พระมีกิจมาก

 
ทอง
วันที่  8 พ.ย. 2554
หมายเลข  19990
อ่าน  1,667

สมัยนี้พระมีกิจมาก จะมีเวลาไปละกิเลสไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สำหรับพระภิกษุ เมื่อบรรพชา บวชแล้ว ย่อมเป็นผู้สละทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นผู้เว้นทั่ว

จากอกุศลด้วยการอบรมปัญญา ด้วยจุดประสงค์สูงสุดของการบวชเป็นพระภิกษุ คือ เพื่อ

ดับกิเลส ไม่ใช่อย่างอื่น ซึ่งหน้าที่ หรือ กิจของพระภิกษุที่ถูกต้อง มี 2 อย่างตามที่พระ

พุทธเจ้าทรแสดงไว้ คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ

คันถธุระ คือ กิจ หน้าที่ของพระภิกษุ ในการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ที่เป็นพระไตรปิฎก

วิปัสสนาธุระ คือ กิจ หรือ หน้าที่ของพระภิกษุ ที่จะต้องอบรมปัญญา เพื่อดับกิเลส อัน

อาศัยการศึกษาพระธรรม

ดังนั้นกิจอื่น ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือชาวบ้าน ไม่ใช่กิจของพระภิกษุ การ

ช่วยเหลือวัดต่างๆ ด้วยปัจจัย สร้างศาสนาวัตถุ เป็นต้น ก็ไม่ใช่กิจของพระภิกษุ หากพระ

ภิกษุเป็นผู้ทึ่ศึกษาพระธรรม ก็จะเข้าใจถูกว่า กิจที่ควรทำนั้นคืออะไร ดังนั้นมีกิจมาก ก็

ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นกิจที่ไม่สมควรสำหรับเพศพระภิกษุ พระภิกษุควรเป็นผู้มีกิจน้อย

และหากเป็นผู้ที่ศึกษาพระธรรม อบรมกิจ 2 อย่าง คือ ศึกษาพระธรรม (คันถธุระ) และ

อบรมปัญญา (วิปัสสนาธุระ) ก็จะไม่มีการกล่าวได้เลยว่า ไม่มีเวลาละกิเลส เพราะขณะที่

ศึกษาพระธรรม และเข้าใจพระธรรม ปัญญาเจริญ ขณะนั้นเป็นเวลาละกิเลส ละความไม่รู้

แล้วในขณะนั้นครับ หากประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ

พระธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นพระธรรมที่เป็นไปเพื่อละกิเลสอยู่แล้วครับ ดังนั้นกิเลส

เกิดได้ในชีวิตประจำวัน ก็สามารถละได้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการศึกษา อบรมปัญญาตาม

ที่กล่าวมาครับ พระธรรมไม่เปลี่ยนไปเลยตามกาลเวลา และไม่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย แม้

ในอดีต จนถึงปัจจุบัน สำคัญเพียงว่า สัตว์โลกจะศึกษาและเข้าใจในพระธรรมหรือไม่

เพราะหากไม่เข้าใจก็สำคัญกิจอื่นว่าเป็นกิจของตน และไมสำคัญกิจที่ควรอบรม คือ การ

ละกิเลสก็ด้วยการศึกษาพระรรม อบรมปัญญานั่นเองครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

กิจที่ถูกต้องของภิกษุ [มหาปาละบรรพชาอุปสมบท] ภิกษุพึงเป็นผู้มีกิจน้อย

มิใช่กิจของสงฆ์ [พรหมชาลสูตร]

กิจรีบด่วนของชาวนาและภิกษุ [อัจจายิกสูตร]

กิจที่ต้องทำคือสิกขา 3 [สมณสูตร]

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 8 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 8 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุ เป็นเพศบรรพชิต ซึ่งเป็นเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุนั้น ท่านเป็นผู้ที่เห็นโทษเห็นภัยของอกุศล เห็นโทษเห็นภัยของการอยู่ครองเรือนว่าเป็นที่หลั่งไหลมาของอกุศลประการต่างๆ มากมาย เมื่อบวชแล้ว มีความจริงใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วน้อมประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ความเป็นบรรพชิตรักษายากมาก ต้องเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปจริงๆ ถึงจะรักษาได้ทำให้ตนเองดำรงมั่นในพระธรรมวินัยและได้ประโยชน์สูงสุดคือ การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย รักษาความเป็นบรรพชิตไม่ได้ หรือ รักษาไม่ดี ย่อมเป็นที่แน่นอนว่ามีแต่จะคร่าไปสู่นรก เท่านั้น ซึ่งเป็นอันตรายมาก

การกระทำบางอย่างของพระภิกษุ ในสายตาของชาวโลก ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ดีควรกระทำ แต่ตามความเป็นจริงแล้ว บางอย่างบางเรื่อง ผิดพระวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าบัญญัติไว้ และจะผิดไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงควรย้อนกลับไปพิจารณาถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของการบวช ก็คือ เพื่ือศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสของตนเอง น้อมประพฤติตามในสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต และ งดเว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม ทั้งหมดทั้งปวงนั้น จะต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ อันเป็นกิจที่ถูกต้องและควรอย่างยิ่งที่จะกระทำ เมื่อพระภิกษุมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถเกื้อกูลใหู้ผู้อื่นได้เข้าใจด้วย ซึ่งเป็นการเกื้อกูลที่ดีที่สุดคือ เกื้อกูลให้ได้เข้าใจพระธรรม แต่สิ่งสำคัญ ตนเอง ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องก่อน เพราะถ้าไม่เข้าใจ หรือ เข้าใจผิดแล้ว ก็จะเป็นการแสดงในสิ่งที่ผิด เป็นอันตรายอย่างยิ่งทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 8 พ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิม อาจาย์คำปั่น และทุกท่านครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 8 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 9 พ.ย. 2554

...ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิต อ.คำปั่น และอ.ผเดิม ด้วยค่ะ...

สรุปว่า... ผู้ที่มีอัธยาศัยที่ได้สะสมมาที่จะเป็นเพศบรรพชิต สละอาคารบ้านเรือน

วงศาตณาญาติ เห็นโทษของอกุศล จึงบวชเข้ามาเพื่อประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม

วินัยโดยครบถ้วน เพื่อขัดเกลากิเลส เห็นโทษความติดข้องในวัตถุกาม ในรูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จึงไม่มีกิจอื่นที่จะสำคัญเท่ากับกิจที่จะประพฤติปฏิบัติตามพระ

ธรรมวินัยโดยครบถ้วน ด้วยการศึกษาพระธรรมวินัย และอบรมเจริญปัญญา ขัดเกลา

กิเลส จนกว่าจะหมดจดจากกิเลส...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ