๓. บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์คนอื่นด้วยเป็นไฉน ?
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 379
[๑๓๔] ๑. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์คนอื่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แต่ไม่
ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง แต่ไม่
ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง แต่
ไม่ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
ด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่าง
นี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น.
๒. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น แต่ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แต่ชักชวน
ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง แต่ชักชวนคน
อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง แต่ชักชวนคน
อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง แต่ชักชวนคนอื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง แต่
ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์คนอื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน.
๓. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์คนอื่นด้วย เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเองด้วย ชักชวน
ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเองด้วย ชักชวนคนอื่นให้
ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเองด้วย
ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตน
เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ-
ญาณทัสสนะด้วยตนเองด้วยชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย
บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย.
๔. บุคคล ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์คนอื่น เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีลไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง ไม่
ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น.
อรรถกถาบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเป็นต้น
วินิจฉัยในดีว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นต้น. บทว่า
"สีลสมฺปนฺโน" ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมแล้ว คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล. ในบุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในคำว่า ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย
ศีลเป็นต้นนั้น ศีล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทั้งโลกียศีล และ โลกุตตรศีล.
สมาธิและปัญญา ก็เหมือนกัน. วิมุตติ ได้แก่ วิมุตติแห่งอรหัตตผล.
วิมุตติญาณทัสสนะ ได้แก่ปัจจเวกขณญาณ มี ๑๙ อย่าง.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า "โน ปรํ" เป็นต้น ก็บุคคลกล่าวกับผู้อื่น
ว่า แม้ท่านก็สมควรถึงพร้อมด้วยศีล แต่ตนเองสมาทานศีลโดยวิธีใด ย่อม
ไม่ชักชวน ไม่ยังบุคคลอื่นให้ถือเอาโดยวิธีนั้น, ในทุกๆ บท ก็มีนัยนี้เหมือนกัน
. ก็บรรดาบุคคล ๔ จำพวกเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า บุคคลพวกที่ ๑
ย่อมเป็นเช่นกันพระเถระ ชื่อว่า พกุละ. พวกที่ ๒ เป็นเช่นกับ พระอุปนันท-
ศากยบุตร พวกที่ ๓ เป็นเช่นกับ พระสารีบุตรเถระ และ พระ-
โมคคัลลานเถระ. พวกที่ ๔ เป็นเช่นกับ พระเทวทัต.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
๑. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์คนอื่น เป็นไฉน? คือ บุคคลที่ มี ศีล สมธิ ปัญญา แต่ไมได้สอนให้ผู้อื่นรู้ตาม คือ ไม่ได้แนะนำ ชักชวน
ประโยชน์ของตนมีอยู่ คือ ได้ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว แต่ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของ
ผู้อื่น คือ ไม่ได้แนะนำ ชักชวนให้ผู้อื่นมี ศีล สมาธิ ปัญญาด้วยครับ เช่น ท่านพระนาฬกะ
ท่านบรรลุธรรมแล้ว แต่ก็ไมได้แนะนำ สั่งสอน ชักชวนใครครับ๒. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น แต่ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน เป็นไฉน?
บุคคลนี้ ไม่มีคุณธรรม คือ ศีล สมาธิและปัญญา แต่ก็สั่งสอน แนะนำผู้อื่นให้มีศีล สมาธิ
ปัญญา เช่น ท่านพระอุปนันทะ ท่านพระอุปนันทะ กล่าวธรรมได้ดี ได้เก่ง ทำให้พระภิกษุ
ทั้งหลาย คล้อยตาม แต่ตัวท่านเองไม่ได้ปฏิบัติตามพรธรรมที่ได้กล่าวครับ
๓. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์คนอื่นด้วย เป็นไฉน?
บุคคลที่มีคุณธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว และก็ยังแนะนำ สั่งสอน ชักชวนให้ผู้อื่นรู้
ตามด้วย ดังเช่น ท่านพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลานะครับ
๔. บุคคล ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น เป็นไฉน?
บุคคลที่ไม่มีคุณธรรม คือ ศีล สมาธิและปัญญาเลย และก็ไม่แนะนำให้ผู้อื่น มีศีล สมาธิ
ปัญญา แต่แนะนำในสิ่งที่ไม่ดี เช่น ท่านพระเทวทัต เป็นต้น ครับ
ซึ่ง บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์คนอื่นด้วย มีหลากหลายนัยในพระ
ไตรปิฎกครับ มีดังนี้ครับ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 276
๙. สิกขาสูตร
บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ทั้งเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานด้วยตน
เอง ทั้งชักชวนผู้อื่นเพื่อละเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน อย่างนี้
แล บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 444
ชีวกสูตร ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรอุบาสกชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น. พ. ดูก่อนชีวก เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเองและชักชวน
ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึง
พร้อมด้วยศีล ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นในการเห็นภิกษุ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่
เพื่อฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นในการฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตน
เองฟังแล้วและชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรม
ที่ตนฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้
ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่
ธรรม ๑ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อ
ประโยชน์ผู้อื่น. ขออนุโมทนาคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาัสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยครับ ความประพฤติเป็นไปของแต่ละบุคคล เป็นไปตามการสะสม จึงมีบุคคลแตกต่างกันมากมาย ตามความประพฤติเป็นไป นั่นเอง ไม่พ้นไปจากธรรม เลย เป็นธรรมทั้งหมด เพราะมีธรรม เิกิดขึ้นเป็นไป จึงสมมติว่าเป็นคนนั้น คนนี้ มีอัธยาศัย อย่างนั้น อย่างนี้ เป็นต้น บุคคลผู้ที่เป็นคนดี นอกจากท่านจะคิดในสิ่งที่ดี กระทำในสิ่งที่ดี และ พูดในสิ่งที่ดี มีประโยชน์แล้ว ยังมีจิตอนุเคราะห์ที่จะให้ผู้มีความประพฤติในสิ่งทีี่ดีงามเหล่านั้น ด้วย เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น โดยตรง และตามความเป็นจริงแล้ว ในขณะที่มุ่งอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น นั้น ขณะนั้น ก็เป็นประโยชน์ตน ด้วย เพราะมีสภาพจิตที่ดีงามเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์โดยส่วนเดียว หาโทษมิิได้เลย ครับ ...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่านด้วยครับ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิต
ของคุณผดิม คุณผู้ร่วมเดินทาง คุณคำปั่น และ ทุกท่านครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิต
ของคุณผดิม คุณผู้ร่วมเดินทาง คุณคำปั่น คุณหมอ และ ทุกท่านด้วยครับ