ช่วยกรุณาเฉลย คำถามทบทวนภาคผนวก
จากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป หน้า 418 -420
ข้อที่6. เมื่อเสียงกระทบหู จิตอะไรรู้เสียงเป็นขณะแรก
ตอบว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต (เกิดที่หทยวัตถุรู้ครั้งแรก) หรือ โสตวิญญาณ (รู้เสียง) ครับ
ข้ิอที่15. ปรมัตถธรรมที่เป็นนเหตุนั้นเป็นขันธ์อะไรบ้าง
ตอบว่า ทั้ง 5 ขันธ์ จะถูกต้องไหมครับ
ข้อที่26. จิตภูมิไหนมี 1 ชาติ
ตอบว่า ไม่มี ถูกต้องไหมครับ
เรียนถามนอกหนังสือครับ
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ ตรัสรู้เป็นพระโสดาบันเมื่อไรและที่ไหนครับ
- พระธรรมวินัยซึ่งพระอรหันตสาวกได้สังคายนาเป็น 3 ปิฎก เมื่อไรและที่ไหน ครับ
ขออนุโมทนาและขอบพระคุณมากครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ข้อที่6. เมื่อเสียงกระทบหู จิตอะไรรู้เสียงเป็นขณะแรก
ตอบว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต (เกิดที่หทยวัตถุรู้ครั้งแรก) หรือ โสตวิญญาณ (รู้เสียง)
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
คำตอบ คือ ปัญจทวาราวัชนจิต (โสตทวาราวัชนจิต) รู้เสียง มีเสียงเป็นอารมณ์ รู้เสียง
ก่อนโสตวิญญาณครับ แต่รู้เสียงโดยการเป็นอารมณ์ แต่ไมได้ได้ยินเสียง การได้ยิน
เสียงคือ โสตวิญญาณจิตครับ แต่ถ้าจิตที่รู้เสียงก่อนขณะแรกก็ต้องเป็นปัญจทวารา
วัชนจิตครับ
-----------------------------------------------------------------------------
ข้ิอที่15. ปรมัตถธรรมที่เป็นนเหตุนั้นเป็นขันธ์อะไรบ้าง
ตอบว่า ทั้ง 5 ขันธ์ จะถูกต้องไหมครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจคำว่า เหตุ กับ นเหตุก่อนครับ
สภาพธรรมที่เป็นเหตุ มี 6 ประการ คือ เจตสิก 6 ดวง ที่เป็นโลภเจตสิก โทสเจตสิก
โมหเจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิกและอโมหเจตสิก เจตสิก 6 ดวงนี้ เป็นสภาพ
ธรรมที่เป็นเหตุครับ นอกนี้ไม่ใช่เหตุ เรียกว่า นเหตุ
ส่วนคำว่า นเหตุ คือ สภาพธรรมที่ไม่ใช่เหตุ นั่นก็คือ สภาพธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก 6
ดวงที่เป็นเหตุตามที่กล่าวมาครับ
คำถามถามว่า ปรมัตถธรรมที่เป็นนเหตุนั้นเป็นขันธ์อะไรบ้าง
ปรมัตถธรรมมี 4 อย่าง คือ จิต เจตสิก รูปและพระนิพพาน
ส่วนขันธ์ 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็คือ จิต เจตสิก รูป แต่เว้นพระ
นิพพานครับ
ดังนั้น ที่ท่านผู้ถามตอบว่าทั้งชันธ์ 5 อันนี้ยังไม่ใช่ครับ เพราะ ขันธ์ 5 ประกอบด้วย
รูป เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก สังขาร (เจตสิก 50 ดวง) และวิญญาณคือจิตทั้งหมด
เจตสิกทั้งหมด มี 52 ประเภท ซึ่งในขันธ์ 5 มี เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิกและ
เจตสิกที่เหลือ 50 ดวง เป็นสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่เป็นเหตุ 6 ดวง ก็อยู่
ในสังขารขันธ์นั่นเองครับ เมื่อเราพูดถึง นเหตุก็คือสภาพธรรมที่ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่โลภ
เจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิกและอโมหเจตสิก
ดังนั้นในขันธ์ 5 รูป เป็นนเหตุ คือ เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่เหตุ เพราะไม่ใช่เหตุ 6
เวทนา เป็นนเหตุ เพราะไม่ใช่เจตสิก 6 ประเภท สัญญา เป็นนเหตุ เพราะไม่ใช่เหตุ
6 ประเภท วิญญาณ คือ จิตทั้งหมด เป็น นเหตุ เพราะจิตไม่ใช่เจตสิก หรือ เหตุ 6
ประเภท สังขารขันธ์ คือ เจตสิก 50 ดวง เป็นนเหตุก็มี เป็นเหตุก็มี ในสังขารขันธ์ ครับ
สังขารขันธ์ คือ เจตสิก 50 ดวง มีโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโมหะ อโทสเจตสิกรวม
อยู่ด้วย เพราะฉะนั้น สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุมี มี 6 ดวงตามที่กล่าวมา ส่วน เจตสิก 44
ดวงที่เหลือในสังขารขันธ์ เป็น นเหตุครับ
สรุปนะครับ
ปรมัตธรรมคือสภาพธรรมที่มีจริง ที่มี 4 อย่างคือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน
ตามที่กล่าวแล้วว่า เหตุ มี 6 ประการตามที่กล่าวมาคือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมห
เจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิกและอโมหเจตสิก
ส่วน นเหตุคือสภาพธรรมที่ไม่ใช่เหตุ คือ ไม่ใช่เหตุ 6 ประการนี้
รูปขันธ์ เป็น นเหตุ คือ ไม่ใช่สภาพธรรมที่เป็นเหตุ 6 ประการ
เวทนาขันธ์ เป็น นเหตุ
สัญญาขันธ์ เป็น นเหตุ
สังขารขันธ์ คือ เจตสิก 50 ดวง เป็นเหตุก็มี คือ เหตุ 6 และที่เหลือ 44 ดวง เป็นนเหตุ
จิตหรือวิญญาณขันธ์ ไม่ใช่เจตสิก 6 ประเภทนี้ จึงไม่ใช่เหตุ เป็น นเหตุครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ข้อที่26. จิตภูมิไหนมี 1 ชาติ
ตอบว่า ไม่มี ถูกต้องไหมครับ
ถูกต้องครับ ไม่มีจิตภูมิไหนที่มีชาติเดียว ชาติ หมายถึงการเกิดของจิตและเจตสิก มี 4
ประเภท คือ กุศลชาติ อกุศลชาติ วิบากชาติ กิริยาชาติ
เรียนถามนอกหนังสือครับ
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ ตรัสรู้เป็นพระโสดาบันเมื่อไรและที่ไหนครับ
การตรัสรู้ บรรลุธรรม ดับกิเลสหมด ไม่ว่าใคร บุคคลใด ก็ต้องอบรมปัญญาเป็นไปตาม
ลำดับ คือ ถึงความเป็นพระโสดาบันก่อน และถึงความเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี
และพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าสมณโคดม ประทับที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา ในวันวิสาขบูชา ใน
ปัจฉิมยามราตรี พิจารณาปฏิจจสมุปบาท ได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า คือ ถึงความเป็น
พระอรหันต์ แต่ตามที่กล่าวแล้วว่าไม่ว่าบุคคลใดต้องผ่านปัญญาเป็นลำดับ ถึงความ
เป็นพระโสดาบันก่อนครับ ดังนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้เป็นพระโสดาบันในปัจฉิมยามราตรี
ในขณะที่พิจารณาปฏิจจสมุปบาทนั่นเองครับ แต่ด้วยความรวดเร็ว คือ พระองค์บรรลุ
เป็นพระโสดาบันและก็บรรลุต่อเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันต์ทันที
อย่างรวดเร็วนั่นเองครับ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ตรัสรู้เป็นพระโสดาบันเมื่อปัจฉิม
ยามแห่งราตรีในคืนวันวิสาขบูชา ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาและก็ได้บรรลุเป็นพระ
อรหันต์เพียงชั่วขณะจิตไม่นาน ณ ที่นั่นครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
- พระธรรมวินัยซึ่งพระอรหันตสาวกได้สังคายนาเป็น 3 ปิฎก เมื่อไรและที่ไหน ครับ ขออนุโมทนาและขอบพระคุณมากครับ
การสังคายนาพระธรรมของพระพุทธเจ้าครั้งแรก โดยสาวก ทั้ง 3 ปิฎก เมื่อพระพุทธเจ้า
ปรินิพพานได้ 3 เดือน การทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา
เมืองราชคฤห์ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปะเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์
อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ โดยใน
ครั้งนั้น พระมหากัสสปะเถระเป็นประธานทำสังคายนา พระอานนท์เป็นองค์วิสัชชนา
แสดงพระธรรมวินัยในหมวด สุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก พระอุบาลี เป็นผู้วิสัชชนา
พระวินัยปิฎก
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเ้จ้าพระองค์นั้น ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ก็จะต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษา สะสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อยจริง ๆ ไม่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะแสดงจำแนกธรรมเป็นหมวดต่างๆ โดยนัยต่างๆ ก็เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาอย่างแท้จริง ข้อที่ควรจะพิจารณาเพิ่มเิติม คือ
จากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป หน้า 418 -420
ข้อที่26. จิตภูมิไหนมี 1 ชาติ
ตอบว่า ไม่มี ถูกต้องไหมครับ ต้องเข้าใจก่อนว่า ภูมิ ในที่นี้ หมายถึงระดับขั้นของจิต มีทั้งหมด ๔ ระดับขั้น คือ -กามาวจรจิต มีจิตทั้งหมด ๕๔ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง (เป็นอกุศลชาติ) อเหตุกจิต ๑๘ (มี ๒ ชาิติ คือ ชาิติิกิริยา กับ ชาิติวิบาก) กามโสภณจิต ๒๔ ได้แก่มหากุศล ๘ (ชาิติกุศล) มหาวิบาก ๘ (ชาิติวิบาก) และ มหากิริยา ๘ (ชาิติกิริยา) ดังนั้น จิตระดับขั้นที่เป็นกามาจวรภูมิ จึงจำแนกเป็นชาติต่างๆ ได้ดังที่่กล่าวมา -รูปาวจรจิต มีจิตทั้ง ๑๕ ดวง ได้แก่ รูปาวจรกุศล ๕ (ชาติุกุศล) รูปาวจรวิบาก ๕ (ชาติวิบาก) รูปาวจรกิริยา ๕ (ชาติกิิริยา) -อรูปาวจรจิต มีจิตทั้งหมด ๑๒ ดวง ได้แก่ อรูปาวจรกุศล ๔ (ชาติกุศล) อรูปาวจร-วิบาก ๔ (ชาติวิบาก) และ อรูปาวจรกิิริยา (ชาติกิริยา) -โลกุตตรจิต มีจิต ๘ ดวง คือ โลกุตตรกุศล ๔ (ชาติกุศล) และ โลกุตตรวิบาก ๔ (ชาิติวิบาก) ดังนั้นจากคำถามที่ว่า จิตภูมิไหนมี ๑ ชาติ คำ่ตอบ คือ ไม่มี จึงถูกต้อง เพราะเหตุว่า จิตระดับขั้นที่เป็น กามาวจรจิต มีจิตได้ทั้ง ๔ ชาติ รูปาวจรจิต และ อรูปาวจรจิต มีจิตได้ ๓ ชาติ และ โลกุตตรจิต มีจิต ๒ ชาติ ซึ่งจะต้องเป็นชาติหนึ่งชาติใด ตามสมควรแก่จิตประเภทนั้นๆ ทั้งหมด เป็นธรรมที่มีจริงที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ซึ่งถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อวันเพ็ญเดือนวิสาขะ และ ถ้าไม่มีการทรงแสดงพระธรรมประกาศพระศาสนาเมื่อวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ สัตว์โลกก็จะไม่มีทางที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ได้เลย แต่เพราะพระองค์ได้ทรงตรัสรู้อลั ได้ทรงแสดงพระธรรมประกาศพระศาสนา จึงทำให้สัตว์โลกที่ได้สะสมเหตุที่ดีมา มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษา มีความเข้าใจไปตามลำดับ ได้รับประโยชน์จากพระธรรม และพระธรรมก็มีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ด้วยการเห็นประโยชน์ของพระอริยสงฆ์สาวกทั้งหลายในอดีตที่มุ่งจะให้พระสัทธรรมดำรงอยู่เพื่อประโยชน์แก่ชนรุ่นหลัง จึงมีการทำการสังคายนา รวบรวมเป็นหมวดเป็นหมู่ เป็น ๓ ปิฎก คือ พระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก เพื่อประโยชน์สำหรับศึกษาอย่างแท้จริง จึงเป็นโอกาสอันดีทีจะได้ศึกษาพระธรรม ร่วมกัน เพื่อความเข้าใจถูกต้องตรงตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เรียนถามเพิ่มเติมครับ
มีผู้กล่าวว่าเขามีจิตว่าง ไม่กระสับกระส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน สงบ เย็น เบาสบาย มีจิตรู้ใน
ขณะปัจจุบันบ่อยๆ โดยระลึกรู้ที่กายบ้าง ใจบ้าง เวทนาบ้าง ธรรมบ้าง ในชีวิตประจำ
วัน จนเห็นสภาพการว่างจากตัวตนเป็นบางครั้งบางคราว
จากที่ศึกษามาไม่น่าจะใช่สภาพธรรมตามความเป็นจริง เรียนถามอาจารย์เพื่อให้ความ
กระจ่างด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ
เรียนความเห็นที่ 8 ครับ
การอบรมปัญญาที่เป็นสติปัฏฐาน ไม่ใช่ลักษณะของสมาธิครับ ดังนั้นจึงไม่ใช่ เป็น
เรื่องของจิตว่าง เพราะจิตไม่เคยว่างต้องมีอารมณ์ให้รู้เสมอและความไม่กระสับกระส่าย
อันเป็นลักษณะของสมาธิ ไม่ใช่ลักษณะของปัญญาที่เป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรม
ที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานที่รู้ลักษณะของสาภพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่
เราครับ ดังนั้นการเห็นสภาพว่างเปล่าจากตัวตน คือ เห็นสภาพธรรมด้วยปัญญาใน
ขณะนี้ ในสภาพธรรมแต่ละลักษระว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา จึงไม่ใช่เรื่องของจิตว่าง หรือ
ความไม่กระสับกระส่ายจะหมายถึงการรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ
การศึกษาพระธรรมจึงต้องละเอียด พิจารณาให้เข้าใจถ่องแท้ ตรงกับสภาพธรรมตาม
ความเป็นจริง คืออบรมเจริญปัญญาให้เข้าใจถูกต้อง กราบอนุโมทนาในกุศลจิตทุก
ท่านครับ
ที่สำคัญที่สุดคือการได้มีกัลยาณมิตรช่วยอบรม ชี้แนะอยู่เสมอ
ขอให้เจริญและมั่นคงในกุศลธรรมครับ