ถีนมิทธเจตสิก

 
วิริยะ
วันที่  10 พ.ย. 2554
หมายเลข  20004
อ่าน  2,924

เรียนถาม

ถีนมิทธเจตสิก หมายถึงเจตสิกที่ทำหน้าที่อะไร เกิดกับจิตประเภทไหน

ขอบพระคุณอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ถีนเจตสิก เป็นสภาพที่ทำให้จิตท้อแท้ เซื่องซึมในอารมณ์ มิทธเจตสิก เป็นสภาพที่ทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยท้อแท้ เซื่องซึมในอารมณ์ เมื่อเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้เกิดขึ้น จะทำให้บุคคลนั้นมีอาการหดหู่ ท้อถอย เกียจคร้านหรือง่วงเหงาหาวนอน

อกุศลเจตสิก ๒ ดวง คือ ถีนเจตสิกและ มิทธเจตสิก ซึ่งเกิดได้กับอกุศลจิตที่มีกำลังอ่อน เป็นสสังขาริกเท่านั้น แต่จะเกิดร่วมก็ได้ ไม่เกิดร่วมก็ได้ ถ้าเกิดพร้อมกันทั้งคู่ ทำให้สภาพจิตขณะนั้นไม่ควรแก่การงาน

อกุศลจิต ๕ ดวง ที่ถีนมิทธเจตสิกสามารถเกิดร่วมได้ คือ โลภมูลจิตที่เป็นสสังขาริก ๔ ดวง และโทสมูลจิตที่เป็นสสังขาริก ๑ ดวง

ถีนมิทธเจตสิก ที่เกิดกับโลภมูลจิต มีลักษณะดังนี้ ถีนมิทธเจตสิกเกิดกับจิตที่เป็นโลภะที่มีกำลังอ่อน เป็นสสังขาริก เช่น ขณะที่ดูหนัง ดูละคร เกิดความง่วง หาวนอน ขณะที่ดูหนัง มีโลภะเกิดร่วมด้วย พร้อมๆ กับ ถีนมิทธะเจตสิกที่ง่วงในขณะนั้น ขณะนั้นเป็นโลภมูลจิตที่มีกำลังอ่อน มีความต้องการจะดู แต่มีกำลังน้อย ซึ่งจิตไม่ควรแก่การงาน ดูหนังไม่ไหวเพราะง่วง ถีนมิทธเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพราะเกิดความง่วง คือ ถีนมิทธเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้นที่ยินดี พอใจดูหนังอยู่ครับ จึงเกิดกับโลภมูลจิตที่มีกำลังอ่อนที่เป็นสสังขาริกตามที่กล่าวมาครับ นี่เป็นตัวอย่างที่พอจะอธิบายให้เข้าใจครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ... ถีนมิทธะ[ธรรมสังคณี]

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 10 พ.ย. 2554

เรียนถาม

เมื่ออ่านคำอธิบายและตัวอย่างที่ได้กรุณาให้มาแล้วนั้น อยากทราบว่า ถีนมิทธเจตสิก เมื่อเกิดกับโทสมูลจิต สสังขาริก ก็คงจะมีลักษณะโทสะที่ไม่รุนแรง ใช่หรือไม่

ขอบพระคุณอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาัสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ ๒ ครับ สภาพธรรมเป็นจริงอย่าง ก็เป็นจริงอย่างนั้น ตามความเป็นจริงของเจตสิกธรรมทั้ง ๒ คือ ถีนะ ความท้อแท้ท้อถอย ความหดหู่ ความเซื่องซึม และ มิทธะ ความง่วงเหงา หาวนอน เป็นเจตสิกที่เมื่อเกิดขึ้นก็เกิดร่วมกันทุกครั้ง แยกจากกันไม่ได้ และถ้าจะเกิดก็จะเกิดกับอกุศลจิตที่มีกำลังอ่อนเท่านั้น จะไม่เกิดกับอกุศลที่มีกำลังกล้า และจะไม่เกิดกับกุศลจิต เลย เพราะถีนมิทธะ เป็นอกุศลเจตสิก ที่จะต้องเกิดกับอกุศลจิต และจะต้องเป็นอกุศลจิตที่มีกำลังอ่อนเท่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าอกุศลจิตที่มีกำลังอ่อนแล้ว จะมีถีนกับมิทธะเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เพราะบางครั้งก็ไม่เกิด นี่คือ ความเป็นจริงของสภาพธรรม ที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ [ถีนะและมิทธะจะถูกดับได้อย่างเด็ดขาด เมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์]

ดังนั้น จากประเด็นคำถามที่ถามต่อเนื่องเกี่ยวกับอกุศลจิตประเภทโทสมูลจิต ที่มีกำลังอ่อน (สสังขาริก) ก็โดยนัยเดียวกัน คือ มีกำลังอ่อน ไม่รุนแรง ถ้าถีนมิทธะจะเกิด ก็จะเกิดร่วมด้วยกับอกุศลจิตประเภทนี้ ที่เป็นเพียงความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นอกุศลจิตที่มีกำลังอ่อน แต่สภาพจิตในขณะนั้น ก็หดหู่ ท้อแท้ ท้อถอย ไม่อ่อน ไม่ควรแก่การงาน ครับ.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ถีนะ มิทธะ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 10 พ.ย. 2554

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
captpok
วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
daris
วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขออนุญาตถามเพิ่มเติม

ตอนกลางคืนพอใกล้ๆ เวลาจะนอนหลับเราจะง่วงเหงาหาวนอนเป็นปกติ นี่เป็นเพราะถีนมิทธเจตสิกด้วยเช่นกันใช่มั๊ยครับ ถ้าใช่แล้วเหตุใดถึงต้องเกิดทุกคืนก่อนนอนครับ หรือบางทีก็เกิดมากตอนกลางวันหากคืนก่อนนอนหลับไม่พอ

ขอกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์ผเดิม อาจารย์คำปั่น และทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 11 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ ๗ ครับ ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก และก็ไม่พ้นไปจากขณะนี้เลย ในชีวิตประจำวันของผู้ที่ยังเต็มไปด้วยกิเลส อกุศลจิตย่อมเกิดมากเป็นปกติอยู่แล้ว เป็นไปกับด้วยโลภะ ความติดข้องต้องการ บ้าง เป็นไปกับด้วยโทสะ ความโกรธ ความขุนเคืองใจ ความไม่พอใจ บ้าง เป็นไปกับด้วยความไม่รู้ บ้าง ซึ่งทุกครั้งที่อกุศลจิตเกิดนั้น ก็จะมีโมหะเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง และ โดยปกติแล้ว ผู้ที่ยังละถีนมิทธะไม่ได้ (คือ ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์) ถีนมิทธะ ก็ย่อมจะเกิดได้ตามเหตุตามปัจจัย ที่เห็นได้ชัดก็คือ ในขณะที่ง่วงเหงาหาวนอน ทุกครั้งที่ง่วงเหงาหาวนอน นั่นเป็นอกุศลจิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ ซึ่งก็มีหลายปัจจัย ด้วยกัน ส่วนหนึ่งเกี่ยวกับร่างกายที่อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ (อย่างที่คุณหมอ ได้ยกขึ้นมาเป็นประเด็น) หรือ รับประทานอาหารมากเกินไป เป็นต้น และก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่ใช่ว่าทุกคนจะง่วงนอน ก่อนเข้านอนเสมอไปบางครั้งก็ไม่ง่วง ก็มี แต่พอถึงเวลาเข้านอน ก็เข้านอน เป็นปกติ หรือ อ่อนเพลีย แล้วหลับไป ก็มี นี่พูดโดยทั่วๆ ไป แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย ในสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้นแล้วถีนมิทธะ ย่อมไม่เกิดขึ้น ไม่มีการง่วงเหงาหาวนอน แต่ความหลับของพระอรหันต์นั้นย่อมเกิดขึ้นเพราะความอ่อนเพลียของ ร่างกาย เท่านั้น ครับ

กราบขอบพระคุณอาจารย์ประเชิญ แสงสุข ที่ได้ใหคำอธิบายเพิ่มเติม ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านทบทวนได้ที่หัวข้อนี้อีกทีนะครับ

ถีนมิทธะ[ธรรมสังคณี]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
daris
วันที่ 11 พ.ย. 2554

กราบขอบพระคุณอาจารย์คำปั่นสำหรับคำอธิบายที่กระจ่างชัดมากครับ

ขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 11 พ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
nong
วันที่ 12 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
peem
วันที่ 4 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ