พระที่จิต วิปลาส จะแก้ยังไง

 
ไทยลื้อ
วันที่  23 ก.ย. 2554
หมายเลข  19782
อ่าน  5,533

ต้องให้สึก หรือให้เป็นพระสงฆ์ต่อ แล้วให้ผู้รู้มาแก้อาการจิต


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ธรรมเป็นเรื่องละเอียดและลึกซึ้ง ข้าพเจ้าขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในประเด็นนี้

ครับ การสึกนั้นจะต้องเป็นความประสงค์ของผู้สึกเอง สำหรับการเป็นบ้าของพระภิกษุ

นั้น พระพุทธเจ้าแสดงเหตุของความเป็นบ้าของพระภิกษุไว้หลายประการครับ

1.เป็นบ้าเพราะดีกำเริบ ทำให้โลหิตที่ดีไม่ดี ไหลไปทั่วรางกายเกิดความเป็นบ้าได้ครับ

2.บ้าเพราะยักษ์เข้าสิง เพราะยักษ์แสดงรูปอันน่ากลัว ทำให้เกิดความเป็นบ้าได้ครับ

สำหรับพระภิกษุ

ซึ่งข้อความก็แสดงต่อไปครับว่า บ้าบางอย่างหายได้ ซึ่งเมื่อหายก็สามารถประพฤติ

พรหมจรรย์และสามารถประพฤติตามพระวินัยดับกิเลสได้ เช่น หายจากความเป็นบ้า

เพราะยักษ์เข้าสิง เ ป็นต้น ดังนั้นเราก็ไม่รู้ว่าเมื่อพระท่านเป็นบ้า บ้าเพราะอะไร แต่ก็

สามารถช่วยกันรักษา บรรเทาโดยพระภิกษุด้วยการเห็นเอง ที่เปรียบเหมือนญาติ พี่น้อง

กันในปัจจุบันครับ

ซึ่งพระภิกษุผู้เป็นบ้านั้น ไม่ต้องอาบัติข้อใด โดยประการใดๆ ครับ เพราะถึงความเป็น

บ้าอยู่ครับ ดังนั้นบ้าบางอย่างหายได้ และสามารถประพฤติพรหมจรรย์ต่อได้ครับ และ

การสึกก็ควรเป็นความประสงค์ของผู้ที่จะสึกด้วยครับ เมื่อผู้ที่จะสึกยินยอม ยินดีที่จะสึก

แล้ว จึงสึกได้ครับ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑-หน้า 837

[ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้าและมีจิตฟุ้งซ่าน]

ภิกษุเป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ) ชื่อว่า เป็นบ้า. จริงอยู่ ดีมี ๒ อย่าง คือ ดีที่มีฝัก ๑ ดีที่ไม่มีฝัก ๑. ดีที่ไม่มีฝัก ซึมซาบไปทั่วสรรพางค์ ดุจ โลหิตฉะนั้น. เมื่อดีที่ไม่มีฝักนั้นกำเริบ พวก

สัตว์ ย่อมมีสรีระสั่นเทาไป เพราะหิดเปื่อยและหิดตอเป็นต้น. หิดเปื่อยและหิดตอเป็น

ต้นเหล่านั้น จะหาย ได้เพราะการทายา. ส่วนดีที่มีฝักตั้งอยู่ในฝักของดี. เมื่อดีที่มีฝัก

นั้นกำเริบ พวกสัตว์ย่อมเป็นบ้า. ภิกษุผู้มีสัญญาวิปลาส (มีความจำคลาดเคลื่อน)

ละทิ้งหิริและโอต- ตัปปะเสียแล้ว ย่อมเที่ยวประพฤติกรรมที่ไม่ควร. แม้ย่ำยีสิกขาบท

ทั้งเบา และหนักอยู่ ก็ไม่รู้สึกตัว. ชื่อว่าเป็นผู้แก้ไขไม่ได้ แม้เพราะการเยียวยา; ภิกษุผู้

เป็นบ้าเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุชื่อว่า มีจิตฟุ้งซ่าน ได้แก่ ผู้ปล่อยจิต (ไป

ตามอารมณ์) ท่าน เรียกว่า เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง. ได้ยินว่า พวกยักษ์แสดงอารมณ์

ทั้งหลาย ที่น่ากลัว หรือสอดมือเข้าทางปากแล้ว บีบคั้นหทัยรูป กระทำพวกสัตว์ให้มี

ความจำคลาดเคลื่อน. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านเห็นปานนั้นไม่เป็นอาบัติ.

ส่วนความแปลกกันแห่งภิกษุผู้เป็นบ้าสองพวกนั้น มีดังต่อไปนี้ :- ภิกษุเป็นบ้าเพราะ

ดี (กำเริบ) จัดว่าเป็นบ้าตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว ไม่ได้ สัญญาตามปกติ. ผู้เป็นบ้า

เพราะยักษ์เข้าสิง ยังกลับได้สัญญาตามปกติในบาง ครั้งบางคราวบ้าง. แต่ในปฐม

ปาราชิกสิกขาบทนี้ ผู้เป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ) ก็ดี ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิงก็ดี จะยก

ไว้, ภิกษุรูปใด หลงลืมสติโดยประการทั้งปวง วัตถุอะไรๆ จะเป็นไฟก็ตาม ทองก็

ตาม คูถก็ตาม แก่นจันทน์ ก็ตาม ก็ไม่รู้จัก ย่อมเที่ยวย่ำเหยียบเป็นเช่นเดียวกันหมด,

ภิกษุบ้าเห็นปาน นั้น ไม่เป็นอาบัติ แต่เมื่อกลับได้สัญญาขึ้นในบางครั้งบางคราว แล้ว

ทำทั้ง ที่รู้เป็นอาบัติทีเดียว.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 23 ก.ย. 2554

โรคบางอย่างรักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย โรคบางอย่างไม่รักษาไม่หาย รักษาก็ไม่หาย

ถ้าเป็นโรคที่เกิดจากกรรม รักษาก็ไม่หาย ไม่รักษาก็ไม่หาย เช่น คนที่ล่วงศีลข้อ 5 คือ

ดื่มสุรา ภายหลังจากไปอบายแล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ วิบากอย่างเบาทำให้เป็นบ้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 23 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระภิกษุเป็นเพศบรรพชิตที่สละอาคารบ้านเรือน สละทุกสิ่งทุกอย่าง เข้าสู่ความเป็นบรรพชิต ที่ไม่ได้มีมารดาบิดาคอยดูแล เหมือนกับการเป็นคฤหัสถ์ แต่ท่านก็มีวงศ์ญาติใหม่คือพระภิกษุด้วยกัน เมื่อมีการเจ็บป่วยอาพาธเกิดขึ้น ถ้าไม่ดูแลรักษากันเอง แล้วใครจะรักษา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า เมื่อภิกษุ เกิดเจ็บป่วยอาพาธขึ้น โดยไม่ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลจากพระภิกษุด้วยกันเลย พระองค์ทรงบัญญัติเป็นสิกขาบทไว้ว่า เป็นอาบัติทุกกฏสำหรับพระภิกษุที่ไม่ดูแลภิกษุผู้ป่วยไข้เพราะตามความเป็นจริงแล้ว เป็นหน้าที่ของพระภิกษุด้วยกันที่จะรักษาจนตลอดชีวิตหรือ จนกว่าจะหาย ยิ่งเป็นโรคที่ท่านผู้ถามได้ถามถึงยิ่งจะต้องรักษาให้ถึงที่สุด การที่จะไม่รักษา ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง สำหรับในประเด็นนี้ เมื่อประมาณ ๒ ปีที่ผ่านมา ก็เคยมีท่านผู้มาร่วมสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ได้เขียนมาถามอาจารย์ประเชิญ แสงสุข ซึ่งเป็นวิทยากรผู้บรรยายพระวินัย เหมือนกัน ว่า จะทำอย่างไรดี หรือว่าจะให้สึก อาจารย์ก็ได้ให้เหตุผลตามพระธรรมวินัย คือ พระภิกษุด้วยกันจะต้องรักษาจนกว่าพระภิกษุรูปนั้นจะหาย หรือ รักษาจนตลอดชีวิต (คือจนกระทั่งท่่านมรณภาพ) โดยไม่มีข้ออ้างใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ใช่่ว่าป่วยเป็นโรคนี้แล้ว ไม่รักษา หรือ เป็นโรคนี้แล้ว ต้องให้สึก เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดมากทีเดียว ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
lnwcat
วันที่ 30 ต.ค. 2554
อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ คือ สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม ทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิด กิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้ อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลงแล้ว ก็ แล สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียง บ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:- คำขออมูฬหวินัย ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอัน ไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุ ทั้งหลายโจทข้าพเจ้า ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติ ละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะ ภิกษุพวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย กาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อัน ข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะ สงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ฯ [๖๘๖] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- * จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:- กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทเธอ ด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดต้องแล้ว ว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอัน ไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย กาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้อง อาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัย กะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริตมีจิต แปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมากทั้งที่ กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทเธอด้วย อาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวนประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้อง อาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผม วิกลจริตมีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว การให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ... อมูฬหวินัยอันสงฆ์ให้แล้ว แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้วชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขา- * วินัยกับอมูฬหวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อม หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... ในอมูฬหวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไป เฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คืออมูฬหวินัยอันใด นี้มีในอมูฬหวินัยนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นจิตตีย์ที่รื้อ- * ฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน ฯ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
lnwcat
วันที่ 30 ต.ค. 2554

-ต้องให้สึก หรือให้เป็นพระสงฆ์ต่อ แล้วให้ผู้รู้มาแก้อาการจิต-

ผู้ที่หลงตามไปในสิ่งที่ถูกรู้ ก็ให้ทวนย้อนมาที่ผู้รู้ อาการต่างๆ นิมิตที่หลงไปก็จะดับหายเป็นปกติได้เอง

* *

อมูฬหวินัย เป็นในกรณี ที่มี "ปฏิฆะนิมิต" กำเริบแล้ว เข้าใจว่าสิ่งนั้นๆ เป็นจริง ก็โกรธ ทำร้าย ฯลฯ ก็ให้ร้องขอ เพื่อระงับอธิกรณ์ - แก้ได้ด้วยการเจริญ อัปมัญญาเมตตา ก็จะหายสนิท ไม่กำเริบมาอีก
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 11 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ