จุติจิตกระทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์เป็นอย่างไรครับ

 
อินทวัชร
วันที่  17 พ.ย. 2554
หมายเลข  20041
อ่าน  1,637

ผมอ่านพระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 496 ไม่เข้า ดังนี้ กรรมเหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลผู้มีบาปกรรมซึ่งดำรงอยู่ในกามาพจรสุคติในสมัย นั้น" ดังนี้ จุติจิตก็ทำภวังควิสัย (คืออารมณ์แห่งภวังค์) ให้เป็นอารมณ์ เกิดขึ้นในที่สุดแห่ง ตทารัมมณะ หรือในชวนะถ้วนๆ เกิดขึ้นปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิตนั้นดับ แล้ว ก็เกิดปฏิสนธิจิตอันนับเนื่องด้วยทุคติภูมิ อันกำลังแห่งกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้น้อมไปใน บาปกรรมต่างๆ ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตที่มาสู่คลองนั้นนั่นแหละ...

ขอกราบเรียนถามว่าอารมณ์แห่งภวังค์เป็นอย่างไร ภวังค์รู้อารมณ์ได้หรือไม่ ในที่นี้ เมื่อวิถีจิตดับแล้วในที่สุดแห่งตทาลัมพนะ หรือชวนจิตแล้วภวังค์รู้อารมณ์ใดครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สำหรับข้อความในพระไตรปิฎกที่ท่านผู้ถามยกมานั้น กำลังอธิบายในเรื่อง ปฏิสนธิจิต มี อารมณ์อะไรบ้าง

ก่อนอื่นทำความเข้าใจเบื้องต้นครับว่า จิต มี 4 ชาติ คือ กุศล อกุศล วิบากและ กิริยา สำหรับ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิตและจุติ เป็นจิตชาติวิบาก ประเภทเดียวกันครับ หากปฏิสนธิจิต ในชาตินี้ เป็นประเภทอะไร มีอารมณ์แบบไหน ภวังคจิต จุติจิตก็ต้องมีอารมณ์แบบเดียวกัน ครับ ปฏิสนธิจิต ทำกิจหน้าที่ คือ ทำให้เกิด ภวังคจิต ทำกิจหน้าที่ ดำรงภพชาติของความ เป็นบุคคลนี้ ส่วนจุติจิตทำกิจ หน้าที่ เคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ หรือ ตายนั่นเองครับ สำหรับ ภวังคจิต เมื่อเป็นจิตแล้ว ต้องมีอารมณ์ อารมณ์ คือ สิ่งทีถูกจิตรู้ เช่น จิตเห็น มี อารมณ์ คือ สี จิตได้ยิน มีอารมณ์ หรือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ คือ เสียง เสียงจึงเป็นอารมณ์ของจิต ได้ยิน ดังนั้น จิตเกิดขึ้นต้องมีอารมณ์ หรือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ ภวังคจิตก็เช่นกัน เป็นจิตประเภท หนึ่ง ก็ต้องมีอารมณ์ รู้อารมณ์ เพราะจิตเป็นภาพรู้ ส่วนที่ถามว่า อารมณ์แห่งภวังค์คือะไร ข้อความเต็มๆ คือ จุติจิตก็ทำภวังควิสัย (คืออารมณ์แห่งภวังค์) ให้เป็นอารมณ์ .....ตามที่ ได้กล่าวแล้วครับว่า ปฏิสนธิจิตในชาตินี้ ภวังคจิตในชาตินี้ และ จุติจิตในชาตินี้จะต้องมี อารมณ์เดียวกัน เป็นจิตประเภทเดียวกันคือ วิบากจิต ดังนั้น จุติจิตก็ทำภวังควิสัย (อารมณ์ ของภวังคจิต) หมายถึง จุติจิต ก็ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ โดยเป็นจิตประเภท เดียวกับภวังคจิตและมีอารมณ์เดียวกับภวังคจิตนั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 17 พ.ย. 2554

อารมณ์แห่งภวังคจิต ก็คือ อารมณ์เดียวกับเมื่อตอนปฏิสนธิจิตชาตินี้ เช่น ชาตินี้ ปฏิสนธิ จิตเกิดด้วย อเหตุกอกุศลวิบาก เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ภวังคจิตของสัตว์นั้น ก็เหมือน ปฏิสนธิจิต คือ มีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตนั้น เมื่อจุติจิตเกิด คือ สัตว์นั้นตาย ก็มีอารมณ์ เดียวกับ ภวังคจิตด้วย ซึ่งอารมณ์ของภวังคจิต ก็คือ อารมณ์ก่อนจะสิ้นชีวิต ที่เป็น ชวนจิต สุดท้ายของชาติก่อน เช่น ชวนจิตสุดท้ายก่อนที่จะมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เห็นกรรมนิมิต คือ นึกถึงกรรมไม่ดีในอดีตไว้ เช่น นึกภาพที่ฆ่าสัตว์ ก็เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิตต่อ (เกิด เป็นสัตว์เดรัจฉาน) มีอารมณ์ คือ กรรมนิมิต ภาพนั้นที่ฆ่าสัตว์เป็นอารมณ์ และภวังคจิตก็มี อารมณ์ คือ กรรมนิมิต ภาพนั้นเป็นอารมณ์ และเมื่อจุติจิตเกิด คือ ดังข้อความที่ว่า จุติจิต ก็ทำภวังควิสัย (คืออารมณ์แห่งภวังค์) ให้เป็นอารมณ์ ........จุติจิตก็มีภาพนั้น กรรมนิมิต อารมณ์เดียวกับ ภวังคจิตนั่นเองครับ เป็นอารมณ์แห่งภวังค์ คือ อารมณ์ที่เป็นกรรมนิมิตที่ ฆ่าสัตว์ครับ

ในที่นี้ เมื่อวิถีจิตดับแล้วในที่สุดแห่งตทาลัมพนะหรือชวนจิตแล้ว ภวังค์รู้อารมณ์ใดครับ?

ตามที่กล่าวแล้วครับ ภวังคจิต เมื่อเป็นจิตแล้ว ต้องรู้อารมณ์เสมอ เพราะจิตเป็นสภาพรู้ จิตเกิดขึ้นต้องมีอารมณ์ ซึ่งก็ได้กล่าวแล้วครับว่า ภวังคจิต มีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต หากเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็มีอารมณ์ก่อนจะตายของชาติก่อน ที่อาจจะเป็นกรรมนิมิต คือ กรรมที่ไม่ดีที่ได้ทำไว้ เช่น เห็นภาพการฆ่าสัตว์ เป็นอารมณ์ หรือ คตินิมิต เป็นอารมณ์ของ ภวังคจิตก็ได้ เช่นก่อนตาย ก่อนจะไปเกิดในนรก เห็นภาพ ภพภูมินรกปรากฎ ก็เป็นคตินิมิต เป็นอารมณ์ของ ปฏิสนธิจิตเมื่อเกิดเป็นสัตว์นรกแล้ว และภวังคจิตก็มี คตินิมิต ภาพภพภูมิ ในนรกเป็นอารมณ์ อันเป็นอารมณ์ของชาติที่แล้วก่อนจะตายครับ ซึ่งอารมณ์ของภวัคจิต ก็ ไม่พ้น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
jaturong
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อินทวัชร
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า จุติจิต กับ ภวังคจิต คือ อะไร? จุติจิต หมายถึง จิตดวงสุดท้ายของชาตินี้ ที่ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ เมื่อดับแล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไป คือ ปฏิสนธิจิตในชาติต่อไปเกิดสืบต่อทันที (สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์) ภวังคจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ไว้จนกว่าจะจุติ จุติจิตในชาตินี้ และ ภวังคจิต รวมถึง ปฏิสนธิจิตในชาตินี้ เป็นจิตประเภทเดียวกัน ซึ่งเรียกตาม กิจ เพราะจิตที่จะกระทำกิจทั้ง ๓ กิจ คือ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และ จุติกิจนั้น มีทั้งหมด ๑๙ ดวง ตามสมควรแก่แต่ละบุคคล คือ มหาวิบาก ๘ อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ๑ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ๑ รูปาวจรวิบาก ๕ และ อรูปาวจรวิบาก ๔ อย่างเช่น ผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ที่ไม่พิการตั้งแต่กำเนิดนั้น ต้องเป็นมหาวิบาก ๘ ดวงหนึ่งดวงใด ที่ทำปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และ จุติกิจ ในชาติเดียวกัน และเป็นจิตที่รู้อารมณ์เดียวกัน คือ รู้อารมณ์เดียวกันกับที่ชวนจิตสุดท้ายก่อนจุติของชาติที่แล้ว รู้ ตามความเป็นจริงแล้ว ในชีวิตประจำวัน มีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทาใจ สลับกับภวังคจิต (ที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยทวารทั้ง ๖ เลย) เพราะเหตุว่า ปฏิสนธิจิต เกิดแล้วดับแล้ว ตั้งแต่ขณะแรกในภพนี้ชาตินี้ ส่วนจุติจิต ซึ่งเป็นจิตขณะสุดท้ายของภพนี้ชาตินี้ ยังไม่เกิดขึ้น (แต่ต้องเกิดแน่ๆ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง) เมื่อเป็นจิต ไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใด ย่อมรู้อารมณ์ทั้งนั้นตามสมควรแก่จิตประเภทนั้นๆ เช่น จิตเห็น ก็รู้สี จะไปรู้เสียง ก็ไม่ได้ จิตได้ยิน ก็รู้เสียง เป็นต้น แต่ถ้าเป็นภวังคจิตแล้ว ขณะนั้นโลกนี้ไม่ปรากฏ ไม่รู้ว่ามีทรัพย์สมบัติ ญาติพี่น้อง เป็นต้นไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ในขณะที่ภวังคจิตเกิดขึ้น ซึ่งอารมณ์ของภวังคจิต คืออารมณ์เดียวกันกับชวนจิตก่อนจะจุติของชาติที่แล้ว กล่าวคือ ชวนจิิต ก่อนตายของชาติที่แล้วรู้อารมณ์อะไร อารมณ์นั้นแหละที่เป็นอารมณ์ของภวังคจิตในชาิตินี้ ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องจิต เพื่อเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ว่า ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ซึ่งจะเป็นไปเพื่อละคลายความไม่รู้ ละคลายความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนสัตว์บุคคล เพราะจิต เป็นจิต เป็นธรรมที่มีจริง ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย แล้วดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว อารมณ์ของภวังคจิต ก็คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งในขณะที่ชวนจิตก่อนจุติของชาติที่แล้ว รู้ นอกจากนั้นปฏิสนธิจิตในชาตินี้ และ จุติในชาิตินี้ ก็รู้อารมณ์เดียวกันกับที่ภวังคจิต รู้ เพราะจิตทั้ง ๓ ประเภทนี้ ในชาิิติเดียวกัน ก็จะต้องรู้อารมณ์เดียวกัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิม อาจารย์คำปั่น และทุกๆ ท่านครับ

ขอเรียนถามเพิ่มเติมว่า ภวังคจิต ทำหน้าที่ดำรงภพชาติ เพื่อให้จิตอื่นเกิดขึ้นตามกรรมด้วยหรือไม่ อย่างไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 17 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

ภวังคจิต ทำกิจดำรงภพชาติของตน แสดงให้รู้ว่ายังไม่จากไป ยังเป็นบุคคลนี้อยู่จนกว่า จะจุติ ส่วนจิตอื่นที่เกิดจากกรรม ก็เกิดเป็นปกติ เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน แต่ภวังคจิต ไม่ใช่ จิตที่จะทำให้จิตเห็น จิตได้ยิน และจิตที่เกิดจากกรรมเกิดต่อไปได้ครับ แต่ว่าเมื่อว่าโดย ปัจจัยโดยละเอียด เพราะมี ภวังคจิต จิตอื่นๆ ก็เกิดขึ้นได้ครับ ซึ่ง ภวังคจิต ไม่ได้เป็นจิต โดยตรงที่จะทำให้จิตอื่นทีเ่กิดขึ้นตามกรรมเกิดครับ เพียงแต่ ภวังคจิตเกิดขึ้น แสดงถึง ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้น ดำรงภพชาตินั้นไว้จนกว่าจะจุติครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
อินทวัชร
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ท่านวิทยากร กล่าวว่าอารมณ์ของภวังคจิตก็คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งในขณะที่ชวนจิตก่อนจุติของชาติที่แล้วรู้ นอกจากนั้นปฏิสนธิจิตในชาตินี้และจุติในชาิตินี้ ก็รู้อารมณ์เดียวกันกับที่ภวังคจิตรู้ เพราะจิตทั้ง ๓ ประเภทนี้ ในชาิิติเดียวกัน ก็จะต้องรู้อารมณ์เดียวกัน ถามว่า เมื่อกรรมนิมิตมาสู่คลองมโนทวารก่อนตาย ภวังคจิต จุติจิต ยังจะรู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตในชาตินี้อีก หรือรู้อารมณ์แห่งกรรมนิมิตนั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 17 พ.ย. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 20041 ความคิดเห็นที่ 10 โดย อินทวัชร

ท่านวิทยากร กล่าวว่าอารมณ์ของภวังคจิตก็คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งในขณะที่ชวนจิตก่อนจุติของชาติที่แล้วรู้ นอกจากนั้นปฏิสนธิจิตในชาตินี้และจุติในชาิตินี้ ก็รู้อารมณ์เดียวกันกับที่ภวังคจิตรู้ เพราะจิตทั้ง ๓ ประเภทนี้ ในชาิิติเดียวกัน ก็จะต้องรู้อารมณ์เดียวกัน ถามว่า เมื่อกรรมนิมิตมาสู่คลองมโนทวารก่อนตาย ภวังคจิต จุติจิต ยังจะรู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตในชาตินี้อีก หรือรู้อารมณ์แห่งกรรมนิมิตนั้นครับ

ก็จะต้องเป็นผู้มีความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม เมื่อได้ฟังพระธรรม รวมถึงได้อ่านข้อความที่ได้แสดงความคิดเห็นไปแล้วนั้น ปฏิสนธิิจิต ในชาิตินี้ ภวังคจิต ในชาตินี้ และ จุติจิต ในชาิตินี้ ย่อมรู้อารมณ์เดียวกัน ทั้งหมด คือ รู้อารมณ์เดียวกันกับอารมณ์ของชวนจิตสุดท้ายก่อนจะจุติของชาติที่แล้ว ดังนั้น จากคำถามที่ว่า เมื่อกรรมนิมิตมาสู่คลองมโนทวารก่อนตาย ภวังคจิต จุติจิต ยังจะรู้อารมณเดียวกับปฏิสนธิจิตในชาตินี้อีก หรือรู้อารมณ์แห่งกรรมนิมิตนั้น? คำตอบ คือ เมื่อกรรมนิมิตมาสู่คลองมโนทวารก่อนตาย ภวังคจิต จุติจิต ก็ย่อมจะรู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตในชาตินี้ อีก เพราะการรู้อารมณ์แห่งกรรมนิมิต ที่กล่าวถึง นั้น เป็นกิจหน้าที่ของชวนจิตก่อนจะจุติในชาิตินี้ ชวนจิตสุดท้ายก่อนจุติในชาิตินี้ รู้อารมณ์ที่เป็นกรรมนิมิต ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ในชาติหน้า ก็จะรู้อารมณ์ นี้

ซึ่งจะต้องไม่สับสนปนกันระหว่าง ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ของชาติที่แล้ว // ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ของชาิตินี้ และ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ของชาติหน้า ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณอินทวัชร และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Graabphra
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
อินทวัชร
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณครับ ท่านตอบชัดเจนและเข้าใจคำถาม ผมขอถามเพิ่มว่า

1. จุติจิตชาติก่อนให้ปัจจัยอะไรแก่ปฏิสนธิจิตชาติใหม่บ้าง?

2. จุติจิตชาติก่อนให้กรรมนิมิตแก่ปฏิสนธิจิตชาติใหม่ด้วยไหม? (จากคำตอบของ ท่านผมเข้าใจว่าไม่ได้ให้)

3. แล้วปฏิสนธิจิตชาติใหม่ไปรู้กรรมนิมิตชาติก่อนได้อย่างไร?

บางทีท่านตอบคำถามข้อ 1. ก็อาจครอบคลุมคำถามข้อ 2. และ 3. ด้วย ขอบคุณครับ (จากคำตอบของท่าน ผมเข้าใจว่า "จุติจิตชาติที่แล้วเป็นวิบากจิตเกิดเพราะผลของกรรมนิมิตรชาติก่อนทำกิจจุติคือตายเท่านั้น ส่วนปฏิสนธิจิตชาติใหม่เป็นวิบากจิตเกิดเพราะผลของกรรมนิมิตชาติก่อน)

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 18 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 13 ครับ

1. จุติจิตชาติก่อนให้ปัจจัยอะไรแก่ปฏิสนธิจิตชาติใหม่บ้าง?

จุติจิตชาติก่อน ไม่มีอารมณ์เดียวกับ ปฏิสนธิจิตชาติใหม่ เพราะปฏิสนธิจิตชาติใหม่ มี อารมณ์เดียวกับ ชวนจิตสุดท้ายของชาติก่อน แต่ไม่ใช่มีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตของ ชาติก่อนครับ แต่จุติของชาติก่อน ของผู้ที่ยังมีกิเลส ที่ไม่ใช่จุติจิตของพระอรหันต์ เป็น ปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตในชาติหน้าเกิดขึ้น โดยอนันตรปัจจัย และ สมันตรปัจจัยครับ คือ เมื่อจุติเกิดและดับไป ปฏิสนธิก็ต้องเกิดต่อ โดยอาศัย จุติจิตที่ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ ปฏิสนธิจิตใหม่เกิดขึ้นครับ

2. จุติจิตชาติก่อนให้กรรมนิมิตแก่ปฏิสนธิจิตชาติใหม่ด้วยไหม? (จากคำตอบของ ท่านผมเข้าใจว่าไม่ได้ให้)

ถูกต้องครับ ไม่ไ้ด้ให้ จุติจิตทำกิจเคลือน ตายโดยมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตใน ชาตินี้ ส่วนกรรมนิมิต ย่อมปรากฎใน ชวนจิตสุดท้ายก่อนจะจุติ อารมณ์ของชวนจิต สุดท้าย เป็นปัจจัย คือ มีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตในชาติหน้าครับ

3. แล้วปฏิสนธิจิตชาติใหม่ไปรู้กรรมนิมิตชาติก่อนได้อย่างไร?

ตามที่กล่าวแล้วในความเห็นที่ 2 ครับ คือ กรรมนิมิตในชาติก่อน เกิดตอน ชวนจิต สุดท้าย 5 ขณะ ปฏิสนธิจิต ในชาติหน้า จึงมีอารมณ์เดียวกับชวนจิตสุดท้าย ที่เกิด ใกล้กันมากและรวดเร็ว จึงรู้อารมณ์ มีอารมณ์เดียวกันครับ อารมณ์เดียวกับ ชวนจิต สุดท้ายนั่นเอง ที่เป็นกรรมนิมิตในชวนจิตสุดท้ายครับ ส่วนคำกล่าวที่ว่า

(จากคำตอบของท่าน ผมเข้าใจว่า "จุติจิตชาติที่แล้วเป็นวิบากจิตเกิดเพราะผลของกรรมนิมิตรชาติก่อนทำกิจจุติคือตายเท่านั้น ส่วนปฏิสนธิจิตชาติใหม่เป็นวิบากจิตเกิดเพราะผลของกรรมนิมิตชาติก่อน

ถูกต้องครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
อินทวัชร
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณครับ ขอตรวจสอบความเข้าใจว่า "ผลของกรรมในชาติก่อนหมดสิ้นที่จุติจิต ในชาติก่อน ปฏิสนธิจิตในชาติใหม่เป็นผลของกรรมนิมิต (กรรมในแสนโกฏิกัปป์) ในชาติก่อน"ถูกต้องไหมครับท่านวิทยากร?

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 18 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 15 ครับ

ถูกต้องบางนัยครับ สำหรับกรรมบางอย่างที่ทำให้เกิดในชาตินี้ และเมื่อจุติเกิด กรรม บางอย่างก็อาจหมดแล้ว แต่กรรมบางอย่าง ก็ยังสามารถใ้ห้ผลในชาติถัดๆ ไปได้ เช่น ให้ผลหลังจากเกิดแล้ว คอยอุปถัมภ์หรือตัดรอนก็ได้ครับ ส่วนปฏิสนธิในชาติใหม่ก็เกิด จากกรรมในอดีตในแสนโกฏ์กัปที่ได้ทำมา ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นกรรมไหน แต่เป็นกรรมในอดีต ที่ได้ทำมานั่นเองครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ