ภิกขุสูตรที่ ๑.. เหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง

 
pirmsombat
วันที่  2 ต.ค. 2554
หมายเลข  19831
อ่าน  1,374

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 73

……………………………

ข้อความบางตอนของ ภิกขุสูตรที่

. ภิกขุสูตรที่

ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

บุคคลย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมถึงการนับเพราะสิ่งนั้น

บุคคลย่อมไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด

ย่อมไม่ถึงการนับเพราะสิ่งนั้น.

ภิ. ข้าแต่ ่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่

พระสุคต ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อ

ได้โดยพิสดารอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น

ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ

ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณย่อมถึงการนับเพราะ

วิญญาณนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึง

การนับเพราะรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึง

สัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ

ก็ไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วโดยย่อได้โดย

พิสดารอย่างนี้แล.

[๗๕] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำ

ที่เรากล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีนักแล ดูก่อนภิกษุ

ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น

ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ

ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึง

วิญญาณ ก็ย่อมถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น ดูก่อนภิกษุ ถ้าบุคคล

ไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ย่อมไม่ถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึง

เวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร

ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ย่อมไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น

ดูก่อนภิกษุ เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อ โดยพิสดาร

อย่างนี้แล.

จบ ภิกขุสูตรที่ ๑

อรรถกถาภิกขุสูตรที่

ในภิกขุสูตรที่ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รูปญฺเจ ภนฺเต อนุเสติ ความว่า ครุ่นคิดถึงรูปอย่างใด

อย่างหนึ่ง. บทว่า เตน สงฺขํ คจฺฉติ ความว่า

ครุ่นคิดถึงรูปนั้นด้วยความครุ่นคิดอันใดในกามราคะเป็นต้น

ด้วยความครุ่นคิดนั้นนั่นแลย่อมถึงการนับคือบัญญัติว่า

รักแล้ว โกรธแล้ว หลงแล้ว.

บทว่า

เตน สงฺขํ คจฺฉติ ความว่า ด้วยความครุ่นคิดอันไม่เป็นจริงนั้น ย่อม

ไม่ถึงการนับว่า รักแล้ว โกรธแล้ว หลงแล้ว.

จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๑


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 3 ต.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 3 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยจากสูตรนี้ที่คุณหมอยกมาแสดงให้เห็นว่า เหตุให้ได้ชื่อว่าความกำหนัด (โลภะ) เหตุให้ได้ชื่อว่าขัดเคือง (โทสะ) เหตุให้ได้ชื่อว่าลุ่มหลง (โมหะ) เกิดจาก จิตนั่นเองที่ตรึกเป็นไปครุ่นคิด ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งก็ไม่พ้นในขณะนี้ ในชีวิตประจำวัน ที่เราได้เห็นรูป เมื่อมีกิเลส ก็ยินดี พอใจ หรือ ขุ่นเคืองขณะที่ยินดีพอใจหรือขุ่นเคือง ก็เป็นการครุ่นคิดเป็นไปในกิเลสนั่นเองเมื่อได้เห็นรูป เวทนาเจตสิกก็เกิดกับจิตที่คิดถึงรูปนั้นด้วย (เวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง) และสัญญาก็เกิดพร้อมกับจิตนั้นนั่นแหละ โดยมีรูปนั้นเป็นอารมณ์สังขาร และวิญญาณ (จิต) โดยนัยเดียวกัน แต่ถ้ามีปัญญา เมื่อเห็นรูป ก็รู้ว่าเป็นเพียงสภาพธัมมะที่มีจริง ขณะนั้น ก็เป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา จึงชื่อว่าไม่ครุ่นคิดในรูป เวทนา.....วิญญาณ เพราะอะไรเพราะเป็นกุศลนั่นเอง ไม่เป็นไปใน รัก โกรธ หลง เพราะเห็นตามความเป็นจริง (สติปัฏฐาน) ดังข้อความในอรรถกถา สูตรที่ 1 ตอนท้ายสุดแสดงไว้ครับ แต่ปุถุชน ย่อมครุ่นคิดในรูป เวทนา ..วิญญาณ เป็นไปทางอกุศล ส่วนมาก จึงนับว่าหรือเรียกได้ว่า เป็นผู้ที่รักแล้ว โกรธแล้ว หลงแล้ว ใน รูป เวทนา..วิญญาณนั่นเองครับ ที่สำคัญที่สุด การอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่ ให้ไม่มี รัก โกรธ หลง ในรูป..วิญญาณ เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่หนทางที่ถูกก็คือ เมื่อรัก (โลภะ) โกรธ (โทสะ) หลง (โมหะ) เกิด ก็ศึกษาลักษณะของเขาว่าเป็นธัมมะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา นี่คือการอบรมเจริญสติปัฏฐาน โดยเป็นปกติสภาพธัมมะใดเกิดก็รู้ครับ แม้เป็นอกุศลอนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 3 ต.ค. 2554

ขอบคุณและอนุโมทนาอย่าสูง ที่คุณเผดิม กรุณาเพี่มเติม

เป็นประโยชน์กับผู้ศึกษาธรรมมากครับ

และ

ขอบคุณและอนุโมทนาทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kinder
วันที่ 3 ต.ค. 2554
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 4 ต.ค. 2554

เตือนสติได้ดีมากๆ เลยค่ะ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
bsomsuda
วันที่ 4 ต.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ