มีสติปัฏฐาน ระลึกถึง ศีล ทาน คือ ?

 
คนไทยพบธรรม
วันที่  11 ต.ค. 2554
หมายเลข  19887
อ่าน  1,908

ในการฟังคำบรรยายของท่านอ.สุจิน ที่กล่าวว่าสติ ต้องเป็นไปทางกุศล เท่านั้น ระลึกถึง

ทาน ศีล คำว่าทาน ศีล นี่คือทานที่เราให้ไปแล้ว หรือ ที่เราจะตั้งใจทำนะครับ

ขอความกรุณาชี้แนะนำด้วยนะครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 11 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย สติเป็นนามธรรม เป็นเจตสิก เป็นเจตสิกฝ่ายดี จะเกิดกับจิตที่ดี ที่เป็นโสภณจิตเท่านั้น

เพราะฉะนั้นจะไม่เกิดกับอกุศลจิตเลย ซึ่งขณะใดที่กุศลจิตเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต

ประเภทใด ไม่ว่าจะเป็นกุศลขั้นทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นจะต้องมีสติเกิดร่วมด้วยทำหน้า

ที่ ระลึก ซึ่งจากคำถามที่ถามพอสรุปได้ว่า กำลังหมายความว่า กุศลขั้นทาน ขณะที่มี

สติ เป็นขณะที่ทำทานแล้ว หรือขณะที่ถวายทาน กับ ขณะที่คิดจะให้ทานแต่ยังไม่ได้

ให้ อย่างไหนมีสติ จะมีสติเฉพาะตอนที่ถวายทานหรือเปล่า หรือ แค่คิดที่จะให้แต่ยังไม่

ได้ให้มีสติไหม

เบื้องต้นพื้นฐานคือ สติเกิดร่วมด้วยกับจิตฝ่ายดี ขณะใดที่ที่กุศลจิตเกิดจะต้องมีสติเกิด

ร่วมด้วยเสมอ ซึ่งขณะที่คิดที่จะให้ ถ้าไม่มีจิต จะคิดไม่ได้เลย ดังนั้นขณะที่คิดที่จะให้แต่

ยังไม่ได้ให้ คิดเกิดแล้ว จิตเกิดแล้ว จิตทีเป็นกุศลเกิดแล้ว เพราะคิดดี คิดที่จะให้ขณะนั้น

เมื่อ กุศลจิตเกิดขึ้น คิดที่จะให้ แม้ยังไม่ให้ก็ตาม สติระลึกที่จะให้ ตั้งใจที่จะให้นั่นเอง

ครับ ดังนั้น แม้ยังไม่ได้ให้ แต่คิดตั้งใจที่จะให้ ก็มีสติเกิดร่วมด้วยเพราะเป็นกุศลจิต เพียง

แต่กรรมคือการให้ทานยังไม่สำเร็จครับ กุศลจิตที่คิดก่อนจะให้ จึงเรียกว่า ปุพพเจตนา

(เจตนาก่อนให้) ซึงก็มีสติเกิดร่วมด้วย และขณะที่กำลังให้ทาน ก็มีสติเกิดร่วมด้วยเพราะ

เป็นกุศลจิตขณะที่กำลังให้ เรียกว่า มุญจนเจตนา (เจตนาขณะให้) และจากคำถามที่ให้

ทานไปแล้ว และระลึกถึงทานนั้นก็เป็นกุศลจิต มีสติเกิดร่วมด้วยเช่นกัน เรียกว่าอปรเจตนา

(เจตนาหลังให้)

สรุป คือ ไม่ว่าจะคิด ตั้งใจก่อนให้ทาน แม้ยังไม่ได้ให้ก็มีสติเกิดร่วมด้วย ขณะที่ให้ก็มี

สติเกิดร่วมด้วย หลังให้แล้วระลึกถึงทานที่ให้ก็มีสติเกิดร่วมด้วย เหตุผลเพราะเป็นกุศลจิต

สติจึงเกิดร่วมด้วย

ส่วนถ้าเป็นการเจริญสติปัฏฐาน สติจะต้องเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นไปใน

ขณะที่ให้ทานครับ ไม่ใช่ขณะที่ให้ทานไปแล้ว แล้วไประลึกทีหลัง เพราะขณะนั้นคิดนึก

ถึงสิ่งที่ดับไปแล้ว ไมไ่ด้รู้ตัวลักษณะของกุศลขั้นทานจริงๆ เพราะไม่ไ่ด้เป็นปัจจุบันครับ

เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน จะต้องมีปรมัตถธรรม คือ ตัวกุศลจิตที่กำลังให้ทานอยู่เป็นอารมณ์

และสติปัฏฐานก็สามารถเกิดระลึกรู้ลักษณะของจิตที่คิดจะให้ แม้ยังไม่ได้ให้ก็ไ้ด้ เพราะ

ขณะนั้น มีสิ่งที่มีจริง คือ จิตที่เป็นกุศลในขณะั้เป็นปัจจุบันอารมณ์ สติปัฏฐานก็สามารถ

เกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เ่ป็นกุศลที่คิดจะให้ แม้ไม่ไ้ด้ให้ครับ และรู้ว่ากุศลจิตใน

ขณะนั้น เป็นธรรมไม่ใช่เรา ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คนไทยพบธรรม
วันที่ 11 ต.ค. 2554

ขอขอบพระคุณในกุศลจิตด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 11 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สติ เป็นธรรมที่มีจริงประการหนึ่ง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่ใช่เรา สติ เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เกิดร่วมกับจิตที่ดีงามทุกประเภท สติ เป็นสภาพธรรมที่ระลึกได้ เป็นไปในกุศล ทั้งในขั้นของทาน ศีล และ ภาวนา (การอบรมเจริญความสงบของจิต และ การอบรมเจริญปัญญา) ทุกครั้งที่จิตฝ่ายดีเกิดขึ้น ก็จะมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้งจะเห็นได้ว่า ชีวิตในวันหนึ่งๆ ของแต่ละบุคคล ที่เต็มไปด้วยกุศล เต็มไปด้วยอวิชชา ความหลง ความไม่รู้ ขณะนั้นหลงลืมสติ เพราะจิตเป็นกุศล ไม่เป็นกุศล ในขณะที่จิิตเป็นอกุศล จะไม่มีสติเกิดร่วมด้วยเลย ไม่สามารถที่จะพิจารณาสภาพธรรมในชีวิตประจำวันได้ตามความเป็นจริง จนกว่าสติจะเกิดเมื่อใด มีการระลึกได้แม้ในเหตุในผล ในความถูกต้อง ในความเหมาะควรในชีวิตประจำวัน ขณะใด ขณะนั้นก็เป็นการเกิดขึ้นของสติ ซึ่งไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้เลย สติ เมื่อได้เหตุได้ปัจจัยก็เกิดขึ้น เมื่อกล่าวถึงสติ แล้ว ก็จะเข้าใจได้ว่า สติเจตสิกมีลักษณะระลึก ระลึกเป็นไปในกุศลธรรม เมื่อเกิดกับกุศลขั้นใดก็กระทำกิจระลึก กล่าวคือ สติขั้นทาน ก็ระลึกเป็นไปในการให้ทาน ไม่หลงลืมที่จะให้ทาน สติขั้นศีล ก็ระลึกเป็นไปในศีล มีการวิรัติงดเว้นจากทุจริตทางกายวาจา และประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่ถ้าเป็นสติขั้นที่เป็นสติ-ปัฏฐานแล้ว ก็จะระลึกรู้ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ โดยไม่เลือกไม่เจาะจง ขึ้นอยู่กับว่าสภาพธรรมใดจะปรากฏแก่สติ แม้แต่ในการให้ทาน ก็มีสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนั้น ก็สามารถเป็นที่ตั้งให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำัลังปรากฏในขณะนั้น ได้ ไม่ได้จำกัดเลย เพราะสติปัฏฐาน จะต้องระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปราฏในขณะณี้ เท่านั้นจริงๆ ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริง ได้แก่ นามธรรม และ รูปธรรม สิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องมีความเข้าใจถูกเห็นถูกในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง จึงจะมีเหตุปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดได้ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pat_jesty
วันที่ 11 ต.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 12 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 13 ต.ค. 2554

ขณะที่หลงลืมสติเ็ต็มไปด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ แต่ถ้าสติเกิดก็ระลึก

ไปในทาน ศีล ภาวนา เช่น ขณะที่ให้ทาน กำลังให้ทาน ให้ไปแล้วก็ยินดี

ขณะนั้นจิตเป็นกุศลมีสติเกิดร่วมด้วย แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐานก็ต้องประกอบด้วยปัญญา

ที่ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 26 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ