อินเดีย ... ที่พักใจ 11 พาราณสี

 
kanchana.c
วันที่  2 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20093
อ่าน  3,924

พาราณสี

เราออกเดินทางจากโรงแรม NANSC แต่เช้า เพื่อไปพาราณสี ใช้เวลาเดินทาง ๑๑ ชั่วโมง ถึงเมืองพาราณสีค่ำพอดี จึงได้เห็นความจอแจ คลาคล่ำด้วยผู้คนในแสงไฟยาม ค่ำคืน ไม่น่าเชื่อเลยว่า จะมีผู้คนมากมายเช่นนี้

เมื่อเข้าพักที่โรงแรม Ideal Tower ที่เคยพักครั้งก่อน รับประทานอาหารค่ำแล้วก็พัก ผ่อน เพื่อตื่นแต่เช้า ไปสมทบกับคณะของท่านอาจารย์ที่จะมานมัสการพระบรม สารีริกธาตุที่มูลคันธกุฎีวิหาร สมาคมมหาโพธิ์สารนาถในตอนเช้า และถวายภัตตาหาร เพลพร้อมเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ ๑๒๐ รูปที่สมาคมมหาโพธิ์สารนาถด้วย

หลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรมแล้ว ก็ได้กลับไปที่สารนาถ ที่ห่างจาก โรงแรมประมาณ ๑๔ กม. เพื่อชมพิพิธภัณฑ์สารนาถ นมัสการสถานที่สำคัญในป่าอิสิ ปตนมฤคทายวัน สนทนาธรรมและเวียนเทียนประทักษิณรอบธัมเมกสถูปในตอนค่ำ เมืองพาราณสีเป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นสถานที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ บารมี และในอนาคต พระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์ไว้ว่า พระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าจัก เสด็จมาอุบัติในเมืองพาราณสีนี้ นอกจากนั้นพาราณสียังเป็นเมืองสำคัญของศาสนา ฮินดู เพราะมีแม่น้ำคงคาซึ่งเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลผ่าน จึงมีพิธีอาบน้ำล้างบาปและ เผาศพที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตลอด ๒๔ ชั่วโมง

หลังจากที่ทรงเสวยวิมุติสุขครบ ๗ สัปดาห์แล้ว ทรงดำเนินด้วยพระบาทเปล่ามายัง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (หมายถึงที่ประชุมของฤๅษี) เขตเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือ สารนาถ (สวนกวาง) ทรงพบกับปัญจัคคีย์ทั้ง ๕ แล้วทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร สูตรแห่งการหมุนล้อพระธรรม ซึ่งเป็นการทรงแสดงธรรมครั้งแรกในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ทำให้ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตา เห็นธรรมว่า ทุกสิ่งมีเกิดมีดับ แล้วกราบทูลขอบวช เป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธ ศาสนา ทำให้มีพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ สถานที่แห่งนี้ จึงมีความสำคัญหลายประการ คือ ทรงประทับจำพรรษาแรก มีอุบาสก อุบาสิกา ที่ถึง พระรัตนตรัยเป็นครั้งแรก และที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา คือได้ ทรงส่งพระภิกษุอรหันต์จำนวน ๖๐ รูป ไปเผยแพร่พระธรรมตามที่ต่างๆ ด้วยพระดำรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อ ความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้ไปทางเดียวกัน ๒ รูป เธอทั้งหลายจง แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อม ทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ... ”

หลังพุทธกาล ประมาณ พ.ศ. ๒๙๕ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมาที่สารนาถ ทรง พบสังฆารามที่สร้างไว้ใหญ่โต และทรงสร้างสถูปในบริเวณที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ พระคันธกุฎีที่ประทับจำพรรษาแรกของพระพุทธเจ้า และ สถานที่สำคัญอื่นๆ ในบริเวณนั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๒๘๐ พระถังซำจั๋งได้จาริกมาที่สารนาถ และบันทึกไว้ว่า ได้พบ สังฆารามใหญ่โต มีพระภิกษุอยู่ประจำ ๑,๕๐๐ รูป ภายในกำแพงมีวิหารหลังหนึ่งสูงกว่า ๓๓ เมตร มีบันไดทางขึ้นปูด้วยแผ่นหินกว่า ๑๐๐ ขั้น กำแพงบันไดก่อด้วยอิฐเป็นขั้นๆ ประดับด้วยพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของวิหารมีสถูปหิน อ่อนสูง ๗๐ ฟุต (เสาอโศก) บนยอดเสามีรูปสิงห์ ๔ ตัว ทำด้วยหยกใสเป็นมัน วาวสะท้อนแสง มีมหาสถูป (ธัมเมกสถูป) มีพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ทุกช่อง

พุทธสถานสารนาถได้เจริญรุ่งเรืองและเสื่อมเป็นระยะ จนถึง พ.ศ. ๑๗๓๗ กองทัพ มุสลิมเตอร์กบุกเข้ามาทำลาย และถูกทิ้งร้างต่อมาอีก ๗๐๐ ปี เหลือแต่เพียงกองดินและ มหาสถูปใหญ่ ชาวบ้านได้เข้ามารื้ออิฐจากสารนาถไปก่อสร้างอาคารเมืองพาราณสีเป็น ระยะๆ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๓๗ ราชาเชตสิงห์ (Chait Singh) มหาราชาแห่งเมือง พาราณสี ได้สั่งให้รื้ออิฐเก่าจากมหาราชิกสถูป ที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราชไป สร้างตลาดในเมืองพาราณสี และได้พบผอบศิลาสีเขียว ๒ ชั้น ชั้นในมีไข่มุก พลอยและ แผ่นเงินแผ่นทองปนกับขี้เถ้าและพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเจ้าอโศกทรงบรรจุไว้ และ มหาราชาได้สั่งให้นำไปโปรยลงในน้ำคงคาตามความเชื่อของศาสนาฮินดู

ต่อมาเมื่ออินเดียตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๐ รัฐบาลอังกฤษทำการ ขุดค้นโบราณสถานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยสานงานต่อจาก พ.อ. แมคแคนซี่ ที่ทำการขุดค้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๕๘ และขุดค้นสำเร็จในสมัยของเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ใน ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ (ใช้เวลาเกือบ ๑๐๐ ปี)

จากนั้นท่านอนาคาริกะ ธัมมปาละ ชาวศรีลังกา และผู้มีจิตศรัทธาได้ซื้อที่ดินเพื่อ สร้างมูลคันธกุฎีวิหารใหม่ นับเป็นพุทธศาสนสถานแห่งแรกในบริเวณนี้ หลังจากที่สาร นาถถูกทำลายทิ้งร้าง ต่อมารัฐบาลอินเดียได้บูรณะสารนาถเรื่อยมา จนเป็นจุดศูนย์ กลางในการแสวงบุญสำคัญแห่งหนึ่งของชาวพุทธทั่วโลก ทำให้สารนาถมีสถานที่ สำคัญหลายแห่ง คือ

๑. ธัมเมกสถูป สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา “ธัมมจักกัปวัตนสูตร” แก่ปัญจวัคคีย์ เป็น สถูปตันขนาดใหญ่ ทรงกลมคล้ายลอมฟาง สูงประมาณ ๔๓ เมตร สร้างด้วยอิฐโบราณ ด้านนอกตบแต่งด้วยลวดลายที่สลักจากหินทรายแดง เป็นช่อง ๘ ช่อง อันหมายถึง อริยมรรคมีองค์ ๘ สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช และได้รับการบูรณะซ่อมแซมต่อมา อีกหลายสมัย

๒. ธัมมราชิกสถูป เป็นสถานที่แสดง “อนัตตลักขณสูตร” ที่ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ภายในองค์พระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ถูกนำไปลอย แม่น้ำคงคาแล้ว

๓. พระมูลคันธกุฎี พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเมื่อพระ พุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาแรกที่นี่

๔. เสาหินพระเจ้าอโศก ปัจจุบันหักเป็น ๕ ท่อน สร้างด้วยหินทรายแดง ส่วนยอดเป็น หินหยกสีสุกใสเป็นเงางาม แกะสลักเป็นสิงห์ ๔ เศียร นั่งหันหลังชนกัน มีความหมาย แทนการเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ขยายไปทั่วทั้ง ๔ ทิศ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์สารนาถ และใช้เป็นตราแผ่นดินของประเทศอินเดีย

๕. พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา (ปางสารนาถ) สร้างด้วยหินทรายแดง เป็นศิลปะสมัย คุปตะ มีพุทธลักษณะที่งดงามมาก จัดว่าเป็นพระพุทธรูปที่งามที่สุดองค์หนึ่งของโลก ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สารนาถ

๖. เจาคัณฑีสถูป สร้างขึ้นเป็นที่ระลึก ณ สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาพบปัญจวัคคีย์ เป็นครั้งแรก ที่เห็นเป็นรูปทรง ๘ เหลี่ยมด้านบน เพราะพระเจ้าหุมาหยุ่น กษัตริย์อิสลาม ได้หลบซ่อนข้าศึกในบริเวณสถูปนี้จนพ้นภัย ต่อมาพระเจ้าอักบาร์ โอรสได้ซ่อมแซม และสร้างครอบส่วนบนเป็นรูปทรง ๘ เหลี่ยม

๗. วัดพุทธนานาชาติ มีอยู่เกือบ ๒๐ วัด เช่น วัดไทยสารนาถ เป็นต้น

(ข้อมูลจาก “พุทธสถานรำลึก โดยพระมหาประมวล ฐานทัตโต, ดร.)

หลังจากได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์สารนาถ และนมัสการพุทธสถานในบริเวณโดยรอบแล้ว ในตอนเย็นได้ร่วมสนทนาธรรมกับท่านอาจารย์รอบธัมเมกสถูปที่คณะได้ห่มผ้าสีทอง สวยงาม ดูน่าเลื่อมใสอย่างยิ่งแล้ว ท่านอาจารย์ย้ำเตือนให้ระลึกได้ว่า ธรรมคือขณะ เดี๋ยวนี้ที่กำลังปรากฏ ซึ่งฟังมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว แต่ก็ยังระลึกขณะเดี๋ยวนี้ไม่ได้สักที เพราะยังเป็นความเข้าใจขั้นฟัง ยังไม่ใช่ขั้นพิจารณาและประจักษ์แจ้ง จึงต้องฟังต่อๆ ไป เพื่อละความไม่รู้ที่สะสมมาเนิ่นนาน ความไม่รู้นั้นทำให้หลงยินดีเพลิดเพลินในสิ่งที่ เพียงเกิดปรากฏให้ติดข้อง แล้วก็ดับหมดไป ไม่กลับมาอีกเลย

กราบเท้าท่านอาจารย์ที่นำมาอธิบายให้ฟังบ่อยๆ เนืองๆ ถ้าไม่ได้ฟังจากท่านอาจารย์ ก็คงไม่มีสติปัญญาจะเข้าใจได้เองจากการอ่านพระไตรปิฎกหรือหนังสือธรรมอื่นๆ ได้ ฟังทีไรก็เกิดปีติซาบซึ้ง แล้วก็ลืมไปอย่างรวดเร็วเช่นเคย เป็นตัวอย่างที่ดีของความจำ (เรื่องธรรม) ที่เปรียบเหมือนรอยขีดในน้ำ พอยกมือขึ้น รอยขีดนั้นก็หายไป (ที่จำมา เขียนได้ เพราะจดไว้ระหว่างฟังการสนทนาค่ะ)

ระหว่างฟังธรรมรอบธัมเมกสถูป ซึ่งเป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา บรรยากาศน่าจะ ศักดิ์สิทธิ์ แต่นกแก้วที่มีอยู่มากมายและเจ้าหน้าที่ชาวอินเดียก็ทำเสียบรรยากาศด้วย เสียงนกหวีดที่ดังเกือบตลอดเวลา (รู้แล้วว่า นกแก้วคงเลียนเสียงนกหวีดเจ้าหน้าที่นี่ เอง จึงทำเสียงได้เหมือนมาก) เห็นคุณโจ จากเชียงใหม่เดินไปเจรจา คิดว่าคงมีการให้ รูปีด้วย เสียงจึงเงียบไปสักพัก แล้วก็ดังกว่าเก่าอีก เจรจากันหลายรอบ จนในที่สุดการ สนทนาธรรมก็จบลง (เรื่องอย่างนี้จำแม่น ไม่ต้องจดบันทึกแต่ประการใด)

แล้วก็ถึงเวลาเวียนเทียนประทักษิณรอบธัมเมกสถูป พวกเราหลายร้อยชีวิตเดินประ ทักษิณตามหลังท่านอาจารย์ พร้อมกับกล่าวอริยสาวิตรี คำประพันธ์อันประเสริฐที่ ไพเราะที่สุด คือ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ และ สวดสรรเสริญคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จนครบ ๓ รอบ

ระหว่างนั้นดูเหมือนกาย วาจาจะแสดงความนอบน้อมอย่างสูงสุด ส่วนใจนั้นไม่มีใครรู้ ได้ นอกจากตนเอง สำหรับเราเองได้เห็นขอทานทั้งเด็ก ผู้ใหญ่หลายคน ที่จำได้เป็น ผู้หญิงชาวอินเดียในชุดส่าหรี ยืนเกาะรั้วเหล็กที่กั้นไม่ให้เข้ามาที่ธัมเมกสถูป พร้อมกับ เคาะขันขอเงิน รอบแรกก็ยังไม่มีอะไร รอบที่สอง เธอโยนขันอย่างโมโหที่ไม่มีใครสนใจ ให้ เห็นแล้วก็สงสารที่เกิดอกุศลจิต ทั้งๆ ที่ได้เห็นกุศลกิริยาของผู้อื่น ก็ไม่เกิด อนุโมทนาจิตแต่อย่างไร มีแต่อยากจะได้ไม่สิ้นสุด เห็นโทษของอกุศลที่สะสมเพิ่มขึ้น ทุกขณะหรือยัง ประทับใจกับคำบรรยายของท่านอาจารย์ตอนหนึ่งว่า อยากเป็นคน อย่างไร ก็เริ่มต้นสะสมเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่คิด ที่ทำ ที่พูดนั้นไม่ หายไปไหน แม้จะดับไปแล้ว ไม่กลับมาเกิดซ้ำอีก แต่ก็สะสมอยู่ในจิตสืบต่อไปจาก ขณะหนึ่งสู่ขณะหนึ่ง ไม่สิ้นสุด เป็นปัจจัยให้คิด ทำ พูดอย่างที่เคยชินนั้นไปเรื่อยๆ แต่ก็ เปลี่ยนได้ ถ้ามีสติระลึกรู้ว่า สิ่งนั้นไม่ดี เป็นอกุศล ไม่ควรคิด ทำ พูดอย่างนั้น แล้วเริ่ม คิด ทำ พูดที่เป็นกุศล กุศลนั้นก็จะสะสมเพิ่มขึ้นจนมีกำลังเปลี่ยนเป็นกุศลมากขึ้นได้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 2 ธ.ค. 2554

ประทับใจกับคำบรรยายของท่านอาจารย์ตอนหนึ่งว่า

"อยากเป็นคนอย่างไร ก็เริ่มต้นสะสมเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้"

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาพี่แดงในเรื่องราวที่เพิ่มกำลังศรัทธาและธรรมะดีๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 2 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
intira2501
วันที่ 2 ธ.ค. 2554

เป็นคำบรรยายที่ประทับใจจริงๆ จะจดและจำเพื่อระลึกถึงบ่อยๆ ค่ะ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 3 ธ.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Boonyavee
วันที่ 5 ธ.ค. 2554

"ตัวอย่างที่ดีของความจำที่เปรียบเหมือนรอยขีดในน้ำ พอยกมือขึ้นรอยขีดนั้นก็หายไป" ขอกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ ที่เปรียบเทียบสภาพธรรมให้บุคคลที่ยังมีปัญญา น้อยอย่างดิฉันได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ และกราบอนุโมทนาคุณแม่แดง ที่กรุณาจดจำ เรื่องราวระหว่างการเดินทางครั้งนี้ เพื่อให้สติได้ระลึกถึงกุศลจิตที่เคยได้เกิดขึ้น ณ ที่นี้ ค่ะ

คณะสหายธรรมเดินทางมุ่งหน้าสู่เมืองพาราณสี ซึ่งวันนี้หัวหน้าทัวร์ของเรา คือคุณ ขาว ไม่ค่อยสบาย ตลอดการเดินทางที่คณะลูกทัวร์ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและสนุก สนานด้วยเสียงหัวเราะถูกตอบแทนด้วยภาพความห่วงใยของคณะลูกทัวร์ในการสรรหา สารพัดยามาช่วยบรรเทาอาการป่วยและรับหน้าที่ดูแลหัวหน้าทัวร์ไปโดยปริยาย ซึ่งกว่า จะถึงที่พักก็ใช้เวลานานทีเดียวค่ะ

รุ่งขึ้นลูกทัวร์ต่างพากันดีใจที่หัวหน้าคณะทัวร์ของเราอาการดีขึ้น จึงออกเดินทางเพื่อ นมัสการพระบรมสารีริกธาตุที่มูลคันธกุฏีวิหาร สมาคมมหาโพธิ์สารนาถ จึงกลับมารับ ประทานอาหารที่โรงแรมค่ะ

ระหว่างทางไปพิพิธภัณฑ์สารนาถ คณะสหายธรรมได้แวะชมการทอผ้าและซื้อของที่ ระลึก ก่อนถึงพิพิธภัณฑ์ก็เหลือบเห็นไก่ที่วางขายข้างทางให้คนอินเดียเลือกเพื่อนำไป ฆ่าประกอบอาหาร ก็ระลึกถึงว่าชีวิตช่างสั้นนัก หากไม่มีพระธรรมนำทางดั่งแสงเทียนให้ แสงสว่างจนค่อยๆ เกิดปัญญา ก็คงต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์นี้อย่างแน่นอน การเดินทางมาอินเดียครั้งจึงทำให้ดิฉันระลึกว่าควรเจริญกุศลให้มากกว่านี้

หลังจากคณะสหายธรรมได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์สารนาถ ซึ่งพบว่าภายในมีพระพุทธรูปที่ ถูกทำลายเป็นจำนวนมาก คณะสหายธรรมได้รับความรู้จากไกด์กิตติมศักดิ์สองท่านเช่น เคย ขออนุโมทนาค่ะ จากนั้นจึงนมัสการพุทธสถานและรับฟังการสนทนาธรรมและร่วม เวียนเทียนประทักษิณรอบธัมมะเมกะสถูป จึงเดินทางกลับเข้าพักพักผ่อนที่โรงแรม Ideal Tower ในเวลาค่ำค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 6 ธ.ค. 2554

ขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน และเห็นด้วยกับความเห็นที่3ค่ะ ... สาธุ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaturong
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ING
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Kalaya
วันที่ 14 พ.ค. 2563

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ