สภาพธรรมเป็นจริงอย่างนี้

 
เมตตา
วันที่  2 ต.ค. 2554
หมายเลข  19830
อ่าน  1,297

ระหว่างการสนทนากับชาวต่างชาติ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา มีท่านผู้หนึ่งได้เรียน

ถามท่านอาจารย์ว่า ผู้ที่ไม่ได้ฟังพระธรรมแต่ถ้าพิจารณาสิ่งที่กำลังปรากฏ จะเป็นการ

ศึกษาปริยัติหรือเปล่า พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ทรงแสดงความจริงของ

สิ่งทีมีจริงๆ ที่กำลังปรากฏในชีวิตประจำวัน มีเห็น มีได้ยิน...และคิด หากไม่ได้ฟังพระ

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ จะไม่มีทางรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงได้เลย สำหรับ

การศึกษาปริยัติคือการรอบรู้ ความเข้าใจถึงลักษณะที่มีจริง ของสภาพธรรมที่มีจริงที่

กำลังปรากฏ แม้แต่การศึกษาแต่เรื่องราวของธรรม โดยไม่เข้าใจว่าธรรมคืออะไร มี

ลักษณะจริงๆ อย่างไร ก็จะไม่สามารถเข้าถึงธรรมได้เลย เพราะฉะนั้น ปัญญาขั้นปริยัติ

เป็นความเข้าใจลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม จนกว่าปัญญาจะคมกล้า สติรเกิดระลึก

ลักษณะของสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นขั้นปฏิปัตติ หรือปฏิบัตินั่นเองค่ะ

ขอยกข้อความบางตอนที่ท่านอาจารย์สุจินต์ได้บรรยายไว้เพื่อความเข้าใจขั้นปริยัติ

ให้มั่นคงขึ้น เพื่อเป็นหนทางสู่การปฏิบิติที่ถูกต้องตามที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า-

ทรงแสดงไว้ดีแล้ว

...ถ้าทราบว่าจิตเกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะ เพราะฉะนั้นจะมีอารมณ์พร้อมกันในขณะเดียวกัน ๒

อย่างไม่ได้ นี่เป็นความเข้าใจขั้นปริยัติ ซึ่งจะต้องมีก่อนที่สติปัฏ-ฐานจะเจริญ คือ ต้อง

ทราบว่า จิตเกิดขึ้นทีละขณะ แล้วก็รู้อารมณ์ทีละอย่าง เพราะฉะนั้น การที่สภาพ-

ธรรมเป็นจริงอย่างนี้ ปัญญาก็จะต้องอบรม จนกระทั่งสามารถรู้ตามความเป็น

จริงอย่างนี้ โดยที่พิสูจน์ธรรมได้เลย ในขณะนี้ทุกคนเห็น แล้วก็ได้ยิน แล้วก็คิดนึก นี่

ก็ทราบว่าจิตเกิดดับสลับกันอย่างเร็วมาก เพราะฉะนั้น ปัญญาไม่สามารถจะรู้ความจริง

เพราะเหตุว่าความรวดเร็วของจิตซึ่งเกิดดับ และสติปัฏฐานยังไม่เคยเกิดเลย

เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยปริยัติ คือความเข้าใจในสัจจญาณจริงๆ ว่าสัจจธรรม

หรือ อริยสัจจธรรม ก็คือการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น และดับไปตาม

ความเป็นจริงในขณะนี้เอง เพราะฉะนั้นต้องทราบว่า ขณะใดสติเกิด ขณะใดหลงลืม

สติ มิฉะนั้นแล้วสติก็เจริญไม่ได้ อย่างทางตาที่กำลังเห็น ปกติหลงลืมสติ เพราะฉะนั้น

ขณะใดที่สติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมทางตาคืออย่างไร ขณะที่ได้ยินเสียงเป็นปกติในชีวิต

ประจำวัน มักจะหลงลืมสติ เพราะฉะนั้นเวลาที่ได้ยินแล้วสติเกิดระลึก เพื่อที่จะรู้ลักษณะ

ของสภาพได้ยิน ห รือเสียงที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง คืออย่างไร นี่จะรู้ได้จาก

ขณะที่สติเกิดเท่านั้น แต่ถ้าสติปัฏฐานยังไม่เกิด ก็เป็นการศึกษาตามปริยัติว่า จิตเกิด

ขึ้น ๑ ขณะ แล้วก็ดับไป แล้วก็รู้อารมณ์ทีละขณะ เพราะฉะนั้นจึงต้องอบรมเจริญสติ-

ปัฏฐานเป็นปกติในขณะนี้ เพียงชั่วขณะนิดเดียวที่สติระลึกที่แข็ง หรือระลึกทางตาที่

กำลังเห็น แล้วปัญญาเกิด นั่นคือ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ต้องไปคิดถึงสถานที่

หรือเลือกอารมณ์ที่ยังไม่ปรากฏ..

ขอกราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 2 ต.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
j.jim
วันที่ 2 ต.ค. 2554

ฟังพระธรรม เข้าใจในสิ่งที่ฟัง สะสมความเห็นถูกค่ะ

ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 2 ต.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของพี่เมตตา ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 3 ต.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 3 ต.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 4 ต.ค. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
bsomsuda
วันที่ 4 ต.ค. 2554

"...หากไม่ได้ฟังพระ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้

จะไม่มีทางรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงได้เลย...

...การศึกษาแต่เรื่องราวของธรรม

โดยไม่เข้าใจว่า ธรรมคืออะไร มีลักษณะจริงๆ อย่างไร

ก็จะไม่สามารถเข้าถึงธรรมได้เลย...

...จะรู้ได้จาก ขณะที่สติเกิดเท่านั้น

แต่ถ้าสติปัฏฐานยังไม่เกิด ก็เป็นการศึกษาตามปริยัติ..."

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของพี่เมตตาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ปุ้ม
วันที่ 10 ต.ค. 2554

ผมมีคำถาม ถามว่า คนหนึ่งคนมีความเบื่อละทิ้งทุกอย่างไม่สนใจไม่ใยดีต่อโลก

แม้ตัวตนของเขา ทุกอย่างนะ (รวมขันห้า) จะไม่มีแม้คนเดียวเลยหรือครับ แต่เขา

ไม่ใช่พุทธศาสนาจะเข้านิพพานไม่ได้เลยหรือ

ขอขอบคุณ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prachern.s
วันที่ 15 ต.ค. 2554

เรียนคุณปุ้มครับ จริงๆ แล้วผู้ที่มีปัญญาสามารถดับกิเลสทั้งหมดได้ ย่อมเข้าถึง

พระนิพพานได้ จะไม่ใช้คำว่าพระพุทธศาสนาก็ได้ แต่คำสอนเพื่อการอบรมเจริญ

ปัญญาเพื่อการดับกิเลส จนไม่เกิดอีก คือเข้าสู่พระนิพพาน มีอยู่ในพระพุทธศาสนา

เท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ปุ้ม
วันที่ 17 ต.ค. 2554

ครับ ขอบคุณครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ