ทำไมเวลาคนเราคิดถึงใครแล้วจะต้องเก็บเอาไปฝันด้วย

 
tookta
วันที่  12 พ.ย. 2554
หมายเลข  20019
อ่าน  11,370

มีเพื่อนมาถามว่าทำไมเวลาเขาคิดถึงเพื่อนอีกคนแล้วเขาจะต้องฝันเห็นเพื่อนคนนั้นด้วย

และเผอิญคนที่เขาฝันเห็นก็คิดถึงเขาด้วย เราเองก็ตอบเขาไม่ได้เลย มันเป็นเรื่องของ

จิต ซึ่งเราเองก็ไม่มีความรู้ และตัวเราเองก็อยากจะรู้เหมือนกัน รบกวนท่านผู้รู้ช่วย

อธิบายให้ด้วยนะคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 12 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงว่า มีแต่เพียง จิต เจตสิกและรูป ไม่มีสัตว์ บุคคล

ตัวตน ดังนั้น ในชีวิตประจำวัน ทั้งสมมติว่าเป็นกลางวัน กลางคืน ก็ไม่พ้นจากการทำ

กิจหน้าที่ของ จิต เจตสิกที่เกิดขึ้นและดับไป ซึ่งก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไป ตามแต่จิต

แต่ละประเภทครับ

คิดมีจริง ขณะที่คิดถึงใคร ถ้าไม่มีจิตและเจตสิกก็คิดไม่ไ้ด้ ดังนั้นขณะที่คิด ขณะ

นั้นเป็นการทำงาน ทำหน้าที่ของจิต เจตสิกที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวัน มีการเห็น การ

ได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้กระทบสัมผัส ซึ่งที่กล่าวมาก็เป็นจิตแต่ละประเภท

เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน ขณะที่จิตเกิดขึ้น จะต้องมีสภาพธรรมอื่นๆ เกิดร่วมด้วย คือ

เจตสิก ซึ่ง เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตมีหลายประเภท หลายดวง เจตสิกประเภทหนึ่งที่

เกิดร่วมกับจิต คือ สัญญาเจตสิก ทำกิจหน้าที่จำ คือ จำทุกอย่าง ไม่ว่าจิตประเภทใด

เกิด ขณะที่เห็น ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น นั่นก็คือ สิ่งที่ปรากฎทางตา (สี) และก็คิดนึกต่อ

เป็นคนนั้น คนนี้ เป็นคนที่เราชอบ คิดถึง ชื่อนั้น ชื่อนี้ ขณะที่รู้ว่าเป็นคนนั้น คนนี้

สัญญาเจตสิกเกิดกับจิตที่คิดนึกว่าเป็นคนนั้น คนนี้ด้วย จำเอาไว้ ว่าเป็นคนนี้ เมื่อจำ

แล้ว และเมื่ออารมณ์ หรือ สิ่งที่เป็น มีกำลัง คือทำให้เกิดความรู้สึกชอบ ที่เป็นโสมนัส

เวทนาที่เกิดกับความชอบที่เป็นโลภะ สัญญาก็จำ และเมื่อจำแล้ว ก็สามารถคิดนึก ถึง

สิ่งที่ได้จำเอาไว้ได้ครับ แต่สิ่งใดที่เราไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยินเลย สัญญาก็ไม่เคยเกิด

จำสิ่งนั้น ก็ไม่สามารถนึกถึงสิ่งนั้นได้ ดังนั้นเมื่อจำในอารมณ์ ในสิ่งที่ชอบ เป็นคนนั้น

แล้ว แม้ยังไม่ฝันในตอนกลางคืน ก็สามารถนึกถึงด้วยจิตที่คิดนึก จำรูปร่างสัรฐานเป็น

คนนั้น คนนี้ ตามที่เคยเห็น เคยได้ยินมาก่อนหน้านี้ได้ เพราะอาศัย สัญญา เจตสิกที่จำ

เอาไว้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 12 พ.ย. 2554

ส่วนขณะที่ฝัน ในความเป็นจริงไม่ใช่เราฝัน แต่ก็ไม่พ้นจากการทำหน้าที่ของจิต

เจตสิกที่เกิดขึ้น ดังนั้นขณะที่ฝัน คือ ขณะที่จิตที่คิดนึก ถึงเรื่องราวที่เคยจำเอาไว้ ที่

เคยเห็น เคยได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสครับ ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น เพราะ

เคยเห็น เคยได้ยินสิ่งนั้น ที่บัญญัติว่าเป็นคนนี้ คนที่ชอบ และเกิดความรู้สึกที่เป็น

ความสุข ติดข้องในสิ่งที่เห็น ได้ยินที่บัญญัติว่าเป็นคนนั้น พอถึงเวลานอน แม้เวลา

นอนก็มีจิต เจตสิกเกิดขึ้น จิตก็สามารถคิดนึกถึงสิ่งที่เคยจำไว้ จึงบัญญัติไว้ด้วยศัพท์

ทางโลก ว่า คิดถึงคนนั้น คือ เก็บเอาไปฝัน ซึ่งความจริงก็คือ จิตที่คิดนึกถึงเรื่องราวที่

เคยเห็นได้ยิน อันอาศัย สัญญาที่จำไว้นั่นเองครับ

ความฝันจึงเป็นเพียงความคิดนึกของจิตที่เกิดขึ้นเท่านั้น คิดถึงคนนั้นก่อนนอน

หรืออาจจะก่อนหน้านี้ สัญญาจำไว้ ก็เก็บเอาไปคิดนึกต่อ นั่นก็คือ ฝันต่อได้ครับ เป็น

ธรรมดา แม้ ไม่ฝัน ก็คิดนึกถึงคนนั้นได้เช่นกัน เพราะจำอารมณ์ นั้นไว้แล้วครับ

ส่วนคนที่ถูกฝัน ก็คิดถึงเขาคนนั้นเช่นกัน ก็เป็นธรรมดาครับ คงไม่คิดถึง พร้อมกันใน

เวลาเดียวกัน แต่ถ้าติดข้องใคร และมีอารมณ์ที่น่าพอใจในบุคคลนั้น มีกำลัง ก็คิดถึง

บ่อยๆ ได้ ต่างคนก็ต่างคิด ไม่มีอิทธิพลกับจิตของใคร เพียงแต่ที่บอกว่า นึกถึงคนนี้ อีก

คนก็คิดถึงเหมือนกัน คิดถึง นึกคิดได้ แต่ก็ไม่ไ่ด้จำเป็นต้องเวลาตรงกันครับ ดังนั้น

ทุกๆ อย่างตามที่กล่าวมาจึงไม่พ้นจากการทำงาน หน้าที่ของจิต เจตสิก เมื่อเข้าใจดังนี้

จึงเป็นธรรมดา และพระพุทธศาสนาก็มีคำตอบ เพราะพระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริง

ทั้งหมด ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
tookta
วันที่ 12 พ.ย. 2554
ขอขอบคุณมากนะคะที่อธิบายให้เข้าใจ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 13 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 13 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขณะที่กำลังฝัน ไม่พ้นไปจากนามธรรม คือ จิตและเจตสิก ที่ฝัน และขณะที่ฝันต้องไม่ใช่ขณะที่หลับสนิท เพราะถ้าเป็นขณะที่หลับสนิท จิตเป็นภวังค์ ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ จิตไม่ได้เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางใดทางหนึ่งใน ๖ ทาง จึงไม่ฝัน เพราะในขณะที่ฝัน ต้องเป็นวิถีจิต (จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์์ทางหนึ่งทางใด ใน ๖ ทาง) แต่ไม่ใช่วิถีจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่เป็นวิถีจิตทางใจ เท่านั้น ที่ฝัน เป็นกุศล บ้าง เป็นอกุศล บ้าง ตามการสะสม ซึ่งขณะที่กำลังฝันนั้น เป็นการคิดนึกถึงเรื่องบัญญัติของสิ่งที่เคยเห็น เคยได้ยิน เคยได้กลิ่น เป็นต้น นั่นเอง ในขณะที่

ฝัน จิต เจตสิก เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่มีเราที่ฝัน ซึ่งเป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมเท่านั้น ส่วน เรื่องราวที่ฝัน ไม่มีจริง และไม่มีตัวเราที่เก็บเอาไปฝัน เพราะธรรมเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้น ในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรม ตามความเป็นจริง ไม่เว้นแม้แต่ขณะเดียวของชีวิต เนื่องจากทุกขณะของชีวตไม่มีขณะใดเลยที่จะปราศจากธรรม แม้แต่ในขณะที่ฝัน ก็เป็นหนึ่งในสภาพธรรมที่มีจริง ที่ควรศึกษาให้เข้าใจ ว่า อะไร คือ สิ่งที่มีจริงในขณะ นั้น เพื่อละคลายความไม่รู้ ละคลายความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 13 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
หลานตาจอน
วันที่ 14 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 14 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ผิน
วันที่ 14 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
tanakase
วันที่ 14 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ