การเดินเวียนรอบศาสนสถาน

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  4 พ.ย. 2554
หมายเลข  19962
อ่าน  9,916

กราบอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

กาลนี้กราบรบกวนเรียนสอบถามอาจารย์ เพื่อประโยชน์กับผู้อื่น และ เพื่อความชัดเจนเข้าใจถูกต้องตรงตามความที่ควรเป็น

๑ การเวียนรอบศาสนสถานเพื่อวัตถุประสงค์ใด (โบราณกาล-ปัจจุบันกาล) ในวันสำคัญ

ทางพุทธศาสนา

๒ สำคัญอย่างไรกับการเวียน ทางขวา หรือ ทางซ้าย

๓ สำคัญอย่างไรกับจำนวนรอบที่ควรเวียน

กราบขอบพระคุณอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูง และ อนุโมทนากุศลจิตของผู้่สอบถามด้วยความใฝ่รู้เรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 4 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ดังนี้ ครับ พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น อุปการะเกื้อกูลเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส เพราะกิเลสที่มีมาก ถ้าไม่ได้อาศัยการขัดเกลา ด้วยกุศลธรรม แล้ว ก็ไม่สามารถจะทำให้กิเลสเบาบางลงได้เลย จากประเด็นคำถามนั้น ก็สามารถพิจารณาได้ ดังนี้ ๑ การเวียนรอบศาสนสถานเพื่อวัตถุประสงค์ใด (โบราณกาล-ปัจจุบันกาล) ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา การเวียนรอบศาสนสถาน เป็นการแสดงออกถึงความเคารพสักการะบูชาต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ โดยมีกุศลจิต เป็นเครื่องบูชา ขณะที่น้อมบูชาสักการะในสิ่งที่ควรบูชา นั้น เป็นกุศลจิต เป็นสภาพจิตที่อ่อนโยน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับขณะจิตที่เป็นอกุศลอย่างสิ้นเชิง, แต่ละบุคคลก็มีความประพฤติเป็นไปตามการสะสม ถึงแม้ว่าจะมีการกระทำอย่างเดียวกัน แต่สภาพจิตอาจจะต่างกัน ก็ได้ อกุศลจิต อาจจะเกิดแทรกสลับกับกุศลจิตในขณะนั้น ก็ได้ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ๒ สำคัญอย่างไรกับการเวียน ทางขวา หรือ ทางซ้าย ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา จะมีคำว่า ปทักษิณ (แปลว่าเดินเวียนขวา,หรือเดินให้ขวา ซึ่งเป็นการหันด้านขวาให้ในสิ่งที่ควรสักการะบูชานั้นๆ ) เช่น ปทักษิณ ต้นพระศรีมหาโพธิ ปทักษิณพระคันธกุฎี เป็นต้น หรือแม้กระทั่งเวลาที่พุทธศาสนิกชนเข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว เมื่อจะกราบทูลลากลับไปยังที่อยู่ของตนๆ ก็ทำการเคารพนอบน้อมด้วยการกระทำปทักษิณ ดังที่กล่าวมา ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเคารพอย่างหนึ่ง ๓ สำคัญอย่างไรกับจำนวนรอบที่ควรเวียน ขึ้นอยู่สภาพจิต เป็นสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจำนวนรอบที่เวียน หรือ การกระทำปทักษิณ จะเป็น ๓ รอบ [แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้าไม่ถึง ๓ รอบแล้วจิตจะไม่เป็นกุศล สำคัญจึงอยู่ที่สภาพจิตจริงๆ ] เพื่อน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย อันเป็นรัตนะีที่ประเสริฐ ๓ ประการ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระธรรม และ พระอริยสงฆ์ ซึ่งเป็นการนอบน้อมสักการะบูชาในสิ่งที่ควรแก่การสักการะบูชา สิ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุด คือ ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ให้เข้าแล้ว แล้วน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม เพราะเมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น กุศลธรรมก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นในชีวิตประจำวัน ตามระดับขั้นของความเข้าใจ ความเข้าใจพระธรรม จะเป็นเครื่องนำทางชีวิตให้น้อมไป ให้เป็นไปในทางที่เป็นกุศล ยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นไปเพื่อการขัดเกลากกิเลสของตนเอง ครับ. ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ถามเรื่องการเวียนเทียน ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 4 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์คำปั่นและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 4 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระะรัตนตรัย

๑ การเวียนรอบศาสนสถานเพื่อวัตถุประสงค์ใด (โบราณกาล-ปัจจุบันกาล) ในวันสำคัญ ทางพุทธศาสนา -------------------------------------------------------------------------------------- ในสมัยพุทธกาล เมื่ออุบาสก อุบาสิกา ฟังพระธรรมเสร็จเรียบร้อยจากพระพุทธเจ้า เมื่อ

จะกลับไป ก็จะเดินเวียนขวา 3 รอบ แสดงถึงความเคารพ และอีกประการหนึ่งที่สำคัญ

คือ แม้ในขณะที่เดิน ก็ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ตามความ

เป็นจริง อันแสดงถึงความเคารพในขณะนั้นครับ มาในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าปรินิพพาน

แล้ว แต่มีศาสนสถาน มี พระเจดีย์ เป็นต้น ที่เป็นเหมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า การ

กระทำความเคารพและระลึกถึงพระคุณของพระองค์ก็ด้วยการเดิน วน 3 รอบ แต่ไม่ใช่

เดินวนเฉยๆ เท่านั้น แต่ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ตาม

ความเป็นจริง จึงเป็นการเดินเวียน 3 รอบด้วยความเคารพ ด้วยการะลึกถึงคุณของพระ

รัตนตรัยครับ นี่คือวัตถุประสงค์ของการเดินวน 3 รอบที่แท้จริง ซึ่งก็จะได้ประโยชน์จาก

เดินวน 3 รอบด้วยกุศลจิต คือ การเคารพ พระรัตนตรัย และการระลึกถึงคุณของพระ

รัตนตรัยในขณะที่เดินครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

๒ สำคัญอย่างไรกับการเวียน ทางขวา หรือ ทางซ้าย

----------------------------------------------------------------------------

สำหรับประเพณีในสมัยพุทธกาลนั้น ซึ่งในพระไตรปิฎกได้แสดงไว้ครับว่าการไม่

เคารพ คือ การรับโดยข้างซ้าย ส่วนการเคารพนั้น คือ การรับโดยข้างขวา ดังนั้นใน

สมัยพุทธกาล จึงมีการวนไปทางขวา ไม่ใช่วนไปทางซ้ายครับ ข้อความแสดงถึงเรื่อง ด้านซ้ายไม่เคารพ ด้านขวาเป็นการเคารพครับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ บทว่า อปทกฺขิณคฺคาหี อนุสาสนึ ความว่า ก็ภิกษุใด เมื่อถูกว่ากล่าว จึงพูดว่า ท่านทั้ง

หลายว่ากล่าวผมเพราะเหตุไรผมย่อมรู้สิ่งที่ควรและไม่ควร โทษและไม่ใช่โทษประโยชน์

และไม่ใช่ประโยชน์ของตน ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่รับคำพร่ำสอนโดยเบื้องขวา ย่อมรับโดย

เบื้องซ้าย เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ.

------------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒-393

สองบทว่า ปทกฺขิณคฺคาหี อนุสาสนี ความว่า ผู้ไม่กระทำเหมือนบุคคลบางคน พอถูก

เขาโอวาทก็รับโดยเบื้องซ้าย แตกแยกกันไป หรือไม่ฟังไปเสีย ย่อมรับเบื้องขวาด้วย

กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงโอวาท จงตามสอนเถิด เมื่อท่านไม่โอวาท คนอื่นใคร

เล่า จักโอวาทดังนี้.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * ๓ สำคัญอย่างไรกับจำนวนรอบที่ควรเวียน --------------------------------------------------------------------------------------- ตามที่กล่าวแล้วครับว่า การเดินวนรอบ ทำปทักษิณ ไม่ใช่เพียงการเดินวนเท่านั้น แต่

เป็นการน้อมระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ตามความเป็นจริง

ในขณะที่เดิน ดังนั้น จึงมีการเดินจำนวน 3 รอบ เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า คุณ

ของพระธรรม และคุณของพระสงฆ์ จำนวน 3 รอบ ตาม พระคุณของพระรัตนตรัยที่ มี 3

ประการครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 4 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผิน
วันที่ 4 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 6 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ