ธรรมนิยาม

 
natre
วันที่  20 ก.ย. 2554
หมายเลข  19760
อ่าน  11,873

ธรรมนิยามมีอะไรบ้าง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

นิยาม คือ ความแน่นอน ความเป็นธรรมดาของสิ่งต่างๆ มี 5 ประการ คือ

พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช

อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล)

กรรมนิยาม (ความแน่นอนของกรรม)

ธรรมนิยาม (ความแน่นอนของธรรม)

จิตนิยาม (ความแน่นอนของจิต) .

พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช) คือ ความเป็นไปของพืชที่ต้องเป็นไปอย่างนั้น เพราะธรรมชาติเป็นอย่างนั้น เช่น ดอกทานตะวันจะต้องหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เป็นต้น

อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล) อันเป็นธรรมชาติเป็นไปอย่างนั้นตามฤดู อากาศ เช่น ต้นไม้ ออกผล ตามฤดู นี้อากาศนี้ เวลานี้ เป็นต้น

กรรมนิยาม คือ ความแน่นอนของกรรมที่เป็นธรรมดาอย่างนั้น เช่น กุศลกรรมย่อมให้ผลในสิ่งที่ดี อกุศลกรรมย่อมให้ผลที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา กรรมนี้ให้ผลแบบนี้ กรรมนี้ให้ผลแบบนี้ อันเป็นไปตามสภาพธรรมที่เป็นกรรมครับ

ธรรมนิยาม คือ ความแน่นอนของธรรมที่ต้องเป็นไปอย่างนั้น เช่น เมื่อพระโพธิสัตว์ ประสูติ ตรัสรู ปรินิพพาน แผ่นดินต้องไหว เป็นต้น

จิตนิยาม (ความแน่นอนของจิต) คือ ธรรมของจิตที่ต้องเป็นอย่างนั้น เช่น จิตมีธรรมชาติ คือ รู้อารมณ์ และจิตแต่ละประเภทก็ทำหน้าที่อย่างนั้น ไม่มีใครสั่ง แต่เป็นไปตามจิตที่ทำหน้าที่ เช่น จิตเห็น ก็ทำหน้าที่รู้ สี เปลี่ยนไม่ได้ เป็นความแน่นอนของจิต ธรรมนิยามของจิตเป็นอย่างนั้นและลำดับการเกิดของจิตก็ต้องเป็นไปอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงไม่ได้เช่นกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 20 ก.ย. 2554

ปัจจัย ๒๔ ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจคำว่า ปัจจัยก่อนครับ

ปัจจัย เป็นสภาพธรรมที่อุปการะเกื้อกูลให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นหรือดำรงอยู่ ตามควรแก่ประเภทของปัจจัยนั้นๆ ซึ่งเมื่อมีปัจจัย ก็ต้องมีผลของปัจจัยนั้น ในภาษาธรรม เรียกว่า ปัจจยุบบัน

ปัจจยุบบัน คือ ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย คือ ผลนั่นเอง หมายถึง สังขารธรรมซึ่งเป็นผลของปัจจัย ได้แก่ จิต เจตสิก และรูปทั้งหมด

สภาพธรรมทั้งหลายเมื่อจะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แต่การเกิดขึ้นของสภาพธรรมอาศัยหลายๆ ปัจจัย ดังนั้นพระพุทธเจ้าแสดงปัจจัยว่ามี ทั้งหมด ๒๔ ปัจจัย

ดังนั้น ปัจจัย จึงเป็นความเป็นไปที่เป็นสัจจะความจริง

ปัจจัย ๒๔ จึงไม่พ้นจากธรรมนิยาม ความเป็นไปของธรรมที่เป็นธรรมดาและแน่นอน เพราะธรรมทั้งหลายต้องมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดาครับ และปัจจัย ๒๔ ก็ไม่พ้นจาก จิตนิยามด้วย เพราะอาศัยการเกิดขึ้นของจิต จึงมีปัจจัยเกิดขึ้นเป็นไปด้วย ครับ

ปัจจัย ๒๔ จึงไม่ใช่ ผลที่เป็นปัจจยุบบัน แต่เป็นเหตุ ให้เกิดผล คือ ทำให้เกิด ปัจจยุบบันครับ และสภาพธรรมทั้งหลายที่มีปัจจัยปรุงแต่ง และไม่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นอนัตตาธรรม เป็นสภาพธรรมที่เป็นอนัตตาทั้งหมดครับ เป็นแต่เพียงสภาพธรรม ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์บุคคลครับ และการเกิดขึ้นของสภาพธรรมที่อาศัยปัจจัย นั่นก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นอนัตตาครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 20 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก หรือ ไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ก็ตาม ธรรม ก็เป็นธรรม เป็นธาตุแต่ละอย่างๆ เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เป็นธรรมดาของแต่ละสภาพธรรม (ธรรมนิยาม) ไม่มีธรรมใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุปัจจัย แต่เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงตรัสรู้สภาพธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านีั่ ตามความเป็นจริง ว่า สังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่เทียง เป็นทุกข์ และธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน และทรงแสดง เปิดเผยให้สัตว์โลกได้เข้าใจตามความเป็นจริง ตามกำลังปัญญาของแต่ละบุคคล เพราะไม่ว่าจะทรงแสดงโดยนัยใด ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ธรรมนิยาม [อุปปาทสูตร]

พระธรรมเทศนาในส่วนของปัจจัย ๒๔ นั้น ทรงแสดงทั้งปัจจัยที่ทำให้เกิดผล พร้อมทั้งผลที่เกิดจากปัจจัย และ ธรรมที่ไม่ได้เกิดจากปัจจัยนั้นๆ ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ประการที่สำคัญ คือ ไม่พ้นไปจากธรรมเลย เป็นพระธรรมที่ทรงแสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ธรรมที่จะปรากฏเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยนั้น ไม่มีเลย ล้วนเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัยจริงๆ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นอนัตตา ของสภาพธรรม ซึ่งละเอียดลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง ครับ.

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 20 ก.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pat_jesty
วันที่ 20 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
natre
วันที่ 21 ก.ย. 2554

ขอขอยพระคุณอาจารย์ฌผดิมและอาจารย์คำปั่นที่ให้ความกระจ่างในธรรมส่วนน้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
teep704
วันที่ 12 ธ.ค. 2563

ขอกราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 12 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ