บุคคล ไม่ควรสมาคม, ควรสมาคม, ที่ควรสักการะ เป็นไฉน ?

 
pirmsombat
วันที่  18 พ.ย. 2554
หมายเลข  20047
อ่าน  1,812

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 315

………………………

[๙๙] . บุคคล ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

เป็นไฉน?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสื่อมจากศีล จากสมาธิ จากปัญญา

บุคคลเห็นปานนี้ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ควรเว้นจากความ

เอ็นดู เว้นจากความอนุเคราะห์

. บุคคล ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ เป็น

ไฉน?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอกันด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา

บุคคล เห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะว่า ศีลกถาแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล จักมี

แก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้น จักเป็นความผาสุกแก่เราทั้งหลาย (คือจักไม่เดือด

ร้อน) สมาธิกถาแห่งสัตบุรุษทั้งหลายผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยสมาธิ จักมี

แก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้นจักเป็นความผาสุกแก่เราทั้งหลาย และกถานั้นจัก

เป็นไปแก่เราทั้งหลาย (คือจักไม่เดือดร้อน) ปัญญากถาของสัตบุรุษทั้งหลาย

ผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยปัญญา จักมีแก่เราทั้งหลาย ทั้งกถานั้นจักเป็น

ความผาสุกแก่เราทั้งหลาย และกถานั้นจักเป็นไปแก่เราทั้งหลาย (คือจักไม่

เดือดร้อน) เพราะฉะนั้นบุคคลเห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้.

. บุคคล ที่ควรสักการะ เคารพ สมาคม คบหา

เข้าใกล้ เป็นไฉน?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเห็น

ปานนี้ควรสักการะ เคารพ สมาคม คบหา เข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะว่าเราจักได้บำเพ็ญศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเรา

จักได้ถือเอาตามซึ่งศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ เราจักได้บำเพ็ญ

สมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราจักได้ถือเอาตามซึ่งสมาธิขันธ์ที่

บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ เราจักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริ-

บูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ เพราะฉะนั้นบุคคลเห็นปานนี้ ควรสักการะ เคารพ

สมาคม คบหา เข้าใกล้.

อรรถกถาบุคคลผู้ไม่ควรซ่องเสพเป็นต้น

บทว่า "น เสวิตพฺโพ" ได้แก่ ผู้อันใครๆ ไม่ควรเข้าไปหา.

บทว่า "น ภชิตพฺโพ" ได้แก่ ผู้อันใครๆ ไม่พึงติดต่อ.

บทว่า "น ปยิรุปาสิตพฺโพ" ได้แก่ ผู้อันใครๆ ไม่ควรเข้าไป

นั่งใกล้บ่อยๆ ด้วยสามารถเข้าไปนั่งในสำนัก. บัณฑิตพึงทราบความเป็นคน

เลวด้วยการถือเอาการเปรียบเทียบในคำเป็นต้นว่า "หีโน โหติ สีเลน".

ก็บุคคลใดรักษาศีล ๕ เขาผู้นั้นอันบุคคลผู้รักษาศีล ๑๐ ไม่พึงเสพ ส่วนบุคคล

ใดรักษาศีล ๑๐ เขาผู้นั้นอันบุคคลผู้รักษาจตุปาริสุทธิศีลไม่พึงเสพ.

ข้อว่า "อญฺญตฺร อนุทยา อญฺญตฺร อนุกมฺปา" ความว่า เว้นจาก

ความเอ็นดูและความอนุเคราะห์ อธิบายว่า ก็บุคคลผู้เห็นปานนี้ อันใครๆ

ไม่ควรช่องเสพเพื่อประโยชน์ของตนเอง แต่ว่าการเข้าไปหาเขาด้วยสามารถ

แห่งความเอ็นดูและความอนุเคราะห์ก็สมควร.

ข้อว่า "สทิโส โหติ" ได้แก่ เป็นผู้เสมอกัน.

ข้อว่า "สีลสามญฺญคตานํ สตํ" ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายถึง

ความเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล.

ข้อว่า "สีลกถา จ โน ภวิสฺสติ" ความว่า ถ้อยคำที่ปรารภศีลนั้น

จักมีแก่พวกเราผู้มีศีลเสมอกันอย่างนี้.

ข้อว่า "สา จ โน ผาสุ ภวิสฺสติ" ความว่า ก็ศีลกถานั้น (การพูด

ถึงศีล) จักเป็นการอยู่ผาสุก จักเป็นการอยู่อย่างสบายแก่พวกเรา.

ข้อว่า "สา จ โน ปวตฺตินี ภวิสฺสติ" ความว่า ถ้อยคำ ของ

พวกเราผู้กล่าวอยู่จักเป็นไปแม้ตลอดวันตลอดคืนก็จะไม่ทำให้สะเทือนใจ จริง

อยู่เมื่อบุคคลทั้งสองมีศีลเสมอกัน เมื่อคนหนึ่งกล่าวพรรณนาถึงศีล อีกคน

หนึ่งย่อมยินดี เพราะเหตุนั้นถ้อยคำของเขาเหล่านั้นย่อมจะมีความผาสุกและ

เป็นไปตลอด ไม่ขัดกัน. ก็เมื่อมีผู้ทุศีลอยู่ ถ้อยคำที่กล่าวพูดถึงศีลกับบุคคลผู้

ทุศีล ย่อมเป็นถ้อยคำที่กล่าวยาก เพราะฉะนั้นศีลกถาก็ย่อมมีไม่ได้ ความ

ผาสุกก็มีไม่ได้ ความเป็นไปไม่ได้ตลอด. แม้ถ้อยคำที่กล่าวถึงสมาธิและปัญญา

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ภิกษุ ๒ รูป ผู้ได้สมาธิย่อมกล่าวพรรณนาคุณของสมาธิ

ผู้มีปัญญาก็ย่อมกล่าวพรรณนาคุณแห่งปัญญา เขาทั้งสองเหล่านั้นย่อมไม่รู้สึก

ถึงการก้าวล่วงตลอดราตรีหรือตลอดวัน.

ข้อว่า "สกฺกตฺวา ครุํ กตฺวา" ได้แก่ กระทำสักการะ หรือทำ

ความเคารพ.

สองบทว่า "อธิโก โหติ" ได้แก่ เป็นผู้ยิ่ง.

บทว่า "สีลกฺขนฺธํ" ได้แก่ กองแห่งศีล.

บทว่า "ปริปูเรสฺสามิ" ความว่า เราอาศัยบุคคลผู้มีศีลอันยิ่งนั้น

แล้วจักกระทำศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ .

ในคำว่า "ตตฺถ ตตฺถ ปญฺญาย อนุคฺคเหสฺสามิ" นี้ พึงทราบ

เนื้อความว่า บุคคลเว้นธรรมอันไม่เป็นอุปการะ อันไม่เป็นสัปปายะแก่ศีลแล้ว

จึงเสพธรรมอันมีอุปการะอันมีสัปปายะแก่ศีล ชื่อว่า ย่อมถือเอาศีลขันธ์ในที่นี้

ด้วยปัญญา. แม้ในสมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์ทั้งหลาย ก็นัยนี้เหมือนกัน.

[๑๐๐] ๑. บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ

ไม่ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ผู้ประกอบด้วย

กายกรรมเป็นต้น อันไม่สะอาด และมีสมาจารอันผู้อื่นหรือตนพึงระลึกได้ด้วย

ความระแวง ผู้มีการงานอันปกปิด ผู้มีใช่สมณะแต่ปฏิญาณว่าตนเป็นสมณะ

มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญาณว่าคนประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เน่าใน ผู้

อันราคะชุ่มแล้ว ผู้รุงรัง บุคคลเห็นปานนี้ ควรรังเกียจ ไม่ควรสมาคม ไม่

ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่า ถึงแม้บุคคลผู้คบ

จะไม่เอาอย่างบุคคลนี้ แต่กิตติศัพท์อันลามก ก็ย่อมฟุ้งขจรไปสู่บุคคลผู้คบ

นั้นว่า บุรุษบุคคล ผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว คบคนชั่ว ดังนี้ งูที่เปื้อน.

คูถแม้จะไม่กัดคนก็จริง ถึงอย่างนั้น ย่อมเปื้อนบุคคลผู้นั้น ชื่อแม้ฉันใด ถึง

บุคคลผู้คบนั้นจะไม่เอาอย่างบุคคลเช่นนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น กิตติศัพท์อันลามก

ย่อมฟุ้งไปแก่บุคคลนั้นว่า บุรุษบุคคล ผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว คบคนชั่ว

ดังนี้ เพราะฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงควรรังเกียจ ไม่ควรสมาคม ไม่ควร

คบ ไม่ควรเข้าใกล้.

. บุคคล ที่ควรเฉยๆ เสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควร

คบ ไม่ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูก

เขาว่าเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อม

กระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจ ให้

ปรากฏเหมือนแผลเรื้อรัง ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ ย่อมมีน้ำเลือดน้ำหนอง

ไหลออกมากมาย ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไป

ด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่า แม้เพียงเล็กน้อยก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อม

แสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษ-

ร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉันนั้น ใบมะพลับแห้งถูกไม้หรือกระ-

เบื้องกระทบแล้ว ย่อมมีเสียงดังจิจิฏะ จิฏะจิฏะเกินประมาณ ชื่อแม้ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่า

แม้เพียงเล็กน้อย ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง

ย่อมแสดงความโกรธความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉัน

นั้น หลุมคูถ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ ย่อมมีกลิ่นเหม็นเกินประมาณ ชื่อ

แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ควรโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น

ถูกเขาว่าแม้เพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ

ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจให้

ปรากฏ ก็ฉันนั้น บุคคลเห็นปานนี้ ควรวางเฉยเสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควร

คบ ไม่ควรเข้าใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะว่า เขาจะพึงด่าเราบ้าง

พึงว่าเราบ้าง พึงกระทำความฉิบหายแก่เราบ้าง เพราะฉะนั้นบุคคลเห็นปานนี้

จึงควรไม่วางเฉยเสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

. บุคคล ที่ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ เป็น

ไฉน?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเห็นปานนี้

ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะว่า ถึง

แม้ว่าบุคคลผู้คบไม่เอาอย่างบุคคลเห็นปานนี้ แต่กิตติศัพท์อันงามก็ย่อมฟุ้งขจร

ไปสู่บุคคลผู้คบนั้นว่า บุรุษบุคคล มีมิตรดี มีสหายดี คบคนดี ดังนี้ เพราะฉะนั้น

บุคคลเห็นปานนี้ ควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทางและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 19 พ.ย. 2554

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณหมอ ด้วยค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 21 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การคบ เป็นสิ่งที่สำคัญ พระพุทะเจ้าทรงตรัสมงคลข้อที่ 1 ไว้เป็นอันดับแรกครับ คือ

การไม่คบคนพาล ดังนั้น บุคคลที่ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ก็มี เพราะบุคคลใดที่มีความ

เห็นผิด เป็นคนทุศีล ทำบาปต่างๆ ไม่มีศีล สมาธิและปัญญา หากเข้าใกล้ หรือ คบ ตัวเรา

เองก็ย่อมจะเสื่อมจากกุศลธรรมประการต่างๆ ด้วย แต่เมื่อห่างไกลจากบุคคลเหล่านั้น ก็

ย่อมไม่ทำให้ถึงความเสื่อมได้ครับ ส่วนบุคคลที่ควรคบ ควรเสพ ควรคบหา ก็คือ บุคคลที่

มีคุณความดี คือ มีศีล สมาธิและปัญญา เสมอกับเรา เป็นต้น เป็นผู้ที่มีความเห็นถูกตาม

ความเป็นจริงเสมอตน เพราะสนใจในสิ่งเดียวกัน การพูด การเจรจาก็ย่อมคล้อยตาไปใน

เรื่องเดียวกัน ก็ทำให้คุณความดีนั้นไม่เสื่อมครับ ส่วนบุคคลที่ควรเคารพ สักการะและ

คบหา่ คือ บุคคลที่มีคุณความดี สูงกว่าเรา มีศีล สมาธิและปัญญาที่สูงกว่า เพราะเมื่อเรา

เคารพในคุณความดีที่สูงกว่าเราและเข้าไปหา ไปคบหา มีการสนทนาธรรม เป็นต้น ก็ย่อม

ได้รับความรู้ ความเข้าใจและย่อมได้รับคำแนะนำที่ดี และเจริญขึ้นในกุศลประการต่างๆ

ขออนุโมทนาคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ