วิเวก ๓ [ปริสาสูตร]
อรรถของวิเวก
วิเวก หมายถึง การสงัดจากอกุศลธรรม ได้แก่
กายวิเวก (สงัดกาย) คือ ความสงัดของกาย หมายถึง การไม่คลุกคลีกับหมู่คณะด้วยอกุศล บางนัย ได้แก่ อัธยาศัยในการออกจากกาม
จิตวิเวก (สงัดจิต) คือ ความสงัดของจิต หมายถึง ไม่คลุกคลีติดพันด้วยอกุศลจิต ได้แก่ สมาบัติ ๘ ฌานจิตขั้นต่างๆ หรือแม้ขณะที่รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้น ก็เป็นจิตวิเวก
อุปธิวิเวก (สงัดจากอุปธิ)
อุปธิ นี้ได้แก่ สภาพที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ ทั้ง ๔ คือ กิเลส ขันธ์ กาม และ เจตนา ซึ่งไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เป็นสังขารธรรมทั้งหมด
อุปธิวิเวก หมายถึง พระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่สงัดจากสิ่งที่เป็นไปในทุกข์ สงัดจากสิ่งที่เป็นไปในกิเลส
อุปธิวิเวก เป็นความสงัดจากสังขารธรรม สงัดจากกิเลส แม้ว่าชอบอยู่คนเดียว แต่อกุศลมากมายก็ไม่ใช่กายวิเวก แต่ขณะที่กายกำลังปะปนอยู่กับหมู่ คณะ บริษัท แต่จิตกำลังรู้ลักษณะสภาพธรรม ก็เป็นขณะที่ทั้งกายวิเวก และ จิตวิเวก ได้
อ่านข้อความเตือนสติ ทั้งหมดจากปริสา สูตร.. ข้อความเตือนสติเรื่องปริสาสูตร
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ wittawat ด้วยครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ wittawat ด้วยนะครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ wittawat ด้วยครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ wittawat ด้วยค่ะ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺสฺส ฯ (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น)
ขอกราบนมัสการอย่างสูงสุด แด่พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนา ในกุศลจิตของพี่ป๋องด้วยครับ
.ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย.