"เครื่องแบบภิกษุ" ตามในพุทธกาล

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  9 พ.ย. 2554
หมายเลข  19994
อ่าน  18,628

กราบอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

รบกวนเรียนสอบถามครับ (มีสนทนากันเพื่อศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนานะครับ)

๑.๑ "เครื่องแบบพระ" มีอะไรบ้างครับ

๑.๒ มีสามผืนหรือไม่ครับ นับจริงๆ มีหลายชิ้นนะครับ มีสบง ที่รัดเอว เสื้อ มีจีวร มีผ้าผืนใหญ่ที่พาดไหล่ ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมายอย่างไรครับ

๑.๓ ชิ้นที่พาดไหล่มีความสำคัญอย่างไรครับ และ ใช้ประโยชน์ตอนไหน อย่างไร

๑.๔ สำหรับภิกษุบางองค์เคยเห็นว่า มีเสื้อข้างในเป็นแขนยาว คล้ายเสื้อกันหนาว รัดรูป

กราบขออภัยด้วยนะครับ เพราะน้องที่ถามมานี้เป็นผู้หญิง คำถามจึงแยะไปนะครับ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูงครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เครื่องใช้สอยที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ มี 8 อย่าง ที่เรียกว่า อัฐบริขาร บริขาร 8 คือ

สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อน) บาตร มีดโกน เข็ม ประคดเอว ธมกรก (ที่กรองน้ำ)

๑.๑ "เครื่องแบบพระ" มีอะไรบ้างครับ

➢ ส่วนเครื่องแบบพระที่ท่านต้องนุ่งห่ม ใช้สอย มี สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อน) และประคดเอว ที่รัดเอวครับ

๑.๒ มีสามผืนหรือไม่ครับ นับจริงๆ มีหลายชิ้นนะครับ มีสบง ที่รัดเอว เสื้อ มีจีวร มีผ้าผืนใหญ่ที่พาดไหล่ ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมายอย่างไรครับ

➢ สบง คือผ้านุ่งของภิกษุสามเณรที่อยู่ข้างใน

จีวร เป็นผ้าห่มคลุมกายของพระภิกษุ

สังฆาฏิ คือ ผ้าห่มซ้อน คลุมกันหนาว ซึ่งปรกติพระภิกษุจะพับและพาดไว้บนบ่าซ้าย

๑.๓ ชิ้นที่พาดไหล่มีความสำคัญอย่างไรครับ และ ใช้ประโยชน์ตอนไหน อย่างไร

➢ คือ สังฆาฏิครับ ใช้ประโยชน์ตอนที่สำหรับกันหนาว ก็ห่มซ้อน จีวรได้ครับ แต่ภายหลังเป็นประเพณีนิยมรุ่นหลังที่จะต้องมาพาดบ่า ซึ่งสมัยพุทธกาลไม่มีครับ สังฆาฏิ หลักๆ คือ ผ้าที่ห่มซ้อนเพื่อป้องกันความหนาว หรือ บางครั้งในสมัยพุทธกาล ท่านพระอานนท์ก็นำสังฆาฏิ มาปูลาด ให้พระพุทธเจ้าประทับนั่งครับ

๑.๔ สำหรับภิกษุบางองค์เคยเห็นว่า มีเสื้อข้างในเป็นแขนยาว คล้ายเสื้อกันหนาว รัดรูป

กราบขออภัยด้วยนะครับ เพราะน้องที่ถามมานี้เป็นผู้หญิง คำถามจึงแยะไปนะครับ

➢ ไม่ได้ครับ เหมือนพวกคฤหัสถ์ ต้องแผ่นผ้านะครับ แบบ สบง จะเป็นเหมือนเสื้อกันหนาว แขนยาวดังเช่นคฤหัสถ์ไม่ได้ครับ

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ประเชิญที่อธิบายในประเด็นนี้ให้เข้าใจครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตที่ร่วมสนทนาและกุศลจิตของทุกท่านครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 9 พ.ย. 2554

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ และ อนุโมทนากุศลจิตที่มีในการเอื้อเฟื้อนี้ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุ เป็นเพศบรรพชิต ที่เป็นเพศที่แตกต่างจากคฤหัสถ์อย่างสิ้นเชิง โดยแตกต่างทั้งสรีระ ที่จะต้องปลงผมและหนวด และแตกต่างทั้งบริขารเครื่องใช้ต่างๆ ดังนั้น สภาพชีวิตความเป็นอยู่ เครื่องแต่งกาย รวมไปถึง ปัจจัยเครื่องอาศัยที่จะทำให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ ก็จะต้องเหมาะสมกับกับความเป็นบรรพชิตซึ่งเป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง เครื่องแต่งกายของพระภิกษุ ย่อมไม่พ้นไปจากผ้า ๓ ผืน คือ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และผ้าห่มซ้อน ส่วนเครื่องแต่งกายที่เหมือนกับเครื่องแต่งกายของคฤหัสถ์ รวมถึง หมวกกันหนาว ด้วย นั้น ไม่ถูกต้องตามพระวินัย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 9 พ.ย. 2554

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจาย์ผเดิม อาจารย์คำปั่น และทุกท่านครับ แม้แต่เรื่องผ้าห่มกายก็ต้องละเอียดตามพระวินัย การดัดแปลงเพิ่มเติมย่อมนำมาซึ่งกิเลสที่ซ่อนเร้นจริงๆ ติดตามมาโดยไม่รู้เลยครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ