คัมภีร์วิสุทธิมรรค เนื้อหายากเกินวิสัยมนุษย์ไหมครับ

 
บ้านดอย
วันที่  14 ก.ย. 2554
หมายเลข  19726
อ่าน  11,127

ยิ่งมนุษย์ยุคสาวกภูมินี้ ซึ่งอินทรีย์ไม่ได้แก่กล้าเหมือนในพุทธภูมิ ที่มีพระพุทธเจ้าและอัครสาวกผู้แก่กล้า เป็นผู้อธิบาย ชี้แนะสอนธรรม ด้วยมีญาณหยั่งรู้นิสัย ทำให้ผู้ถูกสอนบรรลุง่าย ด้วยคำสอนไม่กี่ประโยค แล้วยุคสาวกภูมินี้ จะไหวไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นคัมภร์ที่แต่งโดย พระพุทธโฆษาจารย์ ท่านได้รจนาโดยนำอรรถ

กถานิกายในพระไตรปิฎกมาที่ฝ่ายมหาวิหารสืบทอดมาแต่ครั้งพุทธกาล มาเป็นแม่แบบ

ในการเรียบเรียง ดังนั้น ไม่ว่าบทขยาย วินิจฉัย หรือสาธก ล้วนมาจากอรรถกถาเก่าทั้ง

สิ้น ท่านไม่ได้รจนาขึ้นใหม่โดยมติความรู้ตนแต่อย่างใด วิสุทธิมรรค จึงไม่ใช่ปกรณ์วิ

เสสที่นอกเหนือจากบาลีอรรถกถาอย่างที่เข้าใจกัน

ในการรจนาคัมภีร์นี้ ท่านได้ยกพระคาถาในสังยุตตนิกายเป็นบทตั้ง หรือหัวข้อ ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 128

ชฏาสูตร

นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล

อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มี

ความเพียร มีปัญญารักษาตนรอดภิกษุ

นั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้

ท่านจึงได้รจนา แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยนำนัยในพระไตรปิฎกและอรรถกถามา

อธิบายเพื่อให้เข้าใจได้ละเอียดถูกต้องขึ้น โดยไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากพระพุทธพจน์

โดยที่แบ่งเป็นหมวด ศีล สมาธิและปัญญาครับ

เมื่อคัมภีร์วิสุทธิมรรค นำนัยจากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาอธิบาย ซึ่งเป็นพระดำรัส

ของพระพุทธเจ้า จึงไม่เหลือวิสัยที่สัตว์โลกที่สะสมปัญญามาจะอ่าน และทำความเข้าใจ

ในสิ่งที่ได้แสดงไว้ในคัมภร์วิสุทธิมรรคครับ เหตุผลก็เพราะว่า คำใดที่ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ และสัตว์โลกไม่สามารถรู้ได้ พระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงแสดงธรรมนั้น แต่พระ

ธรรมในพระไตรปิฎก สัตว์โลกสามารถเข้าใจและตรัสรู้ตามที่พระองค์แสดงไว้ พระองค์ก็

แสดงธรรมนั้น ซึ่งข้อความที่พระพุทธโฆษาจารย์ได้นำมาอธิบายทีเป็นพระพุทธพจน์

ข้างต้นที่ว่า นรชนผู้มีปัญญา..พึงถางรกชัฏนี้ได้ ก็สามารถอ่านทำความเข้าใจในพระ

ไตรปิฎก ในสูตรนี้ได้ ดังนั้น แม้คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็สามารถอ่าน ศึกษาให้เข้าใจและน้อม

ปฏิบัติตามได้ เพราะเป็นพระธรรมที่เนื่องกับพระพุทธพจน์นั่นเอง

ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์และเป็นไปเพื่ออบรมศีล สมาธิและปัญญาได้เช่นกันครับ สิ่ง

ใดที่ไม่มีประโยชน์ สัตว์โลกไม่สามารถรู้ได้ สิ่งนั้นพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกทั้ง

หลายย่อมไม่แสดงธรรมนั้นครับ

ที่สำคัญปัญญาเป็นธรรมที่เติบโตช้า เพราะสะสมอวิชชามามาก ดังนั้นจึงต้องค่อยๆ

สะสม อบรมไปทีละน้อย จากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็จะค่อยๆ เข้าใจมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นพระธรรมจากพระไตรปิฎกและจากวิสุทธิมรรคก็สามารถค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้

ด้วยความอดทน และอบรมอย่างยาวนานครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
aditap
วันที่ 14 ก.ย. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 14 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำที่กล่าวถึงก่อนว่า คือ อะไร? นั่นก็คือ คำว่า วิสุทธิมรรค, วิสุทธิมรรค หมายถึง หนทางแห่งความหมดจด หนทางที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นคัมภรี์ทางพระพุทธศาสนา ที่กล่าวถึง ศีล สมาธิ และ ปัญญา อันเป็นสิกขา (สิ่งที่จะต้องศึกษา) ๓ อย่าง และสิกขา ๓ นี้ เมื่อกล่าวให้เข้าใจชัดแล้ว ก็คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง ซึ่งเป็นพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดง ซึ่งย่อมจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลสำหรับผู้ที่มีโอกาสได้อ่านได้ศึกษาอย่างแท้จริง เพราะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก เพราะข้อความทั้งหมดที่ปรากฏในวิสุทธิมรรค นั้นหลักๆ ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ ท่านก็อ้างอิงจากพระไตรปิฎก ซึ่งผู้ศึกษาสามารถเทียบเคียงและศึกษาโดยตรงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา ได้ การศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ไม่ว่าจะเป็นส่วนใด ข้อความใด จะสั้นหรือยาว ถ้าเข้าใจถูกเห็นถูก ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์อย่างแน่นอน สำคัญอยูที่่ว่าจะศึกษาหรือไม่ เท่านั้นเอง จะศึกษาจากการอ่าน การฟัง การสนทนาการสอบถาม และพิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผลของธรรม ก็ล้วนเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา ทั้งนั้นเลย ธรรม เป็นเรื่องที่ยาก ยากมากๆ แต่ก็ไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้ที่มีศรัทธา เห็นประโยชน์ที่จะฟัง ที่จะศึกษาเพื่อความเข้าใจจริงๆ "ธรรม เป็นเรื่องยาก แต่ถ้าไม่เริ่มฟัง ไม่เริ่มศึกษา แล้วเมื่อไหร่จะเข้าใจ" "ธรรม เป็นเรื่องยาก แต่ถ้ามีศรัทธา เห็นประโยชน์ที่จะฟัง ที่จะศึกษา ไม่มีวันที่จะไม่เข้าใจ" ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 14 ก.ย. 2554

เรียนถาม

คัมภีร์วิสุทธิมรรค บรรยายเป็นภาษาอะไรคะ คัมภีร์ และ อรรถกถา เหมือนกันหรือไม่คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 14 ก.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 14 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

คัมภีร์วิสุทธิมรรค ดั้งเดิม ท่านพระพุทธโฆษาจารย์อาศัย อรรถกถา คือ คำอธิบายพระ

ไตรปิฎกโดยพระเถระรุ่นหลัง โดยอาศัยอรรถกถาที่เป็นภาษาสิงหลในขณะนั้น มาอ่าน

ศึกษาและได้แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคขึ้น เป็นภาษาบาลี คือ ภาษามคธครับ และต่อมา

เมื่อสืบทอดมาถึงประเทศไทย ก็ได้มีการแปลคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นภาษาไทยครับ ส่วน

ต่างประเทศก็ได้แปลคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นภาษาอังกฤษด้วยครับ

คัมภีร์ หมายถึงหนังสือสำคัญทางศาสนาที่เขียนหรือจารึกเป็นตำราในรูปต่างๆ เช่น

คัมภีร์พระไตรปิฎก คัมภีร์วิสุทธิมรรค ส่วนอรรถกถา หมายถึง คำอธิบายเนื้อความในพระ

ไตรปิฎก โดยพระเถระผู้ทรงคุณรุ่นหลังทีได้อธิบายเพิ่มเติมเนื้อความในพระไตรปิฎกให้

ได้เข้าใจขึ้นและถูกต้องตามความเป็นจริงครับ ซึ่งท่านพระพุทธโฆษาจารย์ก็อาศัย คำ

อธิบายของพระเถระผู้ทรงคุณรุ่นหลัง คือ อรรถกถา ได้แต่ง คัมภร์คือ หนังสือตำราที่

เป็นวิสุทธิมรรคขึ้นนั่นเองครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 15 ก.ย. 2554

ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมครับว่า นอกจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้ว ยังมีคัมภีร์ "วิมุตติ

มรรค" ของพระอุปติสสเภระ แต่ผมไม่เห็นว่าจะมีผู้อ้างอิงเท่าไหร่นัก ไม่ทราบว่ามีความ

แตกต่างกันหรือไม่ ในแง่มุมไหนครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 15 ก.ย. 2554

เรียนถามค่ะ

ดิฉันอาจจะถามจุกจิกสักนิด โปรดให้อภัยด้วยนะคะ แต่เพราะเป็นความสงสัยและเรียง

ลำดับเหตุการณ์ไม่ค่อยถูกต้อง อยากทราบว่า ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านเดินทาง

ไปศรีลังกา และได้เรียบเรียงคัมภีร์จากภาษาสิงหล เป็นภาษามคธ ดิฉันไม่เข้าใจว่า ต้น

ฉบับภาษามคธไม่มีหรืออย่างไร ปัจจุบันดิฉันพยายามอ่านพระไตรปิฏกฉบับที่ทำให้

ง่ายโดยผู้เขียนท่านหนึ่ง แต่กระนั้น ถ้ามีผู้อื่นมาถามดิฉันว่า พระไตรปิำฎก มาจากไหน มี

ความเป็นมาอย่างไร ดิฉันคงตอบได้แต่เพียงว่า พระไตรปิฏก มาจากการสังคยนา ตอบ

ได้เพียงแค่นั้นจริงๆ และก็ไม่แน่ใจด้วยว่าตอบถูกหรือไม่

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 15 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 7 ครับ

คัมภีร์วิมุตติมรรค ของพระอุปติสสเถระ แต่งขึ้นประมาณ ปี พ.ศ. หกร้อยกว่า ที่ไม่แพร่

หลายเพราะว่า ฉบับบภาษาบาลีสูญหายไป มีแต่ภาษาจีน และก็ได้แปลจากภาษจีน

เป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็ไม่ไ้ด้ค่อยได้รับความนิยมในการศึกษา อันจะเนื่องด้วย ไม่

ไ่ด้มีภาษาบาลีโดยตรงที่เป็นภาษากลางของธรรมในการศึกษา และต่อมาประเทศไทย

ก็ได้แปลจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย ให้ได้ศึกษากัน ซึ่งก็เพิ่มเริ่มแปลไม่นาน

และยังไม่ได้รับความนิยมในการศึกษา เพราะโดยมากบรรจุการเรียนการศึกษา และ

การยอมรับทั่วไปเป็นคัมภรีฺวิสุทธิมรรค ซึ่งเนื้อหาคัมภีร์วิมุตติมรรคก็แสดงในเรื่อง ศีล

สมาธิและปัญญาเช่นกันครับ แต่เนื้อหาน้อยกว่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 15 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

ที่อินเดียสมัยนั้น มีแต่พระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลี แต่อรรถกถาที่เป็นคำอธิบายเพิ่มเติม

ในพระไตรปิฎกนั้น ที่อินเดียไม่มีภาษามคธครับ และไม่มีอรรถกถา แต่มีที่ศรีลังกาครับ

ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ท่านต้องการอรรถกถาที่เป็นภาษาบาลี ท่านจึงต้องไปที่ศรีลังกา

เพื่อที่จะไปแปล อรรถกถาที่เป็นภาษาสิงหลที่ศรีลังกา กลับมาเป็นภาษาบาลีนั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 15 ก.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วิริยะ
วันที่ 16 ก.ย. 2554

เรียนถามความเห็นที่ 10

ตามที่ท่านได้ให้คำอธิบายมานั้น แสดงว่า อรรถกถาจารย์ (ไม่แน่ใจว่าเรียกถูกหรือไม่) ท่านอยู่ที่ศรีลังกา เป็นชาวศรีลังกา ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ท่านจึงต้องเดินทางไปศรีลังกา คือดิฉันสงสัยว่า พระพุทธองค์ ทรงเทศนาธรรม เป็นภาษามคธ แต่คำอธิบายเพิ่มเติมกลับไปอยู่ที่ศรีลังกาและเป็นภาษาสิงหล ดิฉันคงต้องศึกษาการเดินทางของพระพุทธศาสนาหลังจากที่พระพุทธองค์ปรินิพพาน ควบคู่ไปกับการฟังธรรมจากซีดี

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
paderm
วันที่ 16 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 12 ครับ

ท่านพระมหินเถระ ท่านได้ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา ในปี

สองร้อยกว่า และหลังจากนั้น ก็มีการเผยแพร่พระธรรมที่เป็นอรรถกถาในศรีลังกาครับ

แต่ตอนหลัง อินเดีย ไม่มีอรรถกถาอธิบายเพิ่มเติมในส่่วนต่างๆ ท่านพระพุทธโฆษา

จารย์จึงต้องเดินทางไปศรีลังกา เพื่อแปลอรรถกถาที่เป็นภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี

ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
pat_jesty
วันที่ 16 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ