที่พูดถึง ในที่สุดแล้วก็อยู่ในกฏไตรลักษณ์ แต่ก็ยอมรับว่า เป็นความสุขที่สัมผัสได้จริงๆ ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ว่า ทำอย่างไรมันจะเกิดขึ้นอีกคะ ตอนนี้รู้ตัวเองแล้วว่ายังอ่อนสติและปัญญาอยู่มาก จะพยายามศึกษาต่อไปค่ะ

ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.ย. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 19598 ความคิดเห็นที่ 7 โดย ประไพ

ขอบพระคุณมากค่ะ สำหรับความเมตตาในการแสดงความคิดเห็น สภาวธรรมที่พูดถึง ในที่สุดแล้วก็อยู่ในกฏไตรลักษณ์ แต่ก็ยอมรับว่า เป็นความสุขที่สัมผัสได้จริงๆ ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ว่า ทำอย่างไรมันจะเกิดขึ้นอีกคะ ตอนนี้รู้ตัวเองแล้วว่ายังอ่อนสติและปัญญาอยู่มาก จะพยายามศึกษาต่อไปค่ะ

ขออนุโมทนา

ค่อยๆ ฟังค่อยๆ ศึกษาพิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผลของธรรมไปตามลำดับ ความรู้ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นเพิ่มขึ้น ความเข้าใจ บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะเป็นอนัตตา ธรรมทั้งหมดทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ บังคับให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย สำหรับสติและปัญญา ก็เป็นธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยเช่นเดียวกัน เมื่อไม่ขาดการฟัง ไม่ขาดการศึกษา คบหากับพระธรรมอยู่เสมอ ก็จะเป็นเหตุให้สภาพธรรมฝ่ายดีเหล่านี้เกิดขึ้นได้ และจะเจริญมากยิ่งขึ้นด้วย จากประโยคที่ว่า จะพยายามศึกษาต่อไป นั้น เป็นความตั้งใจจริงที่จะศึกษาเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น แสดงให้ถึงความเป็นผู้เห็นประโยชน์ของการเข้าใจความจริงในชีวิตประจำ-วัน ก็ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณประไพ ด้วยครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 7 ก.ย. 2554

ขณะที่สติปัฏฐานเกิด มีตัวธรรมะ เป็นสภาวธรรม คือธรรมทีมีจริง ที่กำลังปรากฏ

ไม่มีสัตว์ บุคคล เป็นนามธรรม หรือ รูปธรรม เป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
kinder
วันที่ 7 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 7 ก.ย. 2554

".......ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ว่า ทำอย่างไรมันจะเกิดขึ้นอีกคะ...."

โลภะกำลังเกิดอยู่ค่ะ

ถ้าจะระลึกรู้....ต้องระลึกรู้ขณะนี้ เพราะไม่มีขณะไหนที่ปราศจากสภาพธรรม

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ