การกราบไหว้

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  9 พ.ย. 2554
หมายเลข  19993
อ่าน  74,136

กราบอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

รบกวนสอบถามเรื่อง "การกราบ" ครับ เป็นธรรมดาของผู้ที่ใหม่ต่อการศึก

ษาพระธรรม จึงมีเรื่องไม่เข้าใจหลายเรื่อง ซึ่งบางเรื่องทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว

และ กระทำอยู่ แต่ไม่รู้ว่าทำไมต้องทำแบบนี้ ซึ่งไม่อยากที่จะทำตามโบราณ

โดยไม่เข้าใจ ขอความเมตตาด้วยนะครับ

๑ โดยที่ศึกษาในสถานศึกษา ก็พอทราบว่า การไหว้มีหลายระดับ ซึ่งแสดงต่อ

คนโดยต่างกันด้วย วัยวุฒิ และ คุณวุฒิ โดยระดับมือ นิ้ว ก็จรดต่างกันไปตาม

ที่สอนกันมา ซึ่งการกราบ กราบอย่างไรที่ถูกต้อง

๑.๑ กราบพระต้องแบมือ ๓ ครั้ง ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องแบมือ

๑.๒ กราบพ่อแม่ ไม่ต้องแบมือ (ที่เท้า ที่ตัก...)

๑.๓ กราบศพ จำไม่ได้ว่าแบหรือไม่แบ

ซึ่งเข้าใจว่า จิตที่กระทำด้วยความเคารพ สำคัญที่สุด แต่การแสดงออกด้วย

ความเหมาะสมตามโบราณกาล ก็ต้องพิจารณาด้วย

ขอบแสดงความนับถืออย่างสูงครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การไหว้ ในพระไตรปิฎกมี 2 อย่าง คือ ไหว้ด้วยกาย และไหว้ด้วยใจ การไหว้ หรือ

การกราบ มีได้เพราะอาศัย จิต เจตสิกและรูปทีเกิดขึ้น การไหว้ มีได้ทั้งที่เป็นกุศลจิต

และอกุศลจิตครับ ที่เป็นกุศลจิตก็ด้วยการเคารพในพระคุณของผู้นั้น หรือ ด้วยอกุศล

ก็เพราะความกลัวบุคคลนั้นจึงไหว้ หรือ เพราะต้องการประจบ เป็นต้น การไหว้จึงมี 4

อย่าง ดังนี้ครับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330 ก็การพนมมือไหว้นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ (ถวายมือ) เพราะเป็นญาติเพราะความกลัว

เพราะเป็นอาจารย์ และเพราะเป็นทักขิไณยบุคคล.

-------------------------------------------------------------------------------------

การกราบไหว้ด้วย กุศลจิต ก็ด้วยจิตที่นอบน้อมระลึกถึงพระคุณ เป็นต้น แม้ไม่ได้

แสดงออกมาก็เป็นการไหว้แล้วในขณะนั้นที่มีจิตเคารพ แต่เมื่อมีการแสดงออกมา

ทางกาย ก็มีลักษณะการไหว้ แตกต่างกันไปตามประเพณีของสังคมและตามสมัยนิยม

ในยุคนั้นที่กระทำกันครับ แม้ในสมัยเดียวกัน ยุคเดียวกัน การไหว้ก็มีลักษณะแตกต่าง

กันไปครับ เช่น ในสมัยพุทธกาล ก็มีการกราบไหว้ หลากหลาย แต่ก็ด้วยจิตที่เป็นกุศล

ในการไหว้นั้นครับ เช่น การทำอัญชลีกรรม อันนี้คงเคยได้ยิน คือ การไหว้โดย ยกมือ

ขึ้นเหนือศีรษะ 10 นิ้ว แบบดอกบัว ซึ่งในสมัยนั้นการไหว้พระทั้งหลาย ก็ไหว้ด้วย

อัญชลีกรรมมากมายครับ การไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า คือ

การกราบโดยให้อวัยวะ 5 ส่วนจดลงให้ติดกับพื้น คือเข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และหน้า

ผาก และการไหว้ด้วยการกราบเท้า เช่น ไว้พระพุทธเจ้าก็กราบที่พระบาท บางท่านก็จูบ

พระบาทและนวดพระบาท ก็มีครับ เช่น พรหมมายุพราหมณ์ไหว้พระพุทธเจ้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ไม่ว่าไหว้แบบใดก็แสดงถึงจิตที่นอบน้อมเคารพในบุคคลนั้นครับ แต่ไมได้กำหนด

ว่า ถ้ากราบไหว้แบบนี้ จะเกิดกุศลจิตมากกว่าแบบนี้ แบบนี้ผิด คงไม่ใช่ครับ จึงขอตอบ

ประเด็นในคำถามดังนี้ครับ

๑.๑ กราบพระต้องแบมือ ๓ ครั้ง ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องแบมือ

การไหว้พระ เช่น เบญจางคประดิษฐ์ แผ่นดิน ชื่อว่าเป็นส่วนที่ต่ำที่สุด การแสดง

ความเคารพ ก็แสดงกับผู้ที่พระคุณสูง จึงนำศีรษะส่วนที่สูงที่สุดของเรา หมอบลง

จรด พื้นดิน อันแสดงถึงความเคารพ ด้วยอวัยะที่สูงที่สุดของเรา จรด พื้นบริเวณที่ต่ำ

สุดครับ ซึ่ง การแบมือลงไป ก็เพื่อให้ศีรษะได้จรด กระทบพื้นแผ่นดิน หรือบริเวณที่ต่ำ

สุดนั่นเองครับ ไหว้กราบผู้มีพระคุณอันสูง อันเป็นการไหว้แบบเบญจางคประดิษฐ์

นั่นเอง เพราะถ้าไม่แบมือ ศีรษะก็จรดพื้นดินไม่ได้ครับ

๑.๒ กราบพ่อแม่ ไม่ต้องแบมือ (ที่เท้า ที่ตัก...) ตามที่กล่าวแล้วครับ การไหว้มีหลายแบบ แม้การไหว้เท้า หรือ แบมือให้ศีรษะจรดพื้น

ดินก็ได้ แม้พระพุทธเจ้า ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เมื่อกราบไหว้พระองค์บางท่านก็ไหว้ที่

พระบาทก็มี ไม่ได้แบบศีรษะจรดที่พื้นดิน ก็เป็นการแสดงความเคารพด้วยเช่นกัน การ

ไหว้ บิดา มารดา จะไหว้ด้วยศีรษะจรดพื้นดิน แบมือไหว้ก็ได้ไม่ผิด กุศลจิตที่แสดงออก

มาทางกายไม่ผิดครับ หรือจะไหว้ที่เท้าท่านก็ได้ครับ โดยไม่ต้องแบมือ

๑.๓ กราบศพ จำไม่ได้ว่าแบหรือไม่แบ

โดยทั่วไป ประเพณีที่ทำกัน การไหว้ กราบศพ คือ ไหว้ 1 ครั้ง และไม่แบมือ นี่ก็คือ

ประเพณีที่ทำกันมา ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ก็ไมได้กำหนดตายตัวว่าจะต้องแบมือหรือ

ไม่แบ เพราะขณะที่เราเคารพในผู้หลักผู้ใหญ่ระลึกถึงคุณของท่าน แม้ท่านจะล่วงลับ

ไปแล้วก็สามารถทำได้ ด้วยการไหว้แบบต่างๆ จะแบมือหรือไม่แบมือก็ไม่เป็นไรครับ

เคารพด้วยกุศลจิตเป็นสำคัญ แม้ในพุทธกาล ผู้ที่เคารพอาจารย์ก็ยกมือขึ้นศีรษะ

ประนมมือแบบดอกบัว 10 นิ้ว แม้การไหว้ก็ทำแบบนี้เช่นกัน เรียก อัญชลีกรรม ก็

สามารถทำกับศพได้ หากท่านมีพระคุณหรือเป็นอาจารย์ของเรามาก่อนครับ ก็ไหว้แบบ

อัญชลีกรรม แต่ถ้าทำกันในสมัยนี้ก็คงแปลกนะครับ แต่ตามที่กล่าวแล้ว การไหว้มีหลาก

หลาย ซึ่งก็สมควรเป็นไปตามสภาพจิตของบุคคลนั้นครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 9 พ.ย. 2554

กราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงสุดครับ

และ

ขออนุโมทนากุศลจิตที่กระทำการตอบอย่างละเอียดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การกราบไหว้ สำคัญอยู่ที่สภาพจิตจริงๆ แม้การแสดงออกทางกายอาจจะเหมือนกัน แต่สภาพจิต อาจจะแตกต่างกันก็ได้ เมื่อกล่าวถึงการกราบไหว้ ในทางพระพุทธศาสนา แล้ว ไม่ว่าจะปรากฏในลักษณะใด ก็เพื่อน้อมสักการะบูชาบุคคลผู้ควรแก่การสักการะบูชา มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์สาวก มารดาบิดาครูอาจารย์ เป็นต้น เป็นความประพฤติที่ดีงาม ที่มาจากจิตใจที่ดีงาม เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม ขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 9 พ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Graabphra
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"เมื่อกล่าวถึงการกราบไหว้ ในทางพระพุทธศาสนา แล้ว ไม่ว่าจะปรากฏ

ในลักษณะใด ก็เพื่อน้อมสักการะบูชาบุคคลผู้ควรแก่การสักการะบูชา

มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์สาวก มารดาบิดาครูอาจารย์ เป็นต้น เป็นความประพฤติที่ดีงาม ที่มาจากจิตใจที่ดีงาม เป็นไปเพื่อความเจริญ

ขึ้นของกุศลธรรม ขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน" ครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์คำปั่นและอาจารย์เผดิม ที่ช่วยให้

เข้าใจละเอียดมากขึ้นครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
nong
วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pamali
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
jaturong
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
peem
วันที่ 23 ต.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ