โลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ...

 
pirmsombat
วันที่  3 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20099
อ่าน  1,900

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 297

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า"โลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมปรากฏ ดุจรูปอันสมควร, คนพาลมีอุปธิกิเลสเป็นเครื่อง ผูกไว้ ถูกความมืดแวดล้อมแล้ว จึงปรากฏดุจมี ความเที่ยง, ความกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นอยู่"

ก็แลครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงแสดงธรรมว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปในวัฏฏะ เป็นผู้ไม่ประมาทตลอดกาลเป็นนิตย์ กระทำบุญกรรมก็มี, เป็นผู้มีความประมาท กระทำบาปกรรมก็มี เหตุนั้น สัตว์ผู้เที่ยวไปในวัฏฏะ จึงเสวยสุขบ้างทุกข์บ้าง"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 4 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 4 ธ.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 4 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เป็นพระอุทานของพระพุทธเจ้าที่ไพเราะ ลึกซึ้ง มีประโยชน์ สมควรพิจารณาไตร่ตรองด้วยหทัย ขออร่วมสนทนาในพระสูตรนี้ครับ

สำหรับพระอุทานที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสในพระสูตรนี้ สืบนื่องมาจากเรื่องของนางสามาวดี และบริวาร 500 ซึ่งเป็นพระมเหสีและสนมของพระเจ้าอุเทน ถูกไฟเผาทั้งเป็นในปราสาท ซึ่งพระภิกษุทั้งหลายได้ถามถึง คติภพหน้า ที่หญิงเหล่านั้นไปเกิด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า หญิงเหล่านั้นไปเกิดในภพที่ดี และพระองค์ก็ได้ตรัสพระอุทานว่า

"โลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมปรากฏดุจรูปอันสมควร, คนพาลมีอุปธิกิเลสเป็นเครื่อง ผูกไว้ ถูกความมืดแวดล้อมแล้ว จึงปรากฏดุจมีความเที่ยง, ความกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นอยู่.

ก่อนจะอธิบาย พระอุทานของพระพุทธเจ้า ว่ามีความหมายอรรถลึกซึ้งอย่างไรนั้น ขอเล่าเรื่องราวของนางสามาวดี คร่าวๆ ที่เป็นประโยชน์กับสหายธรรมได้อ่านและพิจารณาครับ

พระเจ้าอุเทนมีพระมเหสีอยู่ 3 ท่าน ซึ่งก็มีพระนางมาคัณฑิยาและพระนางสามาวดีด้วยพระนางสามาวดี เป็นอุบาสิกา ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้เป็นพระโสดาบัน เพราะได้ฟังพระธรรมจากนางขุขชุตตราผู้เป็นสาวใช้ ผู้เป็นพระโสดาบัน ส่วนนางมาคัณฑิยา เป็นคนพาล ด้วยเหตุที่นางผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้า ด้วยว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าไปโปรดมารดาบิดาของนางมาคัณฑิยา มารดาบิดาจะยกนางมาคัณฑิยาให้ แต่พระองค์ปฏิเสธและตรัสว่า ไม่ยินดีนาง แม้เท้าของพระองค์ก็ไม่ต้องการแตะต้องนาง เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพระธรรมจบ มารดา บิดาของนางมาคัณฑิยา บรรลุเป็นพระอนาคามี ส่วนนางมาคัณฑิยา ผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้า จะเห็นนะครับว่า พระธรรมไม่สาธารณะกับผู้ที่ไม่สะสมความเห็นถูกมา พระธรรมเรื่องเดียวกัน อีกท่านเป็นกุศล อีกท่านเป็นอกุศลก็ได้ครับ

เมื่อพระเจ้าอุเทนพบนางมาคัณฑิยา ก็แต่งตั้งให้เป็นมเหสี เพราะนางมีรูปสวย และก็คิดในใจว่า หากมีโอกาสได้เป็นใหญ่แล้ว จะแก้แค้นพระพุทธเจ้า เมื่อนางสามาวดีเป็นพระมเหสี และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงจ้องทำร้ายพระนางสามาวดี ให้ร้ายประการต่างๆ มากมาย จนท้ายสุดให้อาของตนเอง จุดไฟเผาพระนางสามาวดีพร้อมด้วยบริวาร 500 ตายทั้งเป็น ด้วยเหตุนี้ พระภิกษุทั้งหลายเห็นเหตุการณ์ที่พระนางสามาวดีถูกเผา จึงสนทนากันว่า พระอริยสาวก ผู้เป็นพระโสดาบันไม่สมควรถูกกรรม คือ สิ้นชีวิตแบบนี้เลย พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระนางสามาวดีและบริวาร สมควรแก่การสิ้นชีวิตแบบนี้แล้ว พระองค์จึงเล่าเรื่องในอดีตว่า พระนางสามาวดีและบริวาร ในอดีตชาติ เกิดเป็นพระสนมของพระราชา เมื่อไปอาบน้ำ เกิดความหนาวจึงจุดไฟเผาหญ้า ณ สถานที่หนึ่ง เมื่อไฟไหม้หญ้าหมด เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เข้าสมาบัติอยู่ ก็ตกใจ คิดว่า หากพระราชารู้ว่าเรามาเผาพระที่พระราชาอุปัฏฐาก จะลงโทษเรา จึงเผาซ้ำอีกครั้ง เพื่อปกปิดหลักฐาน เผาครั้งแรกไม่ได้มีเจตนา แต่เผาครั้งที่สอง มีเจตนาไม่ดี ด้วยกรรมนั้น นางทั้งหลาย จึงต้องตกนรกนับชาติไม่ถ้วน และต้องถูกเผาเมื่อเกิดเป็นมนุษย์มากมาย จนมาชาตินี้ แม้จะเป็นพระอริยสาวก บรรลุธรรมแล้ว ผลของกรรมก็ยังติดดาม ทำให้ถูกเผาอีก ดังนั้น กรรมจึงไม่เลือกว่าเป็นใคร ผู้ใด กรรม ยุติธรรมเสมอ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 4 ธ.ค. 2554

ส่วนพระเจ้าอุเทน ทราบข่าวว่าพระนางสามาวดีและบริวาร 500 ถูกไฟไหม้ ก็เกิดโทมนัส เสียใจมาก รู้ว่าเป็นนางมาคัณฑิยา จึงตรัสให้ลงโทษอย่างทรมานทารุณ ให้แล่เนื้อตนเองทอดกระทะ และให้ทานเนื้อตนเองจนตาย พระพุทธเจ้าทรงทราบเหตุการณ์ ที่พระนางสามาวดีถูกไฟไหม้ และพระนางมาคัณฑิยาและญาติของนาง วอดวายเพราะถูกลงโทษจากพระราชาด้วยเห็นกรรมทั้งสองนี้จึงตรัสพระอุทานที่ว่า

"โลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมปรากฏดุจรูปอันสมควร, คนพาลมีอุปธิกิเลสเป็นเครื่องผูกไว้ ถูกความมืดแวดล้อมแล้ว จึงปรากฏดุจมีความเที่ยง, ความกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นอยู่

ซึ่งข้อความในอรรถกถา อุทาน ได้อธิบายไว้ครับว่า สัตว์โลกผู้เป็นผู้หนาด้วยกิเลส ถูกโมหะ คือ ความไม่รู้ ติดตามไปตลอด เมื่อสะสมความไม่รู้มามาก ย่อมไม่รู้ในสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ จึงทำบาป ทำแต่ในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ มีนางมาคัณฑิยา เป็นต้น และปุถุชน คนพาล ผู้ไม่มีปัญญา มีโมหะ ความมไม่รู้สะสมไว้มาก เพราะมีความไม่รู้ จึงสำคัญสิ่งที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสและคิดนึก ที่เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป ว่าเป็นเรา เป็นคนอื่น เป็นสิ่งต่างๆ เพราะสำคัญว่ามีสัตว์ บุคคลจริงๆ และคิดว่าเที่ยง ยั่งยืน จึงยึดถือด้วยอำนาจกิเลส และทำบาป เพราะสำคัญว่ามีสัตว์ บุคคลนั่นเองครับ ส่วนผู้ที่เห็นตามความเป็นจริง คือ มีปัญญา เห็นว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นและดับไป ย่อมไม่ยึดถือด้วยอำนาจกิเลส ย่อมไม่กังวลในสิ่งเหล่านั้น เพราะเข้าใจตามความเป็นจริงครับ

ดังนั้นผู้ที่ศึกษาธรรม ก็อาศัยความเข้าใจทีละเล็กละน้อย ค่อยๆ ละความไม่รู้ ที่สำคัญผิดว่ามีสัตว์ บุคคลจริงๆ ค่อยๆ ฟังพระธรรมไป ก็จะค่อยๆ เข้าใจความจริง และค่อยๆ ละอกุศลทีละน้อย เพราะรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ครับ

ดังนั้น การศึกษา ฟังพระธรรมจึงเป็นอุปการะมากกับสัตว์โลก อันจะเป็นไปเพื่อดับกิเลสครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 4 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 4 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 4 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 4 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง แสดงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลสำหรับผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษาและมีความเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะทั้งหมดแสดงถึงสิ่งที่มีจริง เพื่อให้เข้าใจตามความเป็นจริง ไม่เว้นแม้แต่อกุศลธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่มีโทษ ให้ผลเป็นทุกข์ นำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนมากมาย เพื่อเข้าใจตามความเป็นจริง อันจะเป็นไปเพื่อเห็นโทษเห็นภัย และขัดเกลาให้เบาบางจนกระทั้งสามารถดับได้ในที่สุด โมหะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งเป็นความหลง ความไม่รู้ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดผลอะไรในชีวิต เป็นต้น สาเหตุหลักที่แต่ละบุคคลยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ก็เพราะยังมีโมหะอยู่นั่นเอง เป็นสภาพที่หุ้มห่อไว้ทำให้ไม่รู้ความจริง เมื่อไม่รู้ความจริงก็มืดมน ไม่สามารถที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ได้ ผู้ที่มีโมหะไม่รู้ว่าตนเองมีโมหะ มากไปด้วยกิเลสประการต่างๆ ประกอบแต่อกุศลกรรม ไม่ได้สะสมความดีไว้เลยกล่าวได้ว่า มีแต่จะทำให้จมอยู่ในสังสารวัฏฏ์ต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือจมอยู่ในอบายภูมิ ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ความเดือดร้อนอันเป็นผลที่เกิดขึ้นเพราะอกุศลกรรมที่ตนเองได้กระทำไว้ ซึ่งจะแตกต่างจากผู้ที่แม้จะมีโมหะ แต่ก็เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต ได้สะสมเหตุที่ดี คือ กุศลประการต่างๆ และการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา จนกว่าจะค่อยๆ ละโมหะได้ป็นลำดับขั้นตามลำดับมรรค สูงสุด คือ สามารถดับโมหะได้อย่างหมดสิ้น เมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ ชีวิตก่อนหน้านั้น ก็เป็นไปตามการสะสม เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง แต่เพราะได้สะสมเหตุที่ดีมา เห็นประโยชน์ของการได้เข้าใจความจริง จึงไม่ละเลยโอกาสที่สำคัญในชีวิต คือ การอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะค่อยๆ ละคลายโมหะให้เบาบางลงได้ ซึ่งทุกคนก็สามารถที่จะเริ่มอบรมเจริญปัญญาได้ตั้งแต่ในขณะนี้ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pat_jesty
วันที่ 4 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ชื่นบุตร
วันที่ 5 ธ.ค. 2554

เรียนถามท่านอาจารย์ครับ

ในตำรามีกล่าวถึงหรือเปล่าครับว่า นางสามาวดีเริ่มสนใจฟังธรรมในชาติใด หลังจากนางเผาพระปัจเจกพุทธเจ้า และต้องรับผลกรรมนั้นหลายชาติ จนถึงชาติล่าสุดที่นางเป็นโสดาบัน และถ้านับตั้งแต่นางเริ่มสนใจฟังธรรม จนถึงชาติที่เป็นโสดาบัน นับได้กี่ชาติครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 5 ธ.ค. 2554

เรียน ความห็นที่ 10 ครับ

ไม่ได้ระบุว่าสนใจพระธรรมชาติใด จึงไม่สามารถระบุได้ว่าจนถึงเป็นพระโสดาบัน ผ่านมากี่ชาติครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ชื่นบุตร
วันที่ 5 ธ.ค. 2554

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
jara
วันที่ 6 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
jaturong
วันที่ 6 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
peem
วันที่ 11 ธ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 6 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ