เหตุผลที่ต่างกัน

 
miran
วันที่  10 ก.ย. 2554
หมายเลข  19693
อ่าน  2,448

ศรัทธา คือความเชื่อ, ปัญญา คือความรู้

ของพุทธศาสนา กับของทางวิทยาศาสตร์ เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ศรัทธาและปัญญาในพระพุทธศาสนา เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เป็นเจตสิก จะไม่เกิดกับ

สิ่งที่ไมดี่ ที่เป็นอกุศลเลยครับ

ศรัทธาในพระพุทธศาสนา คือ สภาพธรรมทีดี ที่เป็นความเชื่อในพระคุณของพระ

พุทธเจ้า เป็นต้นและนำมาซึ่งความผ่องใส ศรัทธาเจตสิกจะไม่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศล

เลย ดังนั้นความเชื่อทุกอย่างไมได้หมายความว่ามีศรัทธาครับ อย่างเช่น ความเขื่อใน

ทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์ว่า แนวคิดนี้น่าเชื่อถือเพราะพิสูจน์แล้ว จึงเชื่อ การเชื่อ

อย่างนั้นไม่ใช่ศรัทธา เพราะเป็นความคิดที่เป็นอกุศลจิต เมื่อเป็นอกุศลจิตจะมีศรัทธา

ไม่ได้เลยครับ และแม้ความเชื่อในเรื่องต่างๆ ที่เป็นความเห็นผิด ก็ไม่ใช่ศรัทธา แต่เรียก

ว่าความเชื่อได้ครับ ศรัทธาจึงเป็นความเชื่อทีเป็นไปในความเห็นถูก ที่เป็นกุศลธรรม

เชื่อในพระรัตนตรัย เชื่อในหนทางที่ถูก เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นต้นครับ

สรุปคือ ศรัทธาเป็นความเชื่อในสิ่งที่ดี เป็นกุศล แต่สิ่งทีเป็นอกุศล ใช้ว่าความเชื่อ แต่

ไม่ใช่ศรัทธาเจตสิกครับ

ปัญญาในพระพุทธศาสนาก็ต่างจากปัญญาทางโลกที่เข้าใจกัน เช่น ปัญญาในเรื่อง

ของวิทยาศาสตร์ ปัญญาในพระพุทธศาสนา คือ ความเห็นถูกตามความเป็นจริงของ

สภาพธรรมที่เป็นอย่างนั้นที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย เช่น ปัญญาที่เชื่อกรรมและผลของ

กรรม กรรมมีจริงผลของกรรมมีจริง ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นสัจจะ ปัญญาที่เป็นไปในการ

เจริญสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา เป็นต้น จะเห็นว่าปัญญาเกิดกับจิตฝ่ายดี มีกุศล

เป็นต้น ไม่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลเลยครับ และปัญญาคือความเห็นถูกตามความเป็น

จริงไม่เปลี่ยนแปลง นี่คือปัญญาในพระพุทธศาสนา ส่วนปัญญาทางโลก หรือ วิทยา

ศาตร์ตามที่เจ้าของกระทู้ถามมานั้น ก็คือ ความคิดทีเป็นเหตุผลตามตรรก ตามทฤษฎีที่

ทดลอง ก็เป็นไปตามเหตุผลนั้น แต่เรื่องราวนั้น เป็นอกุศล จะมีปัญญาไมได้ เพราะ

ปัญญาเจตสิกจะไม่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศล วิทยาศาสตร์จึงกล่าวว่า เป็นความรู้ แต่ไม่ใช่

ปัญญาในพะรพุทธศาสนาครับ และเรื่องราวที่คิดได้นั้น ที่เป็นทฤษฎีของวิทยาศาตร์ก็

สามารถลบล้าง เปลี่ยนแปลงได้เมื่อทดลองใหม่ทฤษฎีใหม่มาลบล้างได้ครับ จึงไม่ใช่

สัจจะความจริงเพราะเปลี่ยนแปลงได้นั่นเอง ปัญญาในพระพุทธศาสนากับทางโลกจึง

ต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 10 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเ้จ้าพระองค์นั้น เมื่อได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง (ซึ่งเป็นพระพุทธ-ศาสนา) ก็จะทำให้เข้าใจได้ว่า สิ่งที่พระองค์ทรงแสดงนั้น เป็นสิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการ เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น จากที่ไม่รู้ ก็จะค่อยๆ รู้ขึ้น แม้แต่ ศรัทธา กับ ปัญญา ก็เช่นเดียวกัน ต้องตั้งต้นก่อนว่า เป็นธรรมที่มีจริง เป็นธรรมฝ่ายดี ทั้งคู่ ซึ่งจะต้องเกิดร่วมกับจิตฝ่ายดี เท่านั้น ถ้าจะพิจารณาแ้ล้ว เมื่อใช้คำวว่า "เชื่อ,หรือความเชื่อ" อาจจะเป็นได้ทั้งกุศล และ อกุศล แต่ถ้าเป็นศรัทธา แล้ว เป็นธรรมฝ่ายดีเท่านั้น เป็นอกุศลไม่ได้เลย

ศรัทธาเป็นสภาพธรรมที่ผ่องใส เมื่อศรัทธาเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลาย ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ศรัทธาเป็นธรรมฝ่ายดีจะไม่เกิดร่วมกับอกุศลจิต การที่ศรัทธาจะเจริญขึ้นได้นั้น ต้องมีเหตุ คือ การคบสัตบุรุษ การฟังธรรมของสัตบุรุษ การเว้นจากบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา การคบบุคคลผู้มีศรัทธา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่พ้นจากการฟังพระธรรมเลย เพราะการฟังพระธรรมนี้เองจะนำมาซึ่งการเจริญขึ้นแห่งศรัทธา นอกจากนั้น ศรัทธา ยังหมายถึง ความเลื่อมใส ความเลื่อมใสที่เป็นศรัทธา นี้ ต้องเป็นธรรมฝ่ายดีเท่านั้นอีกเหมือนกัน เช่น เลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้าพระธรรม และ พระอริยสงฆ์ แต่ถ้าเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ดี ที่ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม เป็นต้น อย่างนี้ไม่ใช่ลักษณะของศรัทธา ถึงแม้จะใช้คำ่ว่า "เลื่อมใส" ก็ตาม การเลื่อมใสในสิ่งที่ผิด เป็นอกุศล ไม่ใช่กุศล ดังนั้น จึงไม่ใช่ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา เพราะศรัทธาจะไม่เกิดกับอกุศลจิตเลย

ส่วน ปัญญา (ปัญญาเจตสิก) เป็นสภาพธรรมที่เห็นถูก รู้ถูก เข้าใจถูก ตามความเป็นจริง ในภาษาบาลี ไม่มีคำว่าเข้าใจถูก เห็นถูก มีแต่คำว่า ปัญญา ดังนั้น การนำคำว่าปัญญามาใช้กับศาสตร์สาขาต่างๆ มีวิทยาศาสตร์ เป็นต้น จึงไม่ตรงกับสภาพธรรมที่เป็นปัญญาเจตสิกจริงๆ กล่าวคือ ไม่ใช่ปัญญาเจตสิก เป็นแต่เพียงนำคำมาใช้เท่านั้น ปัญญา (ปัญญาเจตสิก) ในพระพุทธศาสนา มีหลายขั้น มีทั้งปัญญาที่เข้าใจในเรื่องกรรมและผลของกรรม ปัญญาที่เป็นไปในการอบรมเจริญสมถภาวนา ปัญญาที่เป็นไปในการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ปัญญาในระดับที่เป็นวิปัสสนาญาณ ปัญญาที่เกิดร่วมกับมรรคจิต ปัญญาที่เกิดร่วมกับผลจิต แต่ทั้งหมดทั้งปวงนั้นต้องเริ่มที่การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาขั้นการฟังเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก ไปตามลำดับ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kinder
วันที่ 11 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
miran
วันที่ 11 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ