น้องใหม่ขอให้ท่านผู้รู้ตรวจสอบความเข้าใจจากการฟังธรรม

 
nucharat
วันที่  13 ก.ย. 2554
หมายเลข  19718
อ่าน  1,135

ได้ฟังบรรยายของท่านอาจารย์ผ่านทางinternetมาระยะหนึ่งค่ะ คิดว่าควรรวบรวมความ

เข้าใจที่ได้และส่งมาให้ท่านวิทยากรหรือท่านผู้รู้ช่วยตรวจสอบ เพื่อประโยชน์ในการ

ศึกษาต่อไป เริ่มจากธรรมะคือสิ่งที่มีอยู่จริง เป็นจริงไม่ว่าจะมีชื่อหรือไม่ก็ตาม เช่นการ

มองเห็น ได้ยิน ความรัก ความโกรธ ไม่ว่าเกิดกับใครก็มีลักษณะเดียวกัน ธรรมะ

มี2ลักษณะคือรูป และนาม รูปไม่รับรู้อารมณ์ นามรับรู้อารมณ์ นามยังแบ่งออกเป็นจิต

เจตสิก นอกจากนี้ยังมีปรมัตธรรมอีกหนึ่งคือนิพพาน จิตเจตสิกเป็นตัวขับเคลื่อนรูป

บังคับบัญชารูป รูปจิตเจตสิกเกิดขึ้นและดับตามเหตุปัจจัย จิตเกิดดับทีละ1ดวง รูปนาม

มีไตรลักษณะคือเปลี่ยนแปร บังคับไม่ได้ และบีบคั้น การศึกษาธรรมะคือการศึกษาตัว

เรา (รูปนาม) เมื่อประจักษ์ความจริง (ไตรลักษณ์) ก็จะละวางความยึดถือ เริ่มต้นด้วยการ

ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัส นำมาพิจารณา ฟังบ่อยๆ เมื่อสภาพธรรมเกิดเราจะรู้

ตัวขึ้น เช่นเวลาโกรธ หรืออยากได้ โดยช่วงแรกๆ จะรู้สภาพธรรมที่หยาบๆ ก่อน ต่อมาไม่

พอใจเล็กน้อย เผลอมองคนสวย หรือคิดฟุ้งซ่าน ก็จะรู้ตัวขึ้นมา จนถึงสภาวะบางอย่าง

ที่ไม่เคยสังเกตเช่นเวลามองแล้วเฉย ต่างกับมองแล้วชอบ การรู้ตัวนี้คือสติเล็กๆ ก็ฟัง

ธรรม เข้าใจธรรมต่อไปเรื่อยๆ สติจะโตขึ้นไวขึ้น รู้สภาพธรรมได้มากขึ้น และสามารถ

เข้าใจการเกิดดับ ไม่มีตัวตนมากขึ้น จนเมื่อสติปัถฐานเกิด ปัญญาเจริญขึ้น ขั้นต้นจะรู้

ชัดถึงความต่างของนาม รูป ความไม่มีตัวตน สติและปัญญาจะทำหน้าที่ของเขาเอง

(ยังคงฟังและศึกษาต่อไป) เมื่อปัญญาเจริญขึ้นการละวางตัวตนและสภาพธรรมก็จะลด

ลงตามลำดับ จนหมดสิ้นเมื่อเป็นพระอรหันต์ ที่พิมพ์มานี้คิดว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่ควร

ได้รับการตรวจสอบก่อน เป็นการสรุปจากความเข้าใจล้วนๆ ไม่ได้เปิดหนังสือ ขอให้

ท่านวิทยากรหรือท่านผู้รู้ช่วยตรวจสอบด้วยค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย จากที่ท่านผู้ถามได้กล่าวมานั้น มีความเข้าใจถูกต้องเป็นอย่างดีครับ ไม่ว่าจะเป็น

ประเด็นที่ว่า ธรรมคือสิ่งที่มีอยู่จริง ไม่ว่าจะมีชื่อหรือไม่มีชื่อก็ตาม ถูกต้องครับ ธรรมคือ

สิ่งที่มีอยู่จริง เพราะมีลักษณะ เมื่อมีลักษณะจึงมีอยู่จริง แม้จะเรียกชื่อหรือไม่เรียกชื่อก็มี

ลักษณะของสภาพธรรมนั้น เช่น แข็งมีลักษณะ แม้จะไม่เรียกชื่อ แต่เมื่อกระทบสัมผัส

ลักษณะของแข็งก็มีจริงเพราะมีลักษณะครับ ไม่ว่าเกิดกับใคร ผู้ถามเข้าใจถูกต้องเป็น

อย่างดี และในประเด็นสภาพธรรม ธรรมมี 2 อย่าง คือ นามธรรมและรูปธรรม นามธรรม

นามธรรม คือ จิต เจตสิกและนิพพาน จิตและเจตสิกเป็นสภาพรู้ นิพพานเป็นนามธรรม

ก็มีจริงแต่ไม่ใช่สภาพรู้ รูปธรรม คือ รูป เป็นสภพาธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย

ส่วนประเด็นที่ผู้ถามกล่าวว่า จิตเจตสิกเป็นตัวขับเคลื่อนรูป บังคับบัญชารูป อันนี้ไม่

ตรงตามความเป็นจริงครับ เพราะจิตเป็นสภาพรู้ ทำหน้าที่รู้เท่านั้น ส่วนรูปไม่ใช่สภาพรู้

ไม่รู้อะไรเลย ดังนั้นจิตจึงไม่สามารถบังคับ หรือ สั่งให้รู้เป็นไปได้เพราะรูปไม่รู้อะไร แต่

เมื่อจิตบางประเภทเกิดขึ้น รูปก็เกิดพร้อมจิตตามเหตุปัจจัยโดยไมใช่จิตไปบังคับให้รูป

เกิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ส่วนประเด็นเรื่องการเจริญสติปัฏฐานที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ปัญญาขั้นแรก

จะต้องรู้สภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่เช่เรา รู้ตัวลักษณะโดยไม่ใช่คิดนึก ที่

สำคัญที่สุดครับ คือ ไม่มีตัวตนที่จะเลือกรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่ง

แล้วแต่สติว่าจะเกิดระลึกรู้สภาพธรรมอะไร ไม่มีเลือกว่าจะรู้สภาพธรรมนี้ สภาพธรรมที่

หยาบก่อน เป็นต้น เพราะต้องเริ่มและมั่นคงว่า สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับ

บัญชาไมได้ แม้แต่สติที่จะเกิด ก็เลือกที่จะเกิดไม่ได้และเลือกที่จะรู้สภาพธรรมใด

สภาพธรรมหนึ่งก็ไม่ได้ครับ

ปัญญาขั้นต้นเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมครับ แต่การเห็นการเกิดดับ เป็นเรื่องไกล

และยากมากต้องเป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่ 4 ส่วนความเข้าใจเรื่องปัญญาจะทำหน้าที่

เอง เพียงแต่ฟังและศึกษาธรรมไปเรื่อยๆ เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องครับ และสำคัญมาก

ในการเข้าใจแบบนี้ ขออนุโมทนาที่เป็นผู้ศึกษาพระธรรมและเริ่มเข้าใจถูก เห็นถูกใน

หนทางที่ถูกต้อง ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ ฟังพระธรรมต่อไปครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nucharat
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ขอบพระคุณคุณpadermค่ะ ตอบกลับเร็วเหมือนรู้ว่าผู้ถามกำลังรออยู่ คุณpadermทำให้

ผู้ถามนึกขึ้นได้ว่าธรรมทั้งปวงบังคับไม่ได้ แต่ยังไม่สามารถตอบตัวเองได้ว่าเรื่องร่างกาย

เดิน นั่ง นอน ยกมือ อ้าปาก เป็นร่างกายเคลื่อนตามคำสั่งของสมอง จะอธิบายในแง่ธรรม

อย่างไร รบกวนคุณpadermช่วยอธิบายในประเด็นนี้ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

สมองเป็นการประชุมรวมกันของรูปธรรม ดังนั้นสมองเป็นรูปธรรม ไม่สามารถสั่งได้

เพราะรูปเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร ส่วนการเดินได้ ต้องใช้คำว่าอาศัย ไม่ใช่คำว่าสั่ง

นะครับ อาศัยจิตที่เกิดขึ้น มีจิตที่มีความต้องการที่เป็นโลภะเกิดขึ้น ทำให้รูปอื่นๆ เกิด

ขึ้นและไหวไป แต่จิตไม่ได้สั่ง แต่จิตเกิดขึ้น ทำให้รูปอื่นไหวไปตามจิตที่เกิดขึ้นครับ

จิตทำหน้าที่รู้อารมณ์เท่านั้น ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง การที่สภาพธรรมจะเกิดขึ้นจะ

ต้องอาศัยสภาพธรรมหลายๆ อย่าง จึงเกิดขึ้นได้ เช่น เมื่อจิตจะเกิดขึ้น ก็ต้องอาศัย

เจตสิกและรูปด้วยครับ อย่างเช่น จิตที่เป็นโลภะต้องการเกิดขึ้นจะเดิน ต้องมีสภาพ

ธรรม คือ รูป ที่จะต้องเป็นที่เกิดของจิต ดังนั้นเมื่อกล่าวโดยปัจจัย จิตอาศัยรูปนี้จึง

เกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นหากจะกล่าวแบบชาวโลกในเรื่องนี้ เพราะมีรูป หรือ รูปสั่งจึง

ทำให้จิตเกิด (ในความเป็นจริงไม่มีใครสั่งใคร) เพราะ จิตต้องอาศัยทีเกิด ที่เป็นหทยรูป

อันเป็นทีเกิดของจิตที่เป็นโลภะที่มีความต้องการจะเดินในขณะนั้น ดังนั้นการเดินอาศัย

รูปด้วย เห็นไหมครับ ไม่ใช่เพราะจิตสั่งให้มีการเดิน ให้เกิดรูปอื่นเท่านั้นครับ เพราะ

อาศัยรูปคือหทยรูปที่เกิดพร้อมกัน เป็นที่เกิดของจิต จึงมีการเดินเกิดขึ้น ดังนั้นเรา

กล่าวตามสัจจะว่า เพราะอาศัยสภาพธรรมหลายๆ อย่าง ทั้งจิต เจตสิกและรูปด้วยจึง

เกิดการเดินได้ ไม่ใช่เพราะจิตสั่ง หรือ จิตอย่างเดียวเท่านั้นจึงทำให้มีการเดิน หรือการ

ทำอะไรอย่างอื่นครับ ไม่ว่ายกมือ อ้าปาก ถ้าไม่มีรูป จิตก็เกิดไม่ได้ เพราะไม่มีทีเกิดของ

จิต เช่น ไม่มีหทยรูป ก็ไม่มีจิตที่เป็นโลภะต้องการอ้าปากได้เลย การอ้าปากก็ไม่เกิดขึ้น

หากไม่มีรูปครับ เพราะฉะนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพธรรมแต่ละอย่างจนเหตุ

ปัจจัยพร้อมจึงมีการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งครับ ต้องอาศัยสภาพธรรมหลายๆ อย่างครับ

ตัวอย่างอีกประการหนึ่ง แม้มีความต้องการ เกิดโลภะที่อยากจะเดิน แต่เมื่อคนนั้น

เป็นอัมพาต แม้จิตจะมีความต้องการแต่ก็ลุกขึ้นเดินไม่ได้ เพราะอะไร เพราะรูปที่ควรแก่

การงานไม่เหมาะสม ไม่เกิดนั่นเอง ดังนั้นแม้มีความต้องการที่จะเดิน แต่รูปบางอย่างไม่

เกิด ก็ไม่สามารถเดินได้ นี่แสดงให้เห็นถึง การเดินหรือทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งต้องอาศัยเหตุ

ปัจจัยหลายๆ ประการครับ ทั้งจิต เจตสิกและรูป

จิตจึงมีหน้าที่รู้อารมณ์เท่านั้น ส่วนรูปไม่รู้อะไรเลย จึงไม่สามารถรับคำสั่งได้ ในเมื่อ

ไม่รู้แต่เกิดขึ้นไหวไป เป็นการเดิน เพราะอาศัยสภาพธรรมหลายๆ อย่าง คือ จิต เจตสิก

และรูปด้วยครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ก็จะทำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้นไปตามลำดับ จากที่ไม่รู้ ก็จะค่อยๆ รู้ขึ้น ว่า ทุกขณะของชีวิต เป็นธรรม ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงตาย ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับ ล้วนมีแต่ความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมเท่านั้น แม้แต่ขณะที่หลับสนิท ก็เป็นธรรม ซึ่งเมื่อกล่าวโดยรวมอย่างกว้างๆ ธรรม มี ๒ ประเภทใหญ่ คือ นามธรรม กับ รูปธรรมนามธรรม เป็นสภาพธรรมที่น้อมไปสู่อารมณ์ คือ เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ ได้แก่ จิต และ เจตสิก (และก็ยังมีนามธรรมอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่รู้อารมณ์ คือ พระนิพพาน) ส่วนรูป นั้น เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ ไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อสะสมความเข้าใจมากขึ้น ก็จะทำให้เป็นผู้มีความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม ว่า เป็นแต่เพียงธรรม ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เท่านั้น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน และที่ำสำคัญ ที่ลืมไม่ได้เลย นั้น ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ไม่สามารถบังคับให้เห็นเกิดได้ ไม่สามารถบังคับให้ได้ยินเกิดได้ ไม่สามารถบังคับให้โลภะเกิดได้ ไม่สามารถบังคับให้โทสะเกิดได้ เป็นต้น แต่สภาพธรรมเหล่านี้ก็เกิดขึ้นเป็นไปแล้ว เมื่อเกิดแล้วก็ดับไปไม่ยั่งยืน และตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ไม่พ้นไปจากนามธรม คือ จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และ รูปธรรม (สภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์อะไรเลย) ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ ไม่สามารถบังคับ สั่ง หรือรับคำสั่งอะไรได้เลย ดังตัวอย่างที่ได้ยกมา คือ เดิน นั่ง นอน ยกมือ อ้าปาก เป็นต้น ถ้าไม่มีความต้องการเกิดขึ้นเป็นโลภะ จะเดิน นั่ง นอย ยกมือ อ้าปาก หรือไม่? กุศลจิต ที่มีโลภะเกิดร่วมด้วยเกิดขึ้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังเป็นปัจจัยให้รูปที่เกิดเกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นด้วย เพราะสมุฏฐานที่ก่อตั้งให้รูปเกิดขึ้นมี ๔ สมุฏฐาน คือ กรรม ๑ จิต ๑ อุตุ ๑ และ อาหาร ๑ เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว คือ จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น ส่วนรูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร จิตไม่สามารถสั่งรูปได้ และ รูปก็ไม่สามารถรับคำสั่งได้ เ่ช่นเดียวกัน ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เท่านั้นจริงๆ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Jans
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ขอบคุณและขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kinder
วันที่ 13 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nucharat
วันที่ 14 ก.ย. 2554

กราบขอบพระคุณคุณpadermและคุณkhampanค่ะ ได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นมากเลยค่ะ มี

ข้อสงสัยอีกนิดนึงค่ะ จิตเจตสิกที่เป็นปัจจัยให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือพูดเป็นจิตทีเกิด

และทำหน้าที่ชวนกิจ? ซึ่งจะเป็นไปตามกุศลหรืออกุศลตามที่เคยสั่งสมมา สมมติว่ารถ

ที่นาย ก.ขับอยู่ถูกนายข.ชนท้าย นาย ก.เป็นคนขี้โกรธอยู่แล้ว โทสะจิตเกิด (ชวนกิจ)

จิตเจตสิกรูปขณะนั้นเป็นปัจจัยให้เกิด นายก.เดินไปหานายข.และต่อว่าเสียงดัง (อกุศล

จิตเกิด มีโทสะ และน่าจะมีโลภะเกิดด้วยแต่เกิดทีละขณะ) ทันใดนั้นนายก.เห็นศีรษะ

นายข.มีเลือดออก เกิดความกรุณา และระลึกได้ว่ากำลังโกรธ ขณะนั้นกุศลจิตเกิด (ชวน

กิจ) นายก.หยุดต่อว่าและเอื้อมมือไปพยุงตัวนายข. (กุศลจิต เป็นปัจจัยให้รูปเคลื่อน

และเป็นไปในทางกุศล) ช่วยแนะนำด้วยค่ะ อีกข้อนะคะข้อสงสัยสุดท้ายจริงๆ ค่ะ ถ้าผู้

ถามอยู่ในอิริยานั่ง ปิดตา ตามลมหายใจ โดยก่อนนั่งอยากได้ความสงบและรู้ว่าเป็นโล

ภะ ต่อมาเมื่อรู้สึกสงบแล้ว พบว่าจิตไม่เที่ยงเดี๋ยวสงบเดี๋ยวไม่สงบ บังคับไม่ได้ ความ

เมื่อยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความรู้สึกต่างๆ เกิดขึ้นและดับไป ซึ่งรู้ชัดกว่าเวลาที่จิตไม่สงบ

หรือในชีวิตประจำวัน การนั่งหลับตาแบบนี้จะมีโทษอย่างไรหรือไม่ ขอบพระคุณอย่างสูง

อีกครั้งค่ะ ....นุชรัตน์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 14 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ จากคำถามที่ว่า

จิตเจตสิกที่เป็นปัจจัยให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือพูดเป็นจิตทีเกิดและทำ หน้าที่ชวน

กิจ? ซึ่งจะเป็นไปตามกุศลหรืออกุศลตามที่เคยสั่งสมมา สมมติว่ารถที่นาย ก.ขับอยู่ถูก

นายข.ชนท้าย นาย ก.เป็นคนขี้โกรธอยู่แล้ว โทสะจิตเกิด (ชวนกิจ) จิตเจตสิกรูปขณะ

นั้นเป็นปัจจัยให้เกิด นายก.เดินไปหานายข.และต่อว่าเสียงดัง (อกุศลจิตเกิด มีโทสะ

และน่าจะมีโลภะเกิดด้วยแต่เกิดทีละขณะ) ทันใดนั้นนายก.เห็นศีรษะนายข.มีเลือดออก

เกิดความกรุณา และระลึกได้ว่ากำลังโกรธ ขณะนั้นกุศลจิตเกิด (ชวนกิจ) นายก.หยุดต่อ

ว่าและเอื้อมมือไปพยุงตัวนายข. (กุศลจิต เป็นปัจจัยให้รูปเคลื่อนและเป็นไปในทาง

กุศล) ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

-------------------------------------------------------------------------------------

ตามที่คุณ นุชรัตน์ กล่าวถูกแล้วครับ เมื่อจิตเกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิดรูป แต่จิตไม่ได้

สั่งรูปครับ เพราะอาศัยจิต รูปจึงเกิดขึ้น และรูปอื่นๆ จากสมุฏฐานอื่นๆ เป็นปัจจัยให้เกิด

การเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นอกุศลทีเกิดโทสะและทำร้ายผู้อื่น และ กุศลเกิดขึ้นเกิด

ความกรุณา จิตที่ดีเกิดขึ้น ซึ่งก็รูปทีดี่ หรือมีความต้องการที่จะช่วยพยุงได้ เพราะอาศัย

จิต เจตสิกและรูปอื่นๆ ทีเกิดจากสมุฏฐานอื่นที่ไม่ใช่เกิดจากจิตเท่านั้นด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 14 ก.ย. 2554

อีกข้อนะคะข้อสงสัยสุดท้ายจริงๆ ค่ะ ถ้าผู้ถามอยู่ในอิริยานั่ง ปิดตา ตามลมหายใจ โดย

ก่อนนั่งอยากได้ความสงบและรู้ว่าเป็นโลภะ ต่อมาเมื่อรู้สึกสงบแล้ว พบว่าจิตไม่เที่ยง

เดี๋ยวสงบเดี๋ยวไม่สงบ บังคับไม่ได้ ความเมื่อยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความรู้สึกต่างๆ เกิด

ขึ้นและดับไป ซึ่งรู้ชัดกว่าเวลาที่จิตไม่สงบ หรือในชีวิตประจำวัน การนั่งหลับตาแบบนี้

จะมีโทษอย่างไรหรือไม่ ขอบพระคุณอย่างสูงอีกครั้งค่ะ ....นุชรัตน์

------------------------------------------------------------------------------

เริ่มจากความต้องการ เริ่มจากโลภะที่เป็นอกุศล ไม่ได้มีปัญญาที่รู้ความสงบในชีวิต

ประจำวันในขณะนี้ครับว่า ขณะนี้สงบหรือไม่ เพราะคำว่าสงบไมได้มุ่งหมายถึงความนิ่ง

แต่มุ่งหมายถึง สงบจากกิเลสที่เป็นกุศล ดังนั้นเมื่อยังไม่รู้ว่าขณะใดเป็นกุศล แม้ขณะนี้

ก็ไม่รู้ เมื่ออยากจะสงบจึงเข้าใจว่าโดยวิธีการนั่งหลับตา แม้จะนั่งหลับตาไป ก็เข้าใจสิ่ง

ที่ไม่สงบว่าสงบได้ เพราะเข้าใจว่าการนิ่ง จิตไม่ซัดส่ายไป เป็นความสงบ ครับ ก็เป็น

เรื่องของความเข้าใจผิดตั้งแต่ต้น และไม่เข้าใจว่า ความสงบจะเกิดขึ้นได้ เกิดจาก

ปัญญาไม่ใช่การนั่งหลับตา นั่งสมาธิครับ

ที่สำคัญ การเห็นเกิดดับ ไม่ใช่การนึกคิดในสภาพธรรมที่ดับไปแล้ว การเห็นการเกิด

ดับเป็นปัญญาที่สูงมาก ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณที่ 3 และ 4 ดังนั้นจะต้องเริ่มจากปัญญา

เบื้องต้นคือ เข้าใจตัวธรรมก่อนว่าเป็นธรรมใช่เราครับ การเห็นการเกิดดับจึงไม่ใช่การ

คิดพิจารณาโดยการไตร่ตรองครับ เพราะไมได้เห็นตัวธรรมทีเกิดดับจริงๆ ครับ ดังนั้น

การกระทำใดๆ ก็ตามถ้าเริ่มจากความเข้าใจไม่ถูกต้อง ก็มีโทษเพราะถูกโลภะหลอก และ

ความไม่รู้หลอกด้วยครับ ควรจะกลับมาสู่ความเข้าใจใหม่ด้วยเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรม

ไม่ใช่การนั่งหลับตา ทำสมาธิ แต่คือการฟังพระธรรมจนปัญญาเกิดขึ้นรู้ความจริงใน

ขณะนี้ เพราะธรรมไมได้มีตอนหลับตา ขาดแต่ปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ความจริงของธรรม

ที่มีในขณะนี้ ก็ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 14 ก.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wannee.s
วันที่ 14 ก.ย. 2554

ตอบความเห็นที่ 8 ค่ะ

ถ้านั่งด้วยโลภะ อยากให้จิตสงบ ก็ไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์ ฯลฯ และทีสำคัญ

อยู่ที่ความเข้าใจ ถ้าเข้าใจ ไม่ว่าจะอยู่อิริยาบถ นั่ง นอน เดิน ยืน ทุกอิริยาบถ

ก็เจริญสติปัฏฐานได้ ถ้าเจริญถูกก็เป็นหนทางนำไปสู่การพ้นทุกข์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pat_jesty
วันที่ 14 ก.ย. 2554

ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ต้องอาศัยการสะสมความเข้าใจถูกทีละเล็กทีละน้อย และปัญญาจะเจริญขึ้นตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น กล่าวคือถ้าไม่สามารถเข้าใจขั้นต้นได้ถูกต้องก็ไม่สามารถเข้าใจสภาพธรรมที่ละเอียดขึ้นได้...

หนทางที่ถูกต้องก็ยังไม่เพียงพอ ต้องอาศัยความอดทน และความเพียรในการศึกษาธรรมต่อไป เพราะธรรมเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยที่สะสมมา เกิดขึ้นเป็นไป ดังนั้นควรสะสมเหตุที่เกื้อกูลให้ปัญญาเกิดขึ้นรู้ได้ คือ การฟังธรรมให้เข้าใจยิ่งๆ ขึ้นไป เนื่องๆ ค่ะ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
nucharat
วันที่ 15 ก.ย. 2554

กราบขอบพระคุณทุกท่านสำหรับคำชี้แนะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
วิริยะ
วันที่ 15 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ