คนพาล

 
Pigmy
วันที่  6 ก.ย. 2554
หมายเลข  19656
อ่าน  1,569

ผมฟังธรรมที่สนทนากันเรื่องการไม่คบคนพาล ก็เกิดสงสัยขึ้นมาครับว่า ในเมื่ออาการลักษณะของคนพาล น่าจะมีในปุถุชนแทบทุกคน เพียงแต่สลับไปกับกุศลกรรมเป็นบางครั้ง แล้วแต่การสะสม ทีนี้เราจะตัดสินหรือตราหน้าใครได้อย่างไรครับว่าคนๆ นี้คือคนพาล เพราะเท่าที่เห็น แม้แต่ผู้ที่ชักชวนเราให้ไปในทางกุศลเสมอๆ ก็มีหลายขณะที่เป็นคนพาลได้เช่นกัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 6 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย การแสดงธรรมมีหลายนัยครับ แม้แต่เรื่อง การเป็นคนพาล ในความเป็นจริง สัตว์

บุคคลไม่มี มีแต่สภาพธรรม คือ จิต เจตสิกและรูปที่เกิดขึ้นและดับไป ประชุมรวมกัน

และบัญญัติว่าเป็นสัตว์ บุคคล เป็นคนนั้น เป็นคนนี้ ดังนั้นจึงมีจิตที่เป็นกุศล อกุศล

วิบากและกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเป็นปุถุชน

จิตก็ย่อมไหลไปในอำนาจของกิเลส จึงเป็นจิตที่เป็นอกุศลเป็นส่วนมากครับ

ซึ่งความเป็นคนพาลในพระไตรปิฎกอธิบายไว้ครับว่า คนพาล คือ บุคคลที่ทำบาป

กรรม คือ อกุศลกรรม ที่ถึงกับการล่วงศีล มี ปาณาติบาต เป็นต้น เนืองๆ บ่อยๆ นี่คือ

ลักษณะของคนพาล ลักษณะของคนพาลตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอีกนัยหนึ่งคือ มี

ชีวิตอยู่สักว่าเพียงแค่หายใจ คือ ไม่ได้รู้ประโยชน์โลกนี้ ไมได้ทำความดีในโลกนี้และ

ไม่ทำประโยชน์และไม่รู้ประโยชน์ในโลกหน้า สะสมความดีเลย แต่มักทำอกุศลกรรม ทำ

ความไม่ดี เป็นปกติครับ และลักษณะของคนพาลอีกประการหนึ่งคือ เป็นผู้มีความเห็น

ผิด คิดผิด พูดผิด เป็นต้น ซึ่งจากที่กระผมได้อธิบายลักษณะของคนพาลมาในพระ

ไตรปิฎก ก็แสดงให้เห็นว่า ขณะที่ทำบาปคือ ทำปาณาติบาต เป็นต้น ใครทำ ไม่มีใคร

ไม่มีเรา แต่จิตเกิดขึ้นเป็น อกุศลจิตแต่มีกำลังมากถึงกับล่วงศีล จิตที่เป็นอกุศลใน

ขณะนั้น จะกล่าวว่าเป็นความดี เป็นสิ่งที่ดีไม่ได้ จึงเป็นพาลในขณะนั้น ในขณะที่ทำ

อกุศลกรรม ล่วงศีล ซึ่งเราก็จะต้องเข้าใจนัยที่แสดงว่า พาลนั้นที่เป็นคนพาล ก็มีหลาย

ระดับตามกำลังของอกุศลที่เกิดขึ้นด้วยครับ

ซึ่งอันธพาล คือ คนพาลที่มืดบอดและมักทำอกุศลกรรม ล่วงศีลเป็นประจำ อันนี้

พาลแท้จริง มีกำลัง ไม่ควรคบเพราะมีกำลังถึงขนาดทำอกุศลกรรม คือ ล่วงศีลเป็น

ประจำ เป็นอันธพาล เป็นอันธปุถุชน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 6 ก.ย. 2554

แต่ปุถุชนผู้ที่มีความเข้าใจธรรม เจริญกุศลประการต่างๆ รียกว่า กัลยาณปุถุชน ปุถุชน

ผู้ดีงาม อันจะนำไปสู่การเป็นพระอริยได้ เพราะทำความดีประการต่างๆ และอบรมเจริญ

ปัญญา ต่างกับอันธปุถุชนโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ทำอกุศลกรรม มีการล่วงศีลเป็นต้น

เป็นปกติและไม่ได้อบรมความดี อบรมปัญญาเลยครับ ซึ่งกัลยาณปุถุชน ก็ต้องมีอกุศล

จิตเกิดขึ้นเป็นปกติ มากว่ากุศลจิตแน่นอน ซึ่งขณะที่อกุศลจิตเกิดขึ้นจะกล่าวว่าเป็น

ความดี คนดีไม่ได้ แต่เป็นพาลชั่วขณะนั้นและอกุศลจิตที่เกิดขึ้น ก็ไม่มีกำลังถึงขนาด

การทำอกุศลกรรมที่เป็นการล่วงศีล ดังนั้นเราจะต้องแยกระหว่างเพียงอกุศลจิตและ

การทำอกุศลกรรมว่ามีกำลังแตกต่างกันไป อกุศลจิตมีกำลังน้อยกว่าการทำอกุศลกรรม

ความเป็นพาลจึงแตกต่างกันไปนั่นเอง ครับ

ซึ่งในความเป็นจริง พระพุทธเจ้าทรงแสดงลักษณะของคนพาลไว้ว่า คือ คนที่ล่วง

ศีล ทำอกุศลกรรมเนืองๆ และคนที่มีความเห็นผิด คิดผิด พูดผิด กระทำผิด เป็นต้นนี้

คือลักษณะของคนพาลที่สามารถจะเห็นได้ รู้ได้ครับ เพราะ ฉะนั้นความเป็นคนพาล

ความเป็นปุถุชนจึงมีหลายระดับตามที่กล่าวมาครับ เพราะฉะนั้นควรคบกับผู้ที่เข้าใจ มี

ความเห็นถูกและเจริญกุศลทุกประการ แม้บุคคลนั้นยังเป็นปุถุชน แต่เป็นกัลยาณปุถุชน

แม้จะมีอกุศลจิตเกิดเป็นปกติ แต่เราไมได้คบในอกุศลของเขา แต่เราคบ ใส่ใจ ในความ

ดี ในความเข้าใจธรรมของบุคคลนั้นนั่นเองครับ

ส่วนคนพาล ที่เป็นอันธพาล อันธปุถุชน เป็นผู้มืดบอด ไม่ควรคบ เพราะมักทำ

อกุศลกรรมที่มีกำลัง คือ ล่วงศีลเป็นปกติและแนะนำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และนำมา

ซึ่งความเสื่อมครับ ดังนั้นความเป็นคนพาล จึงการแสดงหลากหลายนัยตามที่กล่าวมา

ครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลใหสรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น คนพาลเมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริง ไม่พ้นไปจากความเป็นไปของสภาพธรรมเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความเป็นไปของอกุศลธรรมประการต่างๆ จึงมีการสมมติเรียกว่าเป็นคนพาล ว่าโดยความหมายแล้ว คนพาล เป็นผู้ตัดประโยชน์ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า เป็นผู้มีชีวิตอยู่อย่างประมาท ไม่ได้สาระจากการได้เกิดเป็นมนุษย์เลย พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงว่า ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา ก็ตาม ถ้าเป็นคนพาล เมื่อกระทำกรรมอันชั่วช้าเป็นทุจริตประการต่างๆ ย่อมต้องได้รับความทุกข์เดือดร้อนประการต่างๆ ในอบายภูมิ มีนรก เป็นต้น เมื่อนั้นคนพาลย่อมเป็นผู้ประสบทุกข์อย่างยิ่งซึ่งเป็นผลของกรรมชั่วที่ตนเองได้กระทำแล้วเท่านั้นไม่มีใครทำให้เลย ตนเองกระทำให้กับตนเองแท้ๆ ดังนั้น ผู้ที่หวังความเจริญในชีวิต ปรารถนาความสุขเพื่อตน พึงไม่คบคนพาล และละเว้นจากความชั่ว โดยประการทั้งปวง พร้อมทั้งเพิ่มพูนความเข้าใจถูกเห็นถูกด้วยการฟัง การศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา และเจริญกุศลทุกประการในชีวิตประจำวัน ด้วย ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 6 ก.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sam
วันที่ 6 ก.ย. 2554

หากพิจารณาอย่างถ่องแท้ เราอยู่ในโลกของความคิดของตัวเองเท่านั้น ที่เห็นว่าผู้อื่นเป็นคนพาลนั้น ก็เป็นความคิดของเราถึงคนคนนั้น ซึ่งคิดด้วยอกุศล เป็นการคบกับอกุศล เป็นการคบคนพาลเพราะเราคิดด้วยอกุศล เช่นนี้แล้วเราเองเป็นคนพาลด้วยหรือไม่ ดังนั้น ควรพิจารณาความเป็นคนพาลของตน คือขณะที่เป็นไปในอกุศลประการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่คิดถึงบุคคลอื่น ซึ่งควรคิดถึงด้วยมิตรไมตรี แต่ไม่ควรคิดหรือคบด้วยอกุศลครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
kinder
วันที่ 6 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Pigmy
วันที่ 6 ก.ย. 2554

ขออนุโมทนาครับ ได้ความกระจ่างขึ้นมาก ที่มาของคำถามนี้ คือได้ฟังธรรมเรื่องนี้แล้วนึกไปถึงพี่ที่ศึกษาธรรมท่านหนึ่ง ท่านจะชอบบอกว่าคนนั้นคนนี้เป็นคนพาล ผมก็ดูแล้วเห็นว่า แต่ละคนก็เป็นผู้มีศรัทธาด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะหรือคลุกคลีกันมากไปทำให้ผิดใจกัน แล้วก็กล่าวหากันว่าเป็นคนพาล ทั้งๆ ที่ผมมองแล้วคนกลุ่มนี้ก็เป็นผู้ที่มีศรัทธา มีจาคะ มีศีล เลยไม่เข้าใจว่าคนพาลคืออะไรกันแน่ จนวันนี้ได้อ่านคำขยายของท่านทั้ง3ซึ่งเป็นประโยชน์มากจริงๆ ครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.ย. 2554

พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้เป็นอันดับแรก การไม่คบคนพาลเป็นมงคล เพราะคนพาลคบแล้ว

ทำให้เดือดร้อน ทำให้เสือมจากคุณธรรม ทำให้ไปอบาย และ ให้คบบัณฑิต เพราะ บัณฑิต

พาไปหาผล สูงสุดทำให้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pat_jesty
วันที่ 6 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 7 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ