ฟังข่าว
ข่าวมาจากไหน? ขณะ เห็นก็มีเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะได้ยิน ก็มีเพียง เสียงปรากฏ ... ..ไม่มีเรื่องราว ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนใดๆ ยังไม่เป็นข่าว แต่ขณะที่ เห็นแล้วคิด ได้ยินแล้วคิด ... ก็มีข่าวแล้ว ทุกขณะที่คิด ทุกเรื่องราวเป็นข่าวแล้วก็ไม่รู้ ไม่รู้แม้ติดข้องข่าว ฟังข่าวอยู่ทุกวัน หลังเห็น ได้ยิน แล้วสัญญาก็จำในสิ่งต่างๆ เป็น สัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ ของสิ่งที่ปรากฏทางตา แท้จริงเห็น ได้ยิน ... ไม่มีเรื่องราว แต่ ข่าวมาจากไหน ... มาจากแต่ละขณะจิต และเจตสิกที่เกิดดับสืบต่อหลังเห็นแล้วก็คิดถึง เรื่องราวต่างๆ ของสิ่งที่เห็นเป็นเรื่องราวต่างๆ เมื่อตื่นขึ้นมาถึงเวลาต้องคิดในแต่ละวัน จึงมีข่าวมากมาย ถ้ามีความเข้าใจธรรมจริงๆ ขณะหลับสนิทอยู่ไม่มีอะไรปรากฏเลย
มี บ้างไหม ที่ตื่นขึ้นมามีข่าวของพระธรรม คิดถึงพระธรรม ซึ่งเป็นข่าวที่หาฟังได้ยาก เป็นคำที่พูดถึงความจริง เป็นวาจาสัจจะ น้อยคนที่จะได้ฟังต้องเป็นผู้มีศรัทธา เห็น ประโยชน์ของความเข้าใจถูกเห็นถูกเท่านั้นที่จะฟัง ข่าวอื่นได้ฟังอยู่เกือบตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดแต่อกุศล แต่ข่าวที่เป็นวาจาสัจจะ วาจาคือคำ ผู้แสดงคือพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า วาจาที่ตรัสออกจากพระโอษฐ์ เป็นคำจริงเป็นวาจาที่เป็นประโยชน์ วาจาที่ไม่ทำให้เดือดร้อน เป็นข่าวที่ทำให้เกิดปัญญา ในชีวิตประจำวันได้ข่าวมากมายด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจ ได้ข่าวแล้วก็ติดข้อง แต่ เมื่อได้ฟังข่าวจากพระธรรมราชา ข่าวที่เป็นเป็นวาจาสัจจะเป็นความจริง ...
คืนนี้จะฟัง ข่าวไหน?
ขออนุโมทนาค่ะ ...
อานิสงส์การฟังข่าวจากพระธรรมราชา
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ ประการ [ธัมมัสสวนสูตร]
โสตานุคตสูตร .. อานิสงส์การฟังธรรม
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...
.... มีบ้างไหม ที่ตื่นขึ้นมามีข่าวของพระธรรม คิดถึงพระธรรม ซึ่งเป็นข่าวที่หาฟังได้ยาก..
ขอขอบพระคุณสำหรับข้อเตือนใจ ขออนุโมทนาค่ะ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่เมตตา ด้วยครับ
ขออนุญาตเรียนสอบถามเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมครับ
"ข่าว คือ สมมติบัญญัติ" ใช่หรือไม่ครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
เรียนความเห็นที่ 9 ครับ
ธรรมมีความละเอียดครับ แม้แต่เมื่อพูด แม้แต่คำว่า ข่าว ถ้าเรากล่าวว่า ได้ยินข่าว หากรู้ เรื่องว่าเป็นเรื่องอะไรแล้ว เป็นข่าวอะไร นั่นแสดงว่าขณะนั้นเป็นเรื่องราวที่เกิดจากการ คิดนึก เป็นสมมติบัญญัติครับ เพราะรู้เรื่องแล้วว่าเป็นข่าวอะไร เรื่องอะไร จากสิ่งที่ ได้ยิน ดังนั้นในชีวิตประจำวันก็มีข่าวมากมาย เพราะคิดนึกเป็นเรื่องราวต่างๆ จากการ เห็น ได้ยิน นับไม่ถ้วน แต่ความคิดนึกท ี่เป็นเรื่องราวต่างๆ นั้นจะเป็นข่าวที่ดี คือ เรื่อง ราวที่คิดนึก ได้ฟังและคิดนึกเรื่อราวนั้นเกิดกุศลจิต เพราะข่าวคือบัญญัติ ที่เป็นอารมณ์ ของจิตที่เป็นกุศล หรือ อกุศลก็ไ้ด้ครับ ข่าวใด เรื่องราวใดที่คิดนึกแล้วเกิดกุศล เกิด ปัญญา ข่าวนั้นก็ประเสริฐ แต่ข่าวใดที่คิดนึกเป็นเรื่อราวนั้น แต่จิตเป็นอกุศล เพิ่มความ ไม่รู้และกิเลส ข่าวนั้นก็ไม่เป็นข่าวที่ประเสริฐครับ
ดังนั้นข่าวมีได้เพราะอาศัยการเห็น การได้ยิน และรู้่ว่าเป็นข่าวอะไร เรื่องราวอะไร ข่าวจึงเป็นเรื่องราวทีเ่กิดจากการคิดนึก ข่าวจึงเป็นสมมติบัญญัติ โดยนัยนี้ครับ กระผมขอนำเรื่องข่าว ในพระไตรปิฎก มาให้ อ่านกันครับ ซึ่งตอนหลังพระเจ้ามหากัปปินะ ได้ฟังข่าวนี้แล้วได้ ก็ออกบวชทันทีสละ ราชสมบัติทั้งหมด และฟังพระธรรมก็คือข่าวที่ดีอีกเช่นกัน บรรลุเป็นพะรอรหันต์ครับ
ขออนุโมทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ -หน้าที่ 304
เรื่อง พระเจ้ามหากัปปินะ
พระราชาให้สืบข่าวพระรัตนตรัย
พระราชาให้ม้าใช้เหล่านั้น บริโภคแต่เช้าตรู่แล้ว ทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า "พวกท่านไปเถิด, เที่ยวไป ๒ หรือ ๓ โยชน์แล้วทราบว่าพระพุทธ พระธรรม หรือ พระสงฆ์อุบัติแล้ว จงนำข่าวที่ให้เกิดสุขมาแก่เรา." ม้าใช้เหล่านั้น ออกโดยประตู ทั้ง ๔ เที่ยวไปได้ ๒-๓ โยชน์ไม่ได้ข่าวแล้วก็กลับ.
พระราชาได้ข่าวพระรัตนตรัยจากพ่อค้าม้า
ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาทรงม้าชื่อสุปัตตะ อันอำมาตย์พันหนึ่งแวดล้อม เสด็จไป พระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นพวกพ่อค้าประมาณ๕๐๐ ผู้มีร่างกายอ่อนเพลีย กำลังเข้าสู่พระนคร แล้วทรงดำริว่า "ชนเหล่านี้ลำบากในการเดินทางไกล. เราจักได้ ฟังข่าวดีอย่างหนึ่งจากสำนักแห่งชนเหล่านี้เป็นแน่ " จึงรับสั่งให้เรียกพ่อค้าเหล่านั้น มาแล้วตรัสถามว่า"ท่านทั้งหลายมาจากเมืองไหน?"
พ่อค้า. พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์มาจากนครชื่อสาวัตถีซึ่งมีอยู่ในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์ แต่พระนครนี้.
พระราชา. ก็ข่าวอะไรๆ อุบัติขึ้นในประเทศของพวกท่านมีอยู่หรือ?
พ่อค้า. พระเจ้าข้า ข่าวอะไรๆ อย่างอื่นไม่มี, แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง อุบัติขึ้นแล้ว.
พระราชามีพระสรีระอันปีติมีวรรณะ ๕ ถูกต้องแล้ว ในทันใดนั้นนั่นเอง ไม่อาจ เพื่อจะกำหนดอะไรๆ ได้ ทรงยับยั้งอยู่ครู่หนึ่งแล้วตรัสถามว่า "พวกท่านกล่าวอะไร? พ่อ. " พวกพ่อค้ากราบทูลว่า" พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว." แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓พระราชาก็ทรงยับยั้งอยู่เหมือนอย่างนั้น,ในวาระที่ ๔ ตรัสถามว่า พวก ท่านกล่าวอะไร? พ่อ" เมื่อพ่อค้าเหล่านั้น กราบทูลว่า "พระเจ้าข้าพระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นแล้ว." จึงตรัสว่า "พ่อทั้งหลาย เราให้ทรัพย์แก่พวกท่านแสนหนึ่ง " แล้วตรัสถามว่า "ข่าวอะไรๆ แม้อื่นอีก มีอยู่หรือ? พ่อ." พวกพ่อค้ากราบทูลว่า " มีอยู่ พระเจ้าข้า, พระธรรมอุบัติขึ้นแล้ว." พระราชาทรงสดับแม้คำนั้นแล้ว ทรงยับ ยังอยู่ตลอด ๓วาระโดยนัยก่อนนั่นแล. ในวาระที่ ๔ เมื่อพวกพ่อค้ากราบทูลบทว่า " ธมฺโม " จึงตรัสว่า "แม้ในเพราะบทนี้ เราให้ทรัพย์แก่พวกท่านแสนหนึ่ง " แล้ว ตรัสถามว่า " ข่าวแม้อื่นอีก มีอยู่หรือ? พ่อ." พวกพ่อค้ากราบทูลว่า " พระเจ้าข้า มีอยู่, พระสังฆรัตนะอุบัติขึ้นแล้ว."พระราชาทรงสดับแม้คำนั้นแล้วทรงยับยั้งอยู่ตลอด ๓ วาระอย่างนั้นเหมือนกัน, ในวาระที่ ๔ เมื่อพวกพ่อค้ากราบทูลบทว่า " สงฺโฆ " จึงตรัสว่า" แม้ในเพราะบทนี้ เราให้ทรัพย์แก่พวกท่านแสนหนึ่ง "
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461
[๓๗๐] ๑๒๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.
[๓๗๑] ๑๒๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.
จากพระสูตรที่อาจารย์ผเดิมยกขึ้นอธิบายนั้น
แสดงให้เห็นว่า ข่าวหรือการโฆษณา (เนื่องจากท่านมิได้กล่าวว่าโฆษณาแบบใด) อาจ เป็นได้ทั้งดีและไม่ดี อย่างไรก็ตาม หากไม่โยนิโสมนสิการแล้ว ย่อมนำไปสู่มิจฉาทิฎฐิ แม้จะเป็นข่าวดีเพียงใดก็ตาม เช่น ได้ยศ ได้ตำแหน่ง เลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือน แต่นำมา ซึ่งความติดข้อง
ในทางตรงกันข้าม หากเป็นข่าวร้าย แต่โยนิโสมนสิการ ก็เป็นสัมมาทิฎฐิ เช่น นำ้ท่วมทรัพย์สินเสียหาย แต่ปล่อยวางความยึดถือได้ แต่ถ้าเป็นพระธรรมแล้วย่อมเป็นข่าวดีที่นำมาซึ่งการโยนิโสมนสิการ ซึ่งเมื่อมีความมั่นคงในความเข้าใจพระธรรมแล้ว ย่อมมีโยนิโสมนสิการด้วยเสมอ ไม่ว่าจะพบข่าวดีหรือข่าวไม่ดี ก็ไม่ทำให้อกุศลจิตกำเริบขึ้นได้ ทำได้ผมได้แง่คิดดีๆ เพิ่มเติมยิ่งขึ้น
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมมากครับ
เรียนความคิดเห็นที่ 11 เพิ่มเติมครับ
คำว่าโฆษณา หากเป็นปัจจัยให้เกิดความเห็นถูก การได้ยินคำโฆษณา คำโฆษณานั้น หมายถึง พระธรรมที่พระพุทธเจ้าหรือใครก็ตามที่แสดงสัจะ ความจริง เพราะการได้ยิน พระธรรมที่ถูกต้องเป็นปัจจัยภายนอกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดความเห็นถูก ส่วนคำโฆษณาที่จะทำให้เกิดความเห็นผิด คือ การได้ยินอสัทธรรม คือ ธรรมที่ไม่ถูก ต้องจากผู้อื่นที่มีความเห็นผิดแสดงให้ฟังนั่นเองครับ เป็นปัจจัยประการหนึ่ง แต่ปัจจัย ที่ทำให้เกิดความเห็นผิดและเห็นถูกนั้น ไม่ใช่ปัจจัยประการเดียวคือการได้ยินจากผู้อื่น เท่านั้น ขึ้อยู่กับการสะสมมาทีเ่ป็นเหตุภายใน คือ โยนิโส หรือ อโยนิโสด้วยครับ
คนเราทุกข์เพราะรู้เรื่องนั่นแหละ แต่ถ้ารู้ทันก็ไม่ทุกข์ ขณะที่ พูด ก็รู้ ขณะที่เห็นก็รู้ ขณะที่ฟังก็รู้ ขณะที่สัมผัสก็ รู้ ขณะที่กำลังคิด ก็รู้ เมื่อรู้แล้วก็ไม่มีเรา เมื่อไม่มีเรา แล้วใครมันจะทุกข์ล่ะ
แต่ระวังอย่าไปจงใจรู้ หรือดักรู้แล้วกัน ถ้าจงใจ มันก็เป็นเรารู้เหมือนเดิม
ขออนุโมทนาข่าว คือ เรื่องราวของจิต เจตสิก และรูป เพราะสิ่งที่มีจริงๆ ๆ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน เท่านั้น ถ้าจิตไม่คิด เรื่องราวต่างๆ ๆ ก็ไม่มี ที่มีข่าวของบุคคลต่างๆ แท้จริงเป็น
เรื่องราวของจิต เจตสิก และรูป อกุศลกรรมก็มี กุศลกรรมก็มี อกุศลวิบากก็มี กุศลวิบากก็มี แม้แต่เรื่องราวของรูปปรมัตถ์ก็มี เพราะทั้งหมดเป็นธรรมะ ดังนั้น ถ้าไม่มีปรมัตถ์ บัญญัติมีไม่ได้ ขณะนี้กำลังอ่านข่าวอยู่หรือเปล่า?
ข่าวคือเรื่องราวที่เกิดจากการคิด ... คิดถึงธรรมะหรือคิดถึงเรื่องราวแล้วเกิดอกุศลอย่างไหนเป็นข่าวที่มีประโยชน์ พระธรรมเป็นวาจาสัจจะ ที่ทำให้ผู้ที่ฟังเกิดปัญญาได้
ตามลำดับถึงดับกิเลสเป็นสมุทเฉท วาจาที่เป็นสัจจะ แม้ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี อนุภาพที่ทำให้รอดพ้นภัยได้ ที่เรียกว่าการทำสัจจกิริยา (วาจาเครื่องกล่าวในการกระทำ สัจจะ) ข่าวน่าจะเป็นได้ทั้งสมมติบัญญัติและสมมติสัจจะ ...
เชิญคลิกอ่าน..
ขออนุญาตเรียนสอบถามอาจารย์กุลวิไลเพิ่มเติมสักนิดว่า
สรุปว่า ข่าว ไม่มีจริง ใช่ไหมครับ ส่วนเรื่องราวของรูปปรมัตถ์ มีความหมายอย่างไรครับ เพราะรูปไม่อาจรับรู้อะไรได้
ขออนุญาตช่วยขยายความเพิ่มเติมยิ่งขึ้นด้วยครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ต้องมีความมั่นคง สิ่งที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน เท่านั้น ที่เรียกว่าคนหรือ สัตว์ ก็เพราะต้องมีปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก และรูป ถ้ามีแต่รูป อะไรๆ ๆ ก็ไม่ปรากฎ แต่เพราะมีสภาพรู้ที่เป็นจิตและเจตสิก เป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ ไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่มี เฉพาะทางปัญจทวาร มีทางมโนทวารเกิดดับสืบต่อหลายวาระ จิตที่เกิดขึ้นทางปัญจ ทวาร เช่น ทางตา ยังไม่เป็นข่าวเพราะมีรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ แต่ทางมโนทวารวาระ หลังๆ ๆ ถึงจะเป็นข่าว ข่าวมีได้อย่างไร? มีได้เพราะคิด ดั้งนั้นเห็นจึงไม่ไช่คิด แม้ขณะ ที่กำลังอ่านข้อความที่ปรากฎทางตา แท้จริงต้องมีรูปปรมัตถ์ (สี) ที่ปรากฎได้ทางตาเท่า นั้น เพียงปรากฎได้ทางตา
แต่เพราะมีนิมิตรของรูปที่เกิดดับสืบต่อ มีรูปร่าง มีสันฐาน มีสัญญาจำคำจึงรู้ความหมาย มีเรื่องราวต่างๆ ๆ ตามสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่ง แล้วแต่จิต ขณะที่อ่านเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต