ผลกรรมของโมฆบุรุษ
-คนที่แต่งตำราพระอภิธรรมแข่งกับพระพุทธเจ้า
เช่น เอาธรรมะมาขยายใหม่ แล้วเอาปัญญาตัวเองเข้าใส่
ข้อความบางตอนในพระไตรปิฏกไม่มี แต่ขยายว่ามี แล้วเล่าให้คนเชื่อ
-คนที่สร้างแนวทางปฏิบัติที่แปลกแหวกแนว แล้วก็ยก
เอากรรมฐานมากองหนึ่ง แล้วสร้างแนวทางใหม่ๆ ที่พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน
ให้คนแห่กันไปปฏิบัติคิดว่าถูกต้อง
โมฆบุรุษเหล่านี้ ทำลงไปเพราะมีจิตเจตสิกตัวไหนค่ะ
และจะได้รับผลของกรรมอย่างไรบ้าง
และจะต้องรับผลในชาติใดค่ะ ในชาตินี้ ชาติต่อไป
หรือว่าแล้วแต่จะให้ผลเวลาใดตราบจนถึงพระนิพพาน
ขอความกรุณาอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สำหรับที่ผู้ถามได้ยกมาในเรื่องของบุคคลที่แต่งตำราใหม่ หรือ อธิบายการปฏิบัติที่
ไม่ถูกต้องนั้น เกิดจากกิเลส คือ ความเห็นผิด (ทิฏฐิเจตสิก) เกิดจากความไม่รู้ (โมหะ
เจตสิก) และการพิจารณาโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ)
เพราะมีความเห็นผิด ทีเกิดร่วมกับความไม่รู้และการพิจารณาโดยไม่แยบคาย จึงเข้า
ใจธรรมผิดไปจากความจริง ทำให้เมื่อมีความเห็นผิดก็ทำให้คิดผิด เมื่อคิดผิดก็มีวาจาที่
ผิด มีการกระทำที่ผิด ทำให้พูด แสดงในสิ่งที่ไม่ตรงตามพระธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ
ข้อปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง หรือ มีการเขียนหนังสือที่คิดเอง ที่ไม่ถูกต้องก็ล้วนแล้วแต่เิกิด
จากการอำนาจของกิเลส มีความเห็นผิดเป็นปัจจัยสำคัญ อันมีความไม่รู้เป็นรากเหง้า
ของความเห็นผิดและกิเลสประการต่างๆ นั่นเองครับ
พระพุทธเจ้าได้แสดง ผลของกรรมของผู้ประกอบด้วยความเห็นผิดไว้ว่า ผู้ที่มีความ
เห็นผิด ย่อมมี คติ 2 ประการ คือมีที่จะไปเกิด 2 ประการ คือ นรกและสัตว์เดรัจฉานเมื่อ
ตายจากความเป็นมนุษย์ครับ ผู้ที่มีความเห็นผิดมาก แน่นอน ย่อมไปเกิดในนรก ส่วนผู้
ที่มีความเห็นผิดไม่มาก ก็ไปเกิดในสัตว์เดรัจฉานครับ
ส่วนการจะได้รับผลของกรรมในชาติไหนก็แล้วแต่ครับ ไม่แน่นอนเสมอไปว่าชาตินี้
หรือชาติหน้า หรือ ชาติถัดๆ ไปก็ได้ครับ เว้นไว้แต่ถ้าเป็นอนันตริยกรรม ย่อมให้ผลใน
ชาติถัดไปทันทีครับ คือ ตายจากเป็นมนุษย์ย่อมเข้าถึงนรกครับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
บทว่า นรก หรือกำเนิดเดียรัจฉานมีอธิบายว่า หากว่าความเห็นผิดนั้นสมบูรณ์
คือ เป็นความแน่นอน ย่อมเกิดในนรก โดยส่วนเดียว หากยังไม่แน่นอน ย่อมเกิด
ในกำเนิดเดียรัจฉาน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
[๑๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่ว ๑ ผู้ที่ถูก
ชักชวนแล้วปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ๑ คนทั้งหมดนั้น ย่อมประสบกรรมมิใช่บุญ
เป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว.
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นความเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เป็นความเห็นที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความเห็นผิดเป็นกิเลสที่อันตรายมาก มีโทษมาก เพราะว่า เมื่อมีความเห็นผิดแล้ว กาย วาจา ใจ ย่อมเป็นไปในทางที่ผิด ด้วย แสดงให้เห็นว่า กาย วาจา ใจ ที่คล้อยตามความเห็นผิดของผู้ที่มีความเห็นผิด นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพราะเหตุว่าเป็นอกุศลธรรม นำมาซึ่งทุกข์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น บุคคลผู้ที่มีความเห็นผิด มีการปฏิบัติผิด ย่อมไม่สามารถที่จะพ้นไปจากวัฏฏะได้ มีแต่จะจมลงในอบายภูมิ โดยส่วนเดียว และ ที่น่ากลัวอีกอย่างหนึ่ง คือ ตนเองมีความเห็นผิดแล้ว ยังชักชวนให้ผู้อื่นมีความเห็นผิดตามไปด้วย เผยแพร่ความเห็นที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ยิ่งจะทำให้ผู้อื่นเกิดความเห็นผิดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ใครๆ เลย ทั้งสิ้น ในอรรถกถาท่านเปรียบไว้เหมือนกับการหว่านหนามกับ การกระจายยาพิษ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์เลยแม้แต่น้อย ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงความเห็นผิด แล้ว ก็เป็นเรื่องที่จะต้องคิดพิจารณาที่จะให้เป็นสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูก) อยู่เสมอ การจะพ้นจากความเห็นผิดได้นั้น ต้องอาศัยการพิจารณาเหตุผลที่ถูกต้องสมควรจริงๆ จึงจะทำให้พ้นจากความเห็นผิดได้ ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง สะสมปัญญาซึ่งเป็นความเข้าใจถูกเห็นถูก ไปตามลำดับ จนกว่าจะละความเห็นผิดได้อย่างเด็ดขาดเมื่อบรรลุเป็นพระโสดาบัน ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุำกๆ ท่านครับ...
ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ว่า ในอนาคตกาล พระธรรมทีพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
แสดงไว้ จะค่อยๆ ลบเลือนไป เพราะโมฆบุรุษไม่ศึกษาธรรมละเอียด มุ่งแต่ลาภ
สักการะ ไม่เอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแสดง เอาแต่คำเป็นกลอน เป็นโคลง
ที่ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้ามาแสดง ถ้าจะรักษาพระธรรมก็ต้องเ่ริ่มที่ตัวเอง คือ
ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจก่อนค่ะ