พระบารมีสิบชาติของพระโพธิสัตว์

 
homenumber5
วันที่  8 ต.ค. 2554
หมายเลข  19869
อ่าน  2,393

เรียนท่านวิทยากร

1. พระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ก่อนมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

ท่านทรงบำเพ็ญบารมีสิบ มาอย่างไร และแต่ละชาติท่าน บำเพ็ญบารมีประเภทใด

หาอ่านได้จากที่ใด

2. การฟังเทสน์มหาชาติ ทำอย่างไรได้กุสลสูงๆ

3. พระสงฆ์ที่เทสนาแบบมีทำนองเพลง เอื้อน แบบเพลงยาว แหล่ นี่เป็นการถูกต้อง

พระวินัยหรือไม่ คะ คนฟังได้กุสลไหมคะ ขอขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย1. พระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ก่อนมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

ท่านทรงบำเพ็ญบารมีสิบ มาอย่างไร และแต่ละชาติท่าน บำเพ็ญบารมีประเภทใด

หาอ่านได้จากที่ใด

พระโพธิสัตว์ ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทะเจ้า บำเพ็ญบารมี 30 ทัศ คือ บารมี 10 อุปบารมี

10 และปรมัตถบารมี 10 โดยเป็นการบำเพ็ญที่เป็นการบำเพ็ญอย่างยาวนาน บำเพ็ญ

กุศลทุกประการ บำเพ็ญติดต่อกันไปและบำเพ็ญบารมีด้วยความเคารพครับ ซึ่งแต่ละ

ชาติก็บำเพ็ญบารมี ทั่ง 10 ประการอยู่แล้ว ไม่ใช่บำเพ็ญอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงแต่ว่า

ชาตินั้นจะเด่นในบารมีอะไรเป็นสำคัญ ท่านก็ยกพระชาตินั้นว่า เด่นในบารมีนั้น เช่น

พระเวสสันดร เด่นในเรื่องทาน ซึ่งท่านก็บำเพ็ญทุกบารมีอยู่แล้วครับในชาตินั้น ซึ่งหา

อ่านได้ที่พระไตรปิฎก เล่ม 74 จริยาปิฎก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัยครับ

2. การฟังเทสน์มหาชาติ ทำอย่างไรได้กุสลสูงๆ

กุศลอยู่ที่จิต โดยไมได้จำเพาะเจาะจงว่าฟังเรื่องนี้จะได้กุศลสูง พระธรรมส่วนใดก็

ตาม เป็นพระพุทธพจน์ทั้งหมด สามารถเกิดกุศลได้และหากมีปัญญา ความเห็นถูกใน

ขณะนั้น โดยพิจารณาถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาของสภาพธรรม เป็น

กุศลระดับวิปัสสนา เป็นกุศลขึ้นสูงครับ แต่ถ้าฟังด้วยความหวังจะได้กุศลมาก เพราะ

เข้าใจว่าฟังเรื่องนี้ได้กุศลมาก นั่นเป็นโลภะ อานิสงส์บุญน้อยครับ ดังนั้นขณะที่ฟังพระ

ธรรมเรื่องใด ฟังด้วยความเข้าใจถูก ขณะนั้นกุศลมาก โดยที่ไม่ต้องหวังเลยครับ

3. พระสงฆ์ที่เทสนาแบบมีทำนองเพลง เอื้อน แบบเพลงยาว แหล่ นี่เป็นการถูกต้อง

พระวินัยหรือไม่ คะ คนฟังได้กุสลไหมคะ ขอขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุที่กล่าวเอื้อน เหมือนเพลงขับ ต้องอาบัติ

ครับ ส่วนผู้ฟัง ถ้าเข้าใจ กุศลจิตเกิดก็ต้องเป็นกุศล แต่ถ้ายินดี พอใจในทำนองเป็น

อกุศลครับ ผู้ใดเกิดจิตประเภทใดผู้นั้นรู้ครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 8 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น -พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัุจจเจกพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์สาวกล้วนเป็นผู้ไ้ด้อบรมสะสมบารมี (ธรรมอันจะทำให้ถึงซึ่งฝั่งคือการดับกิเลส) ประการต่างๆ มีทานบารมี เป็นต้น มาแล้วทั้งนั้น ไม่ใช่จะได้บรรลุในทันทีทันใด ต้องสะสมเหตุที่จะทำให้ได้บรรลุ เป็นระยะเวลาอันยาวนาน อย่างเช่นพระสัมมาสัมพุทธเ้จ้า พระองค์

ทรงบำเพ็ญพระบารมีเป็นระยะเวลา สีอสงไขยแสนกัปป์ อ้นเป็นระยะเวลาที่นานมาก ช่วงเวลาก่อนที่จะำได้ทรงตรัสรู้นั้น กิเลสยังมีอยู่ครบ จนกว่าจะถึงเวลาที่ได้ทรงตรัสรู้ จึงจะสามารถดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น กิเลสที่ดับได้แล้ว ไม่มีการเกิดอีกเลยในสังสารวัฏฏ์, พระจริยาวัตร อันเป็นความประพฤติเป็นไปของพระโพธิสัตว์ในช่วงเวลาที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี นั้น ควรค่าที่ชาวพุทธจะได้อ่านได้ศึกษา และน้อมประพฤติปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง เพราะแสดงถึงความดี ที่ควรอบรม ทั้งนั้น ซึ่งนอกจากจะได้ศึกษาจาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก แล้ว ในชาดกต่างๆ ก็ควรจะได้อ่านได้ศึกษาด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง -การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม จุดประสงค์ คื่อ เพือความเข้าใจถูกเห็นถูก ในสิ่งที่กำลังฟัง ไม่ใช่ฟังเพียงแค่ในส่วนที่เป็นการบำเพ็ญพระบารมีของพระโพธิสัตว์ เท่านั้น พระธรรมในส่วนอื่นๆ ที่เป็นพระสูตรต่างๆ พระอภิธรรม รวมไปถึงพระวินัย ก็ควรจะศึกษาด้วยเช่นกัน เพราะทั้งหมดเป็นพระปัญญาตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งล้วนเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม เป็นไปเพื่อขัดเกลา ความไม่รู้ และความเห็นผิด รวมไปถึงกิเลสประการอื่นๆ ด้วย และประการที่สำคัญ มหาชาติ ไม่ได้มีเฉพาะพระชาิติที่เป็นพระเวสสันดร เท่านั้น พระชาติใหญ่ๆ เ่ช่น เมื่อครั้งที่เป็นวิธุรบัณฑิต เป็นต้น ก็เป็นมหาชาติ ด้วย ควรนำมาแสดง และควรจะศึกษาให้เข้าใจ ด้วยเช่นกัน -พระภิกษุ ผู้แสดงธรรมไม่ว่าจะแสดงในส่วนใดก็ตาม ควรจะคล้อยตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยการตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในใจ แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น คือ แสดงธรรมไปโดยลำดับ แสดงอ้างเหตุผล มุ่งประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความมีเมตตา เป็นผู้ไม่เพ่งในการได้ลาภสักการะ และ ไม่แสดงธรรมด้วยการยกตนเองหรือกระทบผู้อื่น และถ้าจะว่าไปแล้ว การแสดงธรรมด้วยการกล่าวธรรมดา ย่อมฟังได้ง่ายกว่าการแสดงแบบมีทำนองเพลง เอื้อน แบบเพลงยาว หรือ แหล่ เพราะนอกจากจะฟังยากแล้ว ยังเป็นโทษแก่ผู้แสดงอีกด้วย เพราะเป็นอาบัติ ส่วนคฤหัสถ์ผู้ที่ฟังแล้วเข้าใจ ย่อมจะเป็นประโยชน์แก่ผู้นั้น เป็นกุศลของผู้นั้น ไม่มีอาบัติ-สำหรับคฤหัสถ์ผู้ฟัง ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
jaturong
วันที่ 10 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
orawan.c
วันที่ 24 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ