นิวรณ์ ๕ ตอนที่ ๒

 
pirmsombat
วันที่  30 ส.ค. 2554
หมายเลข  19612
อ่าน  1,466

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเปรียบเทียบผู้ที่ละกามฉันท-

นิวรณ์ได้ว่าเหมือนคนไม่มีหนี้ ผู้ที่ละนิวรณ์ที่เหลือได้ว่าเหมือนคนไม่มีโรค

เป็นต้น ในพระบาลีนี้ว่า เสยฺยถาปิ มหาราช อานณฺยํ ดังนี้. ในข้อ

นั้นมีอุปมาดังนี้.

เหมือนอย่างว่า บุรุษกู้หนี้แล้วประกอบการงาน ถึงความร่ำรวย

คิดว่า ชื่อว่าหนี้นี้เป็นมูลแห่งความกังวล จึงใช้หนี้พร้อมทั้งดอกเบี้ย

แล้วฉีกหนังสือสัญญากู้เสีย เมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่มีใครส่งคนไปทวงเขา

ตั้งแต่นั้นนา หนังสือสัญญากู้ก็ไม่มี เขาแม้เห็นเจ้าหนี้ทั้งหลาย ถ้าประ-

สงค์จะต้อนรับก็ลุกจากอาสนะ ถ้าไม่ประสงค์ก็ไม่ลุก. เพราะเหตุไร?

เพราะมิได้คิดต่อมิได้เกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้เหล่านั้น ฉันใด ภิกษุ (ผู้ปฏิบัติ)

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่ากามฉันทะนี้ เป็นมูลแห่งความกังวล

จึงเจริญธรรม ๖ ประการแล้วละกามฉันทนิวรณ์เสีย. ก็ธรรม ๖ ประการ

เหล่านั้น เราจักพรรณนาในมหาสติปัฏฐานสูตร.

เมื่อภิกษุนั้นละกามฉันทะได้อย่างนี้ ย่อมไม่กลัวไม่สะดุ้ง เหมือน

บุรุษผู้ปลดหนี้แล้ว เห็นเจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมไม่กลัวไม่สะดุ้ง ฉันใด ย่อม

ไม่มีความเกี่ยวข้อง ไม่มีความผูกพันในวัตถุของผู้อื่น ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่อเห็นรูปแม้เป็นทิพย์ กิเลสก็ไม่กำเริบ.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

การละกามฉันทะได้เหมือนความไม่มีหนี้.

เหมือนอย่างบุรุษผู้กระสับกระส่ายเพราะโรคดีนั้น ทำโรคนั้นให้สงบ

ด้วยการปรุงยา ตั้งแต่นั้นก็ได้รสแห่งน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่าพยาบาทนี้ กระทำความพินาศ

จึงเจริญธรรม ๖ ประการ ละพยาบาทนิวรณ์ได้. เราจักพรรณนาธรรม

๖ ประการในนิวรณ์ทั้งหมด ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั่นแล. ก็ธรรม

๖ ประการเหล่านั้น มิใช่เจริญเพื่อละถีนมิทธะเป็นต้นอย่างเดียว เราจัก

พรรณนานิวรณ์เหล่านั้นทั้งหมดในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นแหละ. ภิกษุนั้น

ละพยาบาทได้อย่างนี้แล้ว รับสิกขาบททั้งหลายมีอาจารบัญญัติเป็นต้น

อย่างเต็มใจด้วยเศียรเกล้า สนใจศึกษาอยู่ เหมือนบุรุษหายจากโรคดีแล้ว

ย่อมรับประทานรสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้นอย่างเต็มใจ.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสการละพยาบาทเหมือนหายโรค.

บุรุษผู้ถูกขังในเรือนจำในวันนักษัตรนั้น ในวันนักษัตรต่อมา

เขาคิดว่า แม้เมื่อก่อนเราถูกจำเพราะโทษที่ประมาท ไม่ได้ชมนักษัตร

เพราะเหตุนั้น บัดนี้เราจักไม่ประมาท ดังนี้ เป็นผู้ไม่ประมาทอย่างที่

ศัตรูทั้งหลายของเขาไม่ได้โอกาส จึงได้ชมนักษัตรเปล่งอุทานว่า โอ

นักษัตร ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น คิดว่า ชื่อว่าถีนมิทธะนี้ทำความ

พินาศใหญ่ จึงเจริญ ธรรม ๖ ประการ ย่อมละถีนมิทธนิวรณ์ได้ เธอละ

ถีนมิทธะได้อย่างนี้แล้ว ได้ชมเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งนักษัตร

คือธรรม บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เหมือนอย่าง

บุรุษที่พ้นจากการจองจำ ได้ชมเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งนักษัตร

ทั้ง ๗ วัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสารละถีนมิทธะได้ว่าเหมือนพ้นจากจองจำ.

เหมือนอย่างว่า ทาสเข้าไปอาศัยมิตรบางคน ให้ทรัพย์แก่นาย

ทั้งหลายแล้วทำคนให้เป็นไท ตั้งแต่นั้นตนปรารถนาสิ่งใด ก็ทำสิ่งนั้น

ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่าอุทธัจจกุกกุจจะนี้ทำความ

พินาศใหญ่ จึงเจริญธรรม ๖ ประการ ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. เธอ

ละอุทธัจจกุกกุจจะได้อย่างนี้แล้ว ย่อมดำเนินสู่เนกขัมมปฎิปทาได้ตาม

สบาย. อุทธัจจกุกกุจจะไม่สามารถให้เธอกลับจากเนกขัมมปฏิปทานั้นได้

โดยพลการ. เหมือนอย่างบุรุษผู้เป็นไท ปรารถนาสิ่งใด ก็ทำสิ่งนั้น

ไม่บ่รารถนาสิ่งใด ก็ไม่ทำสิ่งนั้น. ไม่มีใครๆ จะให้เขากลับจากความ

เป็นไทนั้นโดยพลการได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสการละอุทธัจจกุกกุจจะว่าเหมือนความเป็นไท.

เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ถือเอาทรัพย์ที่มีสาระติดมือ เตรียมอาวุธ

พร้อมด้วยบริวารเดินทางกันดาร พวกโจรเห็นเขาแต่ไกล พึงหนีไป.

เขาข้ามพ้นทางกันดารนั้นโดยสวัสดี ถึงแดนเกษม มีความร่าเริงยินดี

ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่าวิจิกิจฉานี้ทำความพินาศ

จึงเจริญธรรม ๖ ประการ ย่อมละวิจิกิจฉาได้ เธอละวิจิกิจฉาได้อย่างนี้

แล้ว ข้ามกันดารแห่งทุจริตได้ บรรลุพระอมตมหานิพพานอันเป็นภูมิ

ที่เกษมสำราญอย่างยิ่ง เหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เตรียมอาวุธพร้อมด้วยบริวาร

ปลอดภัย ไม่สนใจพวกโจรเหมือนหญ้า ออกไปถึงภูมิอันเป็นที่ปลอดภัย

โดยความสวัสดี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสการละวิจิกิจฉาไว้เหมือนภูมิอันเป็นแดนเกษม.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 31 ส.ค. 2554

ดีมากๆ เลยค่ะ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pirmsombat
วันที่ 1 ก.ย. 2554

ขอบคุณและอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ