ศิลห้ากับการดำเนินชีวิตประจำวัน

 
oj.simon
วันที่  12 ก.ย. 2554
หมายเลข  19708
อ่าน  2,635

ผมมีข้อสงสัยเร่ืองศิลห้ากับการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนี้

1. กรณีการทำงานในหน่วยงาน ปกติการลงชื่อหลังจาก 8.30 น.เป็นการมาทำ

งานสาย แต่ในทางปฏิบัติผู้บริหารยอมให้ลงชื่อได้ไม่เกินประมาณ 8.45 น. หากในขณะ

ลงช่ือเป็นเวลา 8.40 น. แต่ผู้ลงชื่อกลับลงเวลา 8.10 น.เพ่ือให้ผู้มาที่หลังสามารถลง

ชื่อได้ตามที่ผู้บริหารกำหนดด้วยความเคยชิน กรณีนี้ผิดศิลข้อมุสาวาทาหรือไม่ อย่างไร

ครับ

2. กรณีมีการใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานในการปฏิบัติหน้าที่ บางครั้งมีการนำ

ทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น กระดาษ A4 สำหรับพิมพ์งาน

ของหน่วยงาน นำไปใช้พิมพ์เร่ืองส่วนตัว การใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งเม่ือกลับจาก

ปฏิบัติหน้าที่ประจำแล้วนำไปใช้ในการเดินทางไป-กลับระหว่างบ้านพักกับหน่วยงาน

กรณีนี้ผิดศิลข้ออทินนาทานหรือไม่ อย่างไรครับ

3. ดูหนังซีรี่ดาวน์โหลดจากเว็ป โดยในเว็ปมีการโฆษณาเหมือนดูในทีวี ผิดศิล

ข้ออทินนาทานหรือไม่ อย่างไรครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตไว้ล่วงหน้าครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย1.กรณีการทำงานในหน่วยงาน ปกติการลงชื่อหลังจาก 8.30 น.เป็นการมาทำงานสาย

แต่ในทางปฏิบัติผู้บริหารยอมให้ลงชื่อได้ไม่เกินประมาณ 8.45 น. หากในขณะลงชื่อ

เป็นเวลา 8.40 น. แต่ผู้ลงชื่อกลับลงเวลา 8.10 น.เพื่ือให้ผู้มาที่หลังสามารถลงชื่ือได้

ตามที่ผู้บริหารกำหนดด้วยความเคยชิน กรณีนี้ผิดศิลข้อมุสาวาทาหรือไม่ อย่างไรครับ

-----------------------------------------------------------------------------

กรณีนี้ ถ้าผู้ลงชื่อ มีเจตนาโกหก เพื่อช่วยเหลือผู้ร่วมงานที่มาทีหลัง ด้วยการลงเวลา

ที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง อันมีเจตนาโกหก ก็เป็นมุสาวาทครับ แต่ถ้าไม่มีเจตนาโกหก

แต่ลงเวลาผิด ก็ไม่เป็นมุสาวาทเพราะไมได้เจตนาโกหกนั่นเองครับ สำคัญที่เจตนา

เป็นสำคัญ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

2.กรณีมีการใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานในการปฏิบัติหน้าที่ บางครั้งมีการนำทรัพย์สิน

ดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น กระดาษ A4 สำหรับพิมพ์งานของหน่วย

งาน นำไปใช้พิมพ์เรื่องส่วนตัว การใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งเมื่อกลับจากปฏิบัติหน้าที่

ประจำแล้วนำไปใช้ในการ เดินทางไป-กลับระหว่างบ้านพักกับหน่วยงาน กรณีนี้ผิดศิล

ข้ออทินนาทานหรือไม่ อย่างไรครับ

--------------------------------------------------------------------------

อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. ปรปริคฺคหิตํ ของที่เจ้าของหวงแหน

๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน

๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดลัก

๔. อุปกฺกโม พยายามลัก

๕. เตน หรณํ ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ย. 2554

ตอบ ข้อ 2

ถ้าทรัพย์ขององค์กรนั้น ไม่ใช่ของส่วนตัวแน่นอน และเจ้าของหวงแหน คือ ไม่ได้

อนุญาตให้ใช้ และก็รู้ว่าเจ้าของหวงแหน หากมีเจตนาลักขโมย มีจิตคิดจะลัก และการ

ลักสำเร็จ ก็เป็นอทินนาทานครับ อย่างกรณีกระดาษ ถ้าองค์กรนั้นไมได้หวงแหนก็ใช้ได้

และถือวิสาสะ ไม่ได้เจตนาลักก็ไม่เป็นอทินนาทาน

ส่วกรณีเรื่องการใช้รถประจำตำแหน่ง ก็ควรใช้ให้เหมาะสม หากมีเจตนาที่ไม่ดี โดย

การทุจริต เป็นต้นก็เป็นอทินนาทานได้ แต่ถ้าไม่ได้มีเจตนาทุจริต ถือ วิสาสะ และคิดว่า

ทางบริษัทก็คงอนุญาตอันนี้ไม่เป็นอทินนาทานครับ เพราะไมได้มีเจตนาทุจิรตและไม่มี

เจตนาลักขโมยครับ

ที่สำคัญที่สุด หากเราใช้ขององค์กรเป็นการส่วนตัว ควรนำเงินส่วนตัวช่วยออกค่าใช้

จ่ายในภายหลังบ้างโดยการบริจาคให้กับองค์กรนั้นครับ การนำไปใช้ก็ไมได้มีเจตนา

ทุจริตด้วยและก็สะสมความเป็นผู้ตรงด้วยครับ ในการใช้ทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยเจตนา

บริสุทธิ์นั่นเองครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

3.ดูหนังซีรี่ดาวน์โหลดจากเว็ป โดยในเว็ปมีการโฆษณาเหมือนดูในทีวี ผิดศิลข้อ

อทินนาทานหรือไม่ อย่างไรครับ

--------------------------------------------------------------------------

ถ้าหนังไม่มีลิขสิทธิ์ การดาวโหลดก็ไม่เป็นไรครับ แต่ถ้ามีลิขสิทธิ์แต่ด้วยความไม่รู้ว่า

มีลิขสิทธิ์ ไม่มีเจตนาลักก็ไม่เป็นอทินนาทานครับ สำคัญที่เจตนาของผู้ใช้ ผู้ดาวโหลด

และสำคัญว่าวัตถุนั้นเจ้าของหวงแหน ห้ามดาวโหลดหรือไม่ครับ เพราะถ้าเจ้าขอหวง

แหน ห้ามดาวโหลดเพราะกระทบกับรายได้ของเขา อันนี้มีเจ้าของหวงแหนแล้วครับ

หากมีเจตนาลัก ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าห้ามดาวโหลด มีลิขสิทธิ์ อันนี้ผิด อทินนาทานครับ

สำคัญที่เจตนาด้วยและวัตถุนั้นว่ามีเจ้าของหวงแหนหรือไม่ครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
oj.simon
วันที่ 12 ก.ย. 2554

การดำเนินชีวิตของปุถุชนที่ยังต้องประกอบกิจการงานต่างๆ หากเป็นผู้ไม่ละเอียด

ในธรรมแล้ว แม้ตั้งใจจะถือศิลห้า หรือศิลแปดก็เป็นเร่ืองยากทีเดียวครับ เช่น กรณี

หน่วยงานอนุโลมให้มาสายได้ (เป็นไปตามแผนบริหารงานบุคคล) ไม่เกิน 8.45 น. ก็

ตาม แต่เมื่อต้องลงช่ือใว้ไม่เกิน 8.30 น. แล้ว แม้หน่วยงานซึ่งเป็นทางโลกถือว่าไม่ผิด

แต่ในทางธรรมถือว่าผิดศิลข้อมุสาวาท การที่จะทำใจยอมรับธรรมอย่างตรงไปตรงมา

เช่นนี้ยากนะครับ ดังนั้น หากผู้ปฏิบัติธรรมยอมรับในความละเอียดของธรรมะ กับตั้งใจ

ระมัดระวังไม่ให้เกิดอกุศลกรรมขึ้นอีก จะถือว่าเป็นการฝึกตนให้รู้สำนึก และสามารถผ่อน

หนักให้เป็นเบาได้หรือไม่ครับ

อนึ่ง ผมขอสรุปกรณีที่เป็นทรัพย์ของหน่วยงานตามความเข้าใจดังนี้ครับ หากนำ

ทรัพย์ขององค์กรไปใช้ส่วนตัว โดยถือวิสาสะและภายหลังนำของชนิดเดียวกัน อย่าง

เดียวกัน ปริมาณที่เท่ากันมาใช้คืน เช่น นำกระดาษมาคืน เติมน้ำมันคืนให้หน่วยงาน

หรือกำหนดรู้ว่าการทำงานในหน้าที่อาจมีการล่วงเกินทรัพย์สินขององค์กร โดยที่รู้หรือ

ไม่รู้ก็เป็นได้ จึงตั้งใจว่าภายหลังเม่ือมีโอกาสจะบริจาคทรัพย์คืนให้องค์กร กรณีนี้ถือว่า

ไม่ผิดใช่หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 12 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ศีล ๕ เป็นธรรมของมนุษย์ ควรอย่างยิ่งที่มนุษย์ทุกคนจะได้ศึกษาและรัษาศีล ๕ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ และเว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ซึ่งเมื่อรักษาด้วยความตั้งใจจริงแล้ว ก็จะไม่เป็นเหตุทำให้เดือดร้อนในภายหลัง เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว ความเป็นพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจา ในชีวิตประจำวัน เป็นศีล ถ้ากระทำทุจริตกรรม มีการล่วงศีล แต่ละข้อๆ ชื่อว่า เป็นผู้ผิดศีล หรือ ทุศีล

-ถ้าเป็นคนตรงได้ ย่อมเป็นการดี ตรงทุกเรื่อง แม้ว่าจะดูเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย ก็ไม่ควรที่จะมองข้่าม ถึงแม้ว่าสิ่งที่ได้กระทำลงไปจะไม่ได้เป็นไปเพื่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นก็ตาม ถ้าหากมองข้ามไปเรื่อยๆ สะสมความไม่ตรงมากขึ้น ก็อาจจะกระทำทุจริตกรรมได้ เพราะกิเลสที่มีมากๆ ก็มาจากการสะสมไปทีละเล็กทีละน้อยนี่เอง จะประมาทไม่ได้เลย ทีเดียว ถ้าจะลงเวลาตามความเป็นจริง ไม่มีความเสียหายอะไรเลย ไม่ควรที่จะแก้ปัญหา ด้วยการลงเวลาให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงตรงได้ เป็นดีที่สุด -บุคคลผู้ที่กระทำงานในหน่วยงานต่างๆ สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุด คือ การเป็นผู้รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานนั้นๆ กระทำในสิ่งที่ถูกต้องให้ดีสุด เมื่อได้รับอะไรที่ทางหน่วยงานมอบให้ เช่น รถประจำตำแหน่ง เป็นต้น ก็ควรจะใช้เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับงานเท่านั้น วัตถุสิ่งของต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราได้กระทำอย่างดีที่สุด ถูกต้องทีุ่สุดแล้ว ก็จะไม่ต้องเดือดร้อนใจในภายหลัง และไม่ต้องมีเหตุให้ได้คิดเลยว่า ทำอย่างนี้ผิดศีล หรือไม่ เพราะเป็นผู้ตรงทั้งทางกาย ทางวาจา ซึ่งมาจากจิตใจที่ดีงาม นั่นเอง - สิ่งใดที่ผิด ไม่ถูกต้อง ไม่วาจะเป็นเรื่องใดๆ ก็ตาม ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะกระทำ การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลเป็นอย่างดียิ่งซึ่งจะทำให้เป็นผู้มีความประพฤติที่ดีงาม ทำในสิ่งที่ควรทำ พูดในสิ่งที่ควรพูด และงดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น ครับ ..

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

สำหรับเรื่องการลงชื่อ ต้องเป็นผู้ตรงด้วยปัญญานั่นเองครับ ก็จะเห็นถึงความละเอียด

ของกิเลสและความไม่ตรงเมื่อปัญญาเจริญขึ้นก็จะทำให้งดเว้นการกระทำที่ไม่ดีไม่ตรง แม้แต่การลงชื่อที่ผิดเวลาตามเวลาที่มาด้วยเจตนาที่กล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงครับ ดังนั้นปัญญาเท่านั้นครับ ที่เกิดจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมจะทำให้งดเว้นจากการกระทำที่ไม่ดีประการต่างๆ ครับ

ส่วนกรณีเรื่องการนำสิ่งของหรือรถประจำตำแหน่งไปใช้ส่วนตัว ถ้าไม่ไ้ด้มีเจตนาทุจริตและมีการที่จะนำทรัพย์สินมาบริจาค ใช้คืนกับองค์กรภายหลังที่เท่ากันหรือมากกว่า ขณะนั้นก็ไม่ไ่ด้มีเจตนาทุจริตแล้ว ก็ไม่เป็นอทินนาทานแน่นอนครับไม่ผิด

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
oj.simon
วันที่ 12 ก.ย. 2554

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์ทั้งสองท่านมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 12 ก.ย. 2554

ทุกขณะถ้าไม่ได้เป็นไปในการให้ทาน การรักษาศีลการฟังธรรม ขณะนั้นเป็นอกุศลจิต

การศึกษาพระธรรมจะช่วยให้เรามีปัญญามีความเห็นถูก ทำให้เราดำเนินชีวิตในทาง

ที่ดีและไม่ประมาทค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 12 ก.ย. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
oj.simon
วันที่ 12 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 7

เน่ืองด้วยการกระทำตามกระทู้นี้มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. ขณะที่ตั้งใจรักษาศิลห้าหรือศิลแปดอยู่นั้น

2. มีการลงช่ือไม่ตรงตามความจริงด้วยความเคยชิน โดยผู้ลงช่ือก็ไม่ทราบแน่ชัด

ว่าการลงช่ือดังกล่าวจะเป็นบาป

3. เน่ืองจากการลงช่ือไม่ตรงตามความจริงเป็นการอนุโลมให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่

โดยเป็นไปตามคำสั่งของผู้บริหารทุกประการ

4. มีการรู้สำนึกขึ้นมาเองว่าแม้ในทางโลกจะอนุโลมให้ถือว่าการ กระทำนี้เป็นการ

ปฏิบัติที่ถูกต้องตรงตามคำสั่งแล้วก็ตาม แต่ก็อดกังวลไม่ได้ว่าอาจจะผิดศิลข้อ 4 ด้วยก็

ได้ดังนั้น ประเด็นในเร่ืองนี้คือ

ก. ขณะที่ตั้งใจรักษาศิลอยู่นี้เป็นกุศลจิตหรือไม่

ข. ขณะตั้งใจรักษาศิลอยู่นั้นได้มีการเผลอกระทำผิดลงไป โดยที่ผู้นั้นรู้เท่าไม่ถึง

การณ์เพราะคิดว่าตนได้ถือปฏิบัติตามคำสั่งทุกประการนี้มีผลบาปมากน้อยเพียงใด

ค. กรณีนีมีผลในศิลห้าและศิลแปดแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไรครับ

ง. เม่ือสำนึกได้โดยมีหริโอตัปปะว่าการลงช่ือไม่ตรงกับความจริงนี้อาจเป็นบาป

จึงได้พยายามที่จะระมัดระวังตนให้ปฏิบัติตรงต่อไปในภายหน้านี้จะถือว่าเป็นการฝึกตน

หรือไม่ การสำนึกได้นี้ถือว่าเป็นกุศลจิตหรือไม่ อย่างไรครับ

จ. สืบเน่ืองจากข้อ ง.หากถือว่าเป็นการฝึกตนแล้วความผิดที่เกิดข้ึนนี้จะมีผลลบ

ล้างกุศลจิตทั้งหมดหรือไม่ อย่างไรครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
oj.simon
วันที่ 13 ก.ย. 2554

อนึ่ง หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจเองก็มีการทำบาปผิดศิล เช่นการใช้

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ นอกจากนี้ยังมีเร่ืองอื่นๆ อีกมาก ดังนั้นการ

ดำเนินชีวิตของปุถุชนที่ต้องประกอบกิจการงานต่างๆ หากเป็นผู้ไม่ละเอียดในธรรมแล้ว แม้

ตั้งใจถือศิลห้าหรือศิลแปดก็เป็นเร่ืองยากทีเดียวครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
kunkruwi
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ศีล 5 กับชีวิตประจำวัน เรื่องการลงเวลาปฎิบัติราชการ ที่ทำงานก็มีปัญหาเช่นกัน ครูส่วน

มากที่นี่มาทำงานราว 08.00 หรือหลังจากนี้ แต่ลงเวลา 07.20 บ้าง 07.30 บ้าง (ไม่ตรงตาม

จริง) เมื่อเราลงตามจริง ก็ถูกเพ่งเล่ง แบบว่าไม่เผื่อเวลาให้คนอื่นที่มาสาย แต่ก็ไมสนใจ

เก็บมาเป็นอารมณ์หรอก ได้แต่คิดว่า เรื่องแค่นี้ ครูยังเป็นแบบอย่างที่ดีไม่ได้ แล้วจะหวัง

จากเด็กได้อย่างไร ทุกคนชอบทำตัวเป็นแม่ปู สอนลูกปูในทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่เรื่องทำผล

งาน คศ.3 พากันดีอกดีใจที่หรอกกรรมการประเมินได้สำเร็จ คนหนอคน.......

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Chantarat
วันที่ 14 ก.ย. 2554

จากคำถามที่ถามนั้น ผมคิดว่า ท่านที่ตอบคำถามก็ได้อธิบายอย่างดียิ่งแล้ว แต่ผมมี

ความคิดเห็นส่วนตัว ดังนี้ครับ การที่เราลงเวลามาราชการทั้งไปและกลับ เป็นระเบียบ

ของทางราชการ การที่ข้าราชการจะลงเวลาผิดจากการปฏิบัติจริงไม่น่าจะเป็นการผิด

ศีลข้อใด หากพิจารณาว่า ผู้นั้นเพียงแต่ต้องการทำให้ถูกต้องตามระเบียบของทางราช

การ และ หากข้าราชการที่ลงเวลาผิดจากข้อเท็จจริง แต่ได้ตั้งใจปฏิบัติงานด้วยความ

ขยัน และสละ ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ก็น่าจะเป็นประโยชน์ และ ถือว่า เป็นบุญ แต่

ถ้าลงเวลาผิดแล้ว หนี ไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน ก็น่าจะผิดทั้งทางโลก คือ ราชการ และ ทาง

ธรรม คือ ประพฤติหลอกลวง และ เบียดบังเวลาราชการ ส่วนข้ออื่น เห็นด้วยทุกประการ

ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
paderm
วันที่ 14 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 12 ครับ

สัจจะความจริงไม่เปลี่ยนแปลง หากเมีเจตนากล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เจตนา

โกหก ไม่ว่าด้วยกรณีใด เหตุผลใด แต่มีเจตนาโกหกแล้วก็ต้องเป็นมุสาวาท ส่วนการตั้งใจ

ทำงาน เป็นคนละขณะจิตกับการลงเวลาที่เจตนาโกหกครับ ดังนั้นจึงไม่สามารถนำความ

ตั้งใจทำงาน มาปนกับขณะที่เมีเจตนาโกหก ไม่ตรงได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
oj.simon
วันที่ 15 ก.ย. 2554

เรียน ความเห็นที่ 11

มันเป็นเช่นนั้นเองครับ!

ในเร่ืองนี้มีประเด็นอยู่ว่าการอยู่ในสังกัดราชการรัฐวิสาหกิจมีโอกาสทำบาปผิดศิล

โดยไม่รู้ตัวได้เสมอ สำหรับข้อความในกระทู้ของท่าน ผมเห็นว่าเป็๋นการกระทำโดย

เจตนา โดยรู้สำนึกและประสงค์ต่อผลในการกระทำนั้น แต่หากยังมีอีกหลายเร่ืองเม่ือไม่

ใช้ความละเอียดระมัดระวังแล้ว ก็อาจไม่สามารถทราบได้ว่าตนได้กระทำความผิดลงไป

แล้ว เช่น หน่วยงานมีคำสั่งให้เดินทางไปร่วมประชุม มีกำหนดเวลา 2 วัน ทั้งนี้ เพ่ือเบิก

ค่าเบี้ยเลี้ยงที่พักมาใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือการเลี้ยงส่งผู้กระเษียณงาน หรือ

เลี้ยงผู้ปรับระดับโยกย้ายงาน มีการประชุมจริงด้วย​แต่ก็อาศัยโอกาสเจียดเงินเบี้ยเลี้ยงที่

พักมาใช้ในงานเลี้ยง โดยที่ไม่ต้องค้างแรมจริงก็ได้ กรณีนี้ผมยังไม่แน่ใจว่าเป็นความผิด

บาปหรือไม่ เม่ือมาอ่านข้อความของอาจารย์ทุกท่านแล้ว ก็น่าจะเป็นผู้ที่ไม่ตรง สะสม

กิเลส ก็มีแต่เพียงต้องใช้หิริโอตัปปะเตือนตนให้สำนึกผิดเพ่ือให้ในขณะจิตที่สำนึกนั้น

เกิดเป็นกุศลจิตขึ้นมาเพ่ือเยียวยาได้้บางกระมังครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 15 ก.ย. 2554

แก้ไขคนอื่น..แก้ระเบียบ แก้วัฒนธรรมขององค์กรคงแก้ไม่ได้..เป็นไปได้คือแก้ตนเองเช่นควรมาแต่เช้าลงเวลาตามความเป็นจริงเช่นการทำงานรอบ08.30มาถึงที่ทำงาน07.00

สามารถลงเวลาตามความเป็นจริงไม่กระทบกระเทือนใคร..มาแล้วทำงานตามความรับผิด

ชอบดีกว่ามาทำงานตามตารางแต่ไม่ทำงานอกุศลคนอื่นคงแก้ให้เขาไม่ได้นอกจากแก้

อกุศลของตัวเองคะ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 15 ก.ย. 2554

* * * ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น * * *

การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลเป็นอย่างดียิ่งซึ่งจะทำให้เป็นผู้มีความประพฤติที่ดีงาม ทำในสิ่งที่ควรทำ พูดในสิ่งที่ควรพูด และงดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น

คำตรัสสอนแห่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น * * *

เป็นหนึ่ง ไม่เป็นสอง

ไพเราะทั้งสามกาล เป็นต้นในลักษณะพิเศษ

ดังนั้น อรรถต่างๆ ที่พระอรหันต์แสดงลงในพระไตรปิฎกนั้น ชัดเจน

เช่น กุศล-อกุศล สมาธิ-มิจฉาสมาธิ และีอีกหลายอรรถไม่มีเอื้อหรือกึ่งในความหมาย

นัยที่ิกล่าวถึงธรรมตรงกันข้ามนั้นๆ ซึ่งต้องแบ่งชัด ซึ่งหมายรวมสภาพธรรมที่เกิดก็เ่ช่น

กัน

* * * กราบอาจารย์ทุกท่าน และ อนุโมทนากุศลจิตทุกท่าน * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
oj.simon
วันที่ 15 ก.ย. 2554

เรียน ทุกๆ ท่านโดยเฉพาะความเห็นที่ 15

มีครับผู้ที่มาทำงานตั้งแต่ 7.00 น.ในหน่วยงาน มาแล้วก็เริ่มเปิดคอมพิวเตอร์ที่ใช้

ซอฟแวร์เถ่ือนของหน่วยงานซึ่งมีไว้ให้ใช้เป็นประจำทุกวัน แต่ก็มีบางคนที่ไม่อยากใช้ซอ

ฟแวร์เถ่ือนนี้ ได้ลงทุนซ้ือคอมพิวเตอร์ยี่ห้อที่มีรูปผลไม้ตรงด้านขวาถูกกัดแหว่งไป มูล

ค่าเคร่ืองละเฉียดแสน เพ่ือหวังจะหลีกเลี่ยงซอฟแวร์เถ่ือน แต่อนิจจาเพ่ือนบอกว่าเคร่ือ

งของคุณฝากห้ิวมาจากเมืองนอก คุณหนีภาษี หากคุณเป็นพระสงฆ์ต้องอาบัติปราชิก ซ้ำ

ร้ายระบบไม่สามารถเข้ากับซอฟแวร์เถ่ือนของที่ทำงานได้ จำเป็นต้องนำเคร่ืองของตนไป

ลงโปรแกรมเถ่ือนเพ่ือให้เป็นของเถ่ือนที่เข้ากับของเถ่ือนได้ น่าเศร้านะครับเร่ืองนี้

ข้อเสนอแนะ บุคคลผู้ตกในภาวะเช่นนี้คงต้องใช้หิริโอตัปปะอย่างยิ่ง โดยทำบุญให้

มากๆ เพ่ือจะได้หนีบาปให้พ้นครับ

ผมเห็นด้วยกับความเห็นของอาจารย์ทุกท่าน และความเห็นที่ 16 ทุกประการครับ

อนึ่ง มีคนเคยกล่าวไว้ว่าคอมพิวเตอร์คือบริวารหรือลูกน้องคนสำคัญของซาตานครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ