อวิชชาคืออะไร ในปฏิจจสมุปบาท

 
homenumber5
วันที่  8 ต.ค. 2554
หมายเลข  19871
อ่าน  6,201

เรียนท่านวิทยากร ดิฉันไล่เรียงวงจรปฏิจจสมุปบาทแล้วให้สงสัยค่ะ

1. อวิชชาคือ อะไรในปรมัตถธรรมคะ เป็นนาม รูป จิต เจตสิก กันคะ

2. สังขารทีเป็นผลจากอวิชชานั้น หมายถึง จิต เจตสิก รูป หรืออะไร

3. ในวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้นไม่มีคำว่า ขันธ์เลย แล้ว ขันธ์นี้ไปอยู่ที่ไหนของ ปฏิจจสมุปบาทคะ

4. คำเทสนาปฏิจจสมุปบาทนั้น มีสาม ท่อน แต่ลงท้ายแตกต่างกัน มีที่ใดที่อธิบายเข้าใจง่ายบ้างกรุณาชี้แนะด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

1. อวิชชาคือ อะไรในปรมัตถธรรมคะ เป็นนาม รูป จิต เจตสิก กันคะ

- อวิชชา คือ ความไม่รู้ เรียกว่า โมหะ เป็นเจตสิก คือ โมหเจตสิก เป็นนามธรรมครับ

2. สังขารทีเป็นผลจากอวิชชานั้น หมายถึง จิต เจตสิก รูป หรืออะไร

- อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ร่างกาย แต่หมายถึง อภิสังขาร สภาพธรรมที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง หมายถึง เจตนาเจตสิกเท่านั้น ทีเป็นไปใน บุญหรือบาป เป็นเจตสิกเท่านั้น คือ เจตนาเจตสิก

3. ในวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้นไม่มีคำว่า ขันธ์เลย แล้ว ขันธ์นี้ไปอยู่ที่ไหนของ ปฏิจจสมุปบาทคะ

- แม้ไม่มีคำว่าขันธ์ แต่ ขันธ์คือสภาพะรรมที่มีจริงที่เป็น จิต เจตสิกและรูป ดังนั้นแม้ ปฎิจจสมุปบาทก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็น จิต เจตสิกและรูปเช่นกัน อวิชชา ก็เป็นเจตสิก ก็ไม่พ้นจากขันธ์ คือ สังขารขันธ์ สังขารเป็นเจตนาเจตสิก เป็น สังขาร ขันธ์ วิญญาณ เป็นจิต ก็ไม่พ้นจากขันธ์ คือ วิญญาณขันธ์ นามรูป ก็เป็น จิต เจตสิก และรูป สรุปคือ แม้ไม่ใช่คำว่าขันธ์ในปฎิจจสมุปบาท แต่ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมทีเป็น ขันธ์ คือ จิต เจตสิและรูป ครับ

4. คำเทสนาปฏิจจสมุปบาทนั้น มีสาม ท่อน แต่ลงท้ายแตกต่างกัน มีที่ใดที่อธิบายเข้าใจง่ายบ้างกรุณาชี้แนะด้วยค่ะ

- สำหรับข้อ 4 เรียนท่านเจ้าของกระทู้ อธิบาย คำว่า 3 ท่อนหน่อยครับ เพื่อจะได้ตอบให้ ชัดเจน

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 8 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เมื่อได้ยินคำอะไร สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะส่วนใหญ่ ผู้ที่ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็คงจะได้ยินคำว่า ปฏิจจสมุปบาท อยู่บ้าง แต่ความเข้าใจมีมากน้อยแค่ไหน เพราะปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ไม่ใช่เพียงชื่อ และ ไ่ม่ใช่เรื่องท่อง แต่เพื่อเข้าใจ เพราะปฏิจจสมุปมาท ก็คือ ขณะนี้ นั่นเอง ซึ่งเป็นธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น เพราะขณะนี้ มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา ที่มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ อย่างในขณะนี้ เพราะมีเงื่อนต้นของสังสารวัฏฏ์จริงๆ คือ อวิชชา (ความหลง,ความไม่รู้) เป็นเหตุให้กระทำกรรมที่เป็นกุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรมบ้าง (อภิสังขาร = เจตนาเจตสิก) จึงเป็นเหตุให้เกิดผล คือ เกิดในภพภูิมิต่างๆ มีจิตเจตสิก รูป เกิดขึ้นเป็นไป สังสารวัฏฏ์ ก็ดำเินินไป เป็นไป ทั้งหมด นี้ ล้วนเป็นธรรมที่มีจริงที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เป็นขันธ์แต่ละขันธ์ ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน หาความเป็นสัตว์ เป็นบุคคลไม่ได้เลย เพราะเป็นธรรมแต่ละอย่างๆ เท่านั้น แม้แต่ อวิชชา (โมหเจตสิก) เป็นธรรมมีจริง เป็นสังขารขันธ์ เจตนาที่เป็นตัวกรรม ที่กระทำกุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรมบ้าง ก็เป็นธรรมที่มีจริง เป็นเจตนาเจตสิก เป็นสังขารขันธ์ จิตทุกประเภทเป็นวิญญาณขันธ์ สัญญาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกขณะ เป็นสัญญาขันธ์ เวทนาที่เกิดร่วมกับจิตทุกขณะ เป็นเวทนาขันธ์ รูปทุกรูป เป็นรูปขันธ์ สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้องจริง เมื่อศึกษาแล้ว สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ล้วนเป็นขันธ์ ทั้งนั้น แม้แต่ปฏิจจสมุปบาท ก็ไม่พ้นจากรูป เวทนา สัญญาสังขาร และ วิญญาณ เลย สำหรับ ปฏิจจสมุบาทนั้น จำแนกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นกิเลสอันเป็นเหตุให้กระทำำกรรม (กิเลสวัฏฏ์) ส่วนที่เป็นการกระทำกรรม (กัมมวัฏฏ์) และ ส่วนที่เป็นการรับผลของกรรม (วิปากวัฏฏ์) แสดงถึงความเป็นไปของสังสารวัฏฏ์จนกว่าจะมีการอบรมเจริญปัญญา จนกระทั่งดับกิเลสได้ตามลำดับ สูงสุด ถึงความเป็นพระอรหันต์ เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่มีการเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีสภาพ-ธรรมใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย เป็นผู้สิ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 8 ต.ค. 2554

ขณะนี้...อะไรคืออวิชชา?

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
homenumber5
วันที่ 9 ต.ค. 2554

เรียน ท่านความคิดเห็นที่ 1

ดิฉันเข้าใจว่า บทสวดมนต์โพธิคาถา คือ บทปฏิจจสมุปบาท

ส่วนที่ 1 อวิชชาปัจจยาสังขารา.....สมุทโยโตติ อวิชายตเววะ.....นิโรโธโหตีติอถโขภควาเอตมัตถัง........ปชานาติ สเหตุธัมมันติ

ส่วนที่ 2 อวิชชาปัจจยาสังขารา.....สมุทโยโตติ อวิชายตเววะ.....นิโรโธโหตีติอถโขภควาเอตมัตถัง........ปัจจยานังอเวทีติ

ส่วนที่ 3 ส่วนที่ 2 อวิชชาปัจจยาสังขารา....สมุทโยโตติ อวิชายตเววะ.....นิโรโธโหตีติ อถโขภควาเอตมัตถัง........วิทูปยัง... คือ ว่า

ดิฉันไม่เข้าใจความหมายลึกซึ้งตรง ส่วนที่เชื่อมส่วนที่ 1 ไป 2 ส่วนที่ 2 ไป ส่วนที่ 3 (ความจริงทั้งบทก็ไม่เข้าใจลึกซึ้งค่ะ และตั้งใจว่าต้องพยายามสิกขาให้เข้าใจมากขึ้นๆ เพราะ เป็นคาถาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ในวันที่ทรงตรัสรู้ก็น่าจะเป็น องค์ธรรมที่สำคัญที่สุดรวบยอด แล้วค่อยขยายไปยังองค์ธรรมอื่นๆ เพราะ อาจารย์สอน ว่า ต้องปหานนามรูป ขันธ์ จึงจะเข้าสู่โลกุตรธรรมเป็นชั้นๆ ไป ดังนั้น ต้องเข้าใจว่า จิต เจตสิก รูป ที่เป็นองค์ธรรมในปรมัตถธรรมนั้น เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ บทปฏิจจสมุปบาท อย่างไร ไม่ทราบว่า จะเข้าใจผิดถูกอย่างไร ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
homenumber5
วันที่ 9 ต.ค. 2554
ขออนุโมทนาท่านความเห็นที่ 2ค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
akrapat
วันที่ 10 ต.ค. 2554

อวิชชา คือ ความไม่รู้ ไม่รู้อะไรล่ะ ไม่รู้ว่า จิต เจต สิก รูป คือ ทุกข์ ไม่รู้ เหตุของทุกข์ หรือ สมุทัย ไม่รู้ ความดับทุกข์ หรือนิโรธ และไม่รู้หนทาง การดับทุกข์ ไม่รู้อดีต ปัจจุบัน อนาคต และไม่รู้ความเชื่อมโยงของ เหตุอดีต ที่นำไปสู่ปัจจุบัน และเหตุปัจจุบัน ที่ส่งผลไปยังอนาคต ขณะไหน ที่ประกอบด้วย อวิชชา...... ก็ขณะไหนที่ไม่รู้นั่นแหละ เพราะอวิชชาเป็นรากเหง้า ของความหลง ขณะที่หลง ขณะนั้น ประกอบ ด้วยอวิชชา ฉะนั้น พระอรหันต์ คือ คนที่ไม่หลงเพราะ ท่านไม่มีอวิชชา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
นันทภพ
วันที่ 11 ต.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 19871 ความคิดเห็นที่ 2 โดย khampan.a

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เมื่อได้ยินคำอะไร สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะส่วนใหญ่ ผู้ที่ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็คงจะได้ยินคำว่า ปฏิจจสมุปบาท อยู่บ้าง แต่ความเข้าใจมีมากน้อยแค่ไหน เพราะปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ไม่ใช่เพียงชื่อ และ ไ่ม่ใช่เรื่องท่อง แต่เพื่อเข้าใจ เพราะปฏิจจสมุปมาท ก็คือ ขณะนี้ นั่นเอง ซึ่งเป็นธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น เพราะขณะนี้ มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา ที่มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ อย่างในขณะนี้ เพราะมีเงื่อนต้นของสังสารวัฏฏ์จริงๆ คือ อวิชชา (ความหลง,ความไม่รู้) เป็นเหตุให้กระทำกรรมที่เป็นกุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรมบ้าง (อภิสังขาร = เจตนาเจตสิก) จึงเป็นเหตุให้เกิดผล คือ เกิดในภพภูิมิต่างๆ มีจิตเจตสิก รูป เกิดขึ้นเป็นไป สังสารวัฏฏ์ ก็ดำเินินไป เป็นไป ทั้งหมด นี้ ล้วนเป็นธรรมที่มีจริงที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เป็นขันธ์แต่ละขันธ์ ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน หาความเป็นสัตว์ เป็นบุคคลไม่ได้เลย เพราะเป็นธรรมแต่ละอย่างๆ เท่านั้น แม้แต่ อวิชชา (โมหเจตสิก) เป็นธรรมมีจริง เป็นสังขารขันธ์ เจตนาที่เป็นตัวกรรม ที่กระทำกุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรมบ้าง ก็เป็นธรรมที่มีจริง เป็นเจตนาเจตสิก เป็นสังขารขันธ์ จิตทุกประเภทเป็นวิญญาณขันธ์ สัญญาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกขณะ เป็นสัญญาขันธ์ เวทนาที่เกิดร่วมกับจิตทุกขณะ เป็นเวทนาขันธ์ รูปทุกรูป เป็นรูปขันธ์ สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้องจริง เมื่อศึกษาแล้ว สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ล้วนเป็นขันธ์ ทั้งนั้น แม้แต่ปฏิจจสมุปบาท ก็ไม่พ้นจากรูป เวทนา สัญญาสังขาร และ วิญญาณ เลย สำหรับ ปฏิจจสมุบาทนั้น จำแนกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นกิเลสอันเป็นเหตุให้กระทำำกรรม (กิเลสวัฏฏ์) ส่วนที่เป็นการกระทำกรรม (กัมมวัฏฏ์) และ ส่วนที่เป็นการรับผลของกรรม (วิปากวัฏฏ์) แสดงถึงความเป็นไปของสังสารวัฏฏ์จนกว่าจะมีการอบรมเจริญปัญญา จนกระทั่งดับกิเลสได้ตามลำดับ สูงสุด ถึงความเป็นพระอรหันต์ เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่มีการเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีสภาพ-ธรรมใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย เป็นผู้สิ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

นะโม ตัสสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ขอ อนุโมทนา ต่อ ทั้ง ผู้ตั้งคำถาม และ ผู้ตอบคำถาม ครับ ข้าพเจ้า ได้อ่าน ทำให้ ข้าพเจ้า มี ความกระจ่าง มากขึ้น กว่าแต่ก่อน ครับ ข้าพเจ้า เกิดมา ได้อ่าน ได้ศึกษา ได้ทำ ตามคำสอน พระพุทธองค์ นี้ ข้าพเจ้า โชคดี มีบุญมาก ครับ สวัสดี ครับ ขอ สรรพสัตว์ ทั่วจักรวาล เป็นสุขๆ เถิด อย่ามีทุกข์กายทุกข์ใจเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 12 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 24 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Artwii
วันที่ 1 ก.พ. 2565

อนุโมทนาสาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ก.พ. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ