นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เป็นอย่างไร ?

 
อินทวัชร
วันที่  21 ต.ค. 2554
หมายเลข  19921
อ่าน  1,447

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

. สัลเลขสูตร

การละทิฏฐิ

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้

มีหลายประการ ประกอบด้วยอัตตวาทะบ้าง ประกอบด้วยโลกวาทะบ้าง

ย่อมเกิดขึ้นในโลก ก็ทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด ย่อมนอน

เนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และฟุ้งขึ้นในอารมณ์ใด เมื่อภิกษุเห็นอารมณ์นั้น

ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เรา

ไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสลัด

ทิ้งซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้.ขอถามคำว่า "นั่นไม่ใช่ของเรา" เป็นอย่างไร?
"เราไม่ใช่นั่น" เป็นอย่างไร?
"นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา" เป็นอย่างไร?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 22 ต.ค. 2554

พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นการแสดงความเป็นจริงของสภาพธรรม ว่าเป็นเพียงสภาพธรรม เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา เมื่อปัญญาเกิดขึ้นย่อมรู้ตามเป็นจริงว่าสภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้น

"นั่นไม่ใช่ของเรา" "เราไม่ใช่นั่น" "นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา"

แต่ปุถุชนผู้บอดเขลาย่อมยึดถือสิ่งที่กำลังปรากฏด้วยอำนาจตัณหาว่า
นั่นของเรา ยึดถือด้วยอำนาจมานะว่า เราเป็นนั่น ยึดถือด้วยอำนาจของทิฏฐิว่า นั่นเป็นตัวตนของเราดังคำอธิบายในบาลีว่าบทว่า เอตํ มม (นั่นของเรา) เป็นทิฏฐิมีความสำคัญเพราะตัณหาเป็นมูลบทว่า เอโสหมสฺมิ (เราเป็นนั่น) เป็นทิฏฐิมีความสำคัญ เพราะมานะเป็นมูล.บทว่า เอโส เม อตฺตา (นั่นเป็นตัวตนของเรา) มีความสำคัญเพราะทิฏฐินั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 296

คำว่า เอตํ มม นั่นของเรา เป็นการยึดถือด้วยอำนาจตัณหา.

ความวิปริตแห่งตัณหา ๑๐๘ เป็นอันถือเอาด้วยคำนั้น.


บทว่าเอโสหมสฺมิ เราเป็นนั่น เป็นการยึดถือด้วยอำนาจมานะ. มานะ ๙ เป็นอันถือเอา
ด้วยคำนั้น. บทว่า เอโส เม อตฺตา นั่นคืออัตตาของเรา เป็นการยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ. ทิฏฐิ ๖๒ ....

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อินทวัชร
วันที่ 23 ต.ค. 2554

ขออนุโมทนาครับ ท่านกรุณายกพระสูตร ผมสงสัย อ่านแล้ว ขอสนทนาครับ

"ยึดถือด้วยอำนาจตัญหา มานะ ทิฎฐิ" ด้วยความพอใจ และไม่พอใจในอารมณ์หรือ?

เช่น ชื่นชมนิยม ยกย่อง หรือ ตำหนิ รังเกียจ ดูแคลนบุคคล เพราะยึดว่าเป็นเราหรือ?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 23 ต.ค. 2554

เรียนคุณอิทวัชร การยึดถือด้วยอำนาจ ตัณหา เช่น เห็นรูปที่สวย ได้ยินเสียงไพเราะได้กลิ่มหอม ลิ้มรสที่อร่อย เป็นต้น แล้ว ชอบ พอใจ ชือว่ายึดถือด้วยตัณหา ส่วน

การยึดถือด้วยอำนาจมานะ เช่น เราเป็นคนรวย เราเป็นคนสวย เราเรียนเก่ง เราไม่เก่ง

เรามันจน เรามียศสูง เป็นต้น ส่วนยึดถือด้วยทิฏฐิ เช่น โลกเที่ยง มีผู้สร้าง ตาย

แล้วสูญไม่เกิดอีก เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นไปพร้อมกับโสมนัสหรืออุเบกขาก็ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
orawan.c
วันที่ 23 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 5 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ