บางคนเข้าใจผิดว่า มีสติอยู่ตลอดหรือใช้สติได้

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  2 ก.ย. 2549
หมายเลข  1989
อ่าน  1,411

บางคนเข้าใจผิดว่า มีสติอยู่ตลอด หรือ ใช้สติได้ เช่น เมื่อขับรถอยู่ ก็รู้ตัวว่าขับอยู่ เมื่อเดินข้ามถนนก็รู้ตัวว่าเดินข้ามถนนอยู่ คือ การรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ว่าทำอะไรอยู่นั้น เข้าใจว่าเป็นลักษณะของสติ แต่สติในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นในพระอภิธรรมปิฏกกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า สติเป็นเจตสิกที่ต้องเกิดกับโสภณจิตเท่านั้น เกิดกับอกุศลจิตไม่ได้เลย

เมื่อผู้ไม่ศึกษา ก็อาจเข้าใจผิดว่านั่นเป็นสติหรือกำลังใช้สติ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา รวมทั้งสติก็เป็นอนัตตา มีเหตุปัจจัย สติจึงเกิดขึ้นทำกิจของสติ ไม่มีตัวเราใช้สติ ต้องอาศัยการอบรมเจริญ เริ่มต้นด้วยการฟังธรรมให้เข้าใจ

ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าที่ท่านเข้าใจว่า เป็นสติหรือเข้าใจว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ถูกต้องเทียบเคียงกับพระธรรมวินัยเท่านั้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suthon
วันที่ 3 ก.ย. 2549

อยากเรียนถามทางมูลนิธิฯ ว่า พระอภิธรรมที่ว่านี้ อยู่ในหมวดใดในพระไตรปิฏก ในหมวดมรรคมีองค์แปด มีสัมมาสติได้ และมิจฉาสติจะมีไม่ได้หรือครับ อย่าอ้างคัมภีร์อภิธรรมมัธยสังคหะเลย ผมเข้าใจว่าคัมภีร์นี้ไม่ใช่พระไตรปิฏก ผิดถูกอย่างไรชี้แนะด้วยครับ และที่ครั้งก่อนทางมูลนิธิอ้างพระสูตรที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้มีญาณทัศนะอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่ได้แปลว่าท่านจะไม่มีสติเกิดดับต่อเนื่องตลอดเวลานี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
saowanee.n
วันที่ 3 ก.ย. 2549

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย

เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยสติ ท่านจะไม่มีการหลงลืมสติเลยค่ะ เพราะถ้าหลงลืมสติเมื่อไหร่ จิตขณะนั้นเป็นอกุศลและไม่จำเป็นว่าจะต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วยอยู่ตลอดเวลา เพราะมหากิริยา ๘ ดวงมี ๔ ดวงที่ไม่เกิดร่วมกับปัญญาค่ะ

ส่วนพระอภิธรรมปิฎกเป็นปิฎกหนึ่งในสามปิฎกค่ะ เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคฯตรัสรู้ (และทรงโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านพระสารีบุตรได้ทรงจำและนำมาเผยแพร่ในโลกมนุษย์) เป็นสภาวธรรมล้วนๆ ลึกซึ้งและยากแก่การเข้าใจ ถ้าไม่มีอรรถกถาและคัมภีร์รุ่นหลังๆ ช่วยอธิบาย ก็ยากเกินกว่าปัญญาของปุถุชนในยุคนี้จะเข้าใจได้

เพราะฉะนั้น จึงควรเห็นความกรุณาของท่าน จากตัวอย่างที่ท่านยกมาคืออภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งรจนาโดยท่านพระอนุรุทธาจารย์ เป็นการประมวลและอธิบายพระอภิธรรมปิฎกโดยแบ่งออกเป็น ๙ ปริเฉท ซึ่งรายละเอียดท่านคงต้องศึกษาเพิ่มเติมเองนะคะ อย่างไรก็ตามพระไตรปิฎกเปรียบเสมือนแม่แบบ เพราะฉะนั้นตำรา คัมภีร์ หรือหนังสือใดๆ จะต้องสอดคล้องกับพุทธพจน์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
shumporn.t
วันที่ 4 ก.ย. 2549

อนุโมทนา สาธุ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ฟาง
วันที่ 4 ก.ย. 2549

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khan
วันที่ 16 มิ.ย. 2553

จิตและเจตสิกทำงานร่วมกันตลอดทุกขณะ แต่ทำไมจิตจึงมีมากกว่าเจตสิกคะ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 16 มิ.ย. 2553

เรียน ความเห็นที่ 5

ตามหลักคำสอนแสดงว่าเมื่อจำแนกจิตต่างกันเป็นประเภทต่างๆ โดยอารมณ์บ้าง โดยสัมปยุตตธรรมบ้าง โดยภูมิบ้าง จิตจึงมีจำนวนมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 29 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ