ความคิด
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมทั้งหลายไม่มีส่วนใดเลย ที่สอนให้เกิดอกุศล หรือ เกิดความโกรธ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ควร คือ กุศล สิ่งที่ไม่ควร คือ อกุศล มีความโกรธ เป็นต้น ดังนั้น ไม่ว่า เหตุการณ์ใดๆ ใครจะผิด หรือ จะถูก ก็ไม่ควรเป็นอกุศลทั้งสิ้น แต่เพราะความเป็นผู้ หนาด้วยกิเลส ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะเกิดอกุศล แต่แม้อกุศลจะเกิด แต่เข้าใจความ จริงว่า ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ใดที่ได้รับกระทบ อกุศลที่เกิดขึ้น ก็ชื่อว่าไม่ดีโดย ประการทั้งปวงครับ
ซึ่งความจริงในพระพุทธศาสนา คือ จริงด้วยกุศลธรรม กุศลธรรม คือ ความดี ไม่ เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าสังคม หรือ บุคคลใดจะกล่าวว่าผิด หรือ ไม่ผิด กุศลธรรมย่อมถูก ต้องโดยตัวของมันเอง และไม่ว่าอยู่ที่ไหน เวลาใด เมื่อกุศลธรรมเกิดขึ้น ชื่อว่าจริง ตรงและถูกต้อง ดังนั้น ตัวตัดสินจึงไม่ใช่เพียงแค่ บุคคลใดกล่าวว่าจริงหรือไม่จริง แต่ ต้องพิจารณาเหตุผลด้วยปัญญาว่าสิ่งนั้น ถูกต้อง จริงเพราะเป็นสิ่งที่เป็น ความดี ถูก ต้องตามจริยธรรม คุณธรรมหรือไม่ เป็นไปเพื่อเพิ่มอกุศล หรือ ละคลายอกุศล
หากเป็นไปเพื่อละคลายอกุศล เป็นความดี เป็นกุศลธรรม ย่อมถูกต้องครับ ดังนั้น แม้บางเรื่องจะรู้ว่าจริง หรือ ไม่จริงก็ตาม ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปกล่าว ยืนยันกับผู้อื่น หากรู้ว่ากล่าวไปแล้ว ไมได้เกิดประโยชน์กับผู้รับฟัง อันจะทำให้ผู้รับฟังเกิดอกุศล มี การ หัวเราะเยาะ เป็นต้น ก็ควรนิ่งเฉยเสีย เพราะประโยขน์ไม่ได้อยู่ที่การเอาชนะ หรือ ว่ายืนยันกันครับ แต่ ประโยชน์อยู่ที่ความเข้าใจถูกของตนเองว่าเราได้เข้าใจถูกหรือ ไม่ว่าจริงอย่างไร และประโยชน์สูงสุด คือ เกิดกุศลธรรมและปัญญาในเรื่องนั้น ที่ได้ พิจารณา จริงและไม่จริง ไมได้ขึ้นอยู่กับบุคคลใด เพราะความจริงไม่เปลี่ยนลักษณะ คือ กุศลธรรม แต่เมื่อรู้ความจริงแล้ว และมีการกระทำทางกาย วาจาของไม่ดีของผู้อื่น ก็ไม่ควรเป็นอกุศลโดยประการทั้งปวง มีความโกรธ เป็นต้นครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สภาพธรรมที่เป็นกุศลธรรม ไม่เป็นโทษแก่ใครๆ ทั้งสิ้น และกุศลธรรม ที่ควรจะเกิดง่าย โดยไม่ต้องรอคอยกาลเวลาเลยนั้น คือ เมตตา ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน ความปรารถนาดี ความหวังดีต่อผู้อื่น โดยเสมอทั่วกันหมด ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เพราะว่า บุคคลผู้ควรแก่การโกรธ ไม่มี ขณะที่โกรธ ตัวเราเองเท่านั้นที่เดือดร้อน เดือดร้อนเพราะโทสะของตนเองแท้ๆ ตามความเป็นจริงแล้วสำหรับผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ อกุศลจิตก็ย่อมเกิดขึ้นมาก เกิดขึ้นมากกว่ากุศลจิตจริงๆ ไม่ว่าจะประสบกับเหตุการณ์ใดๆ ก็มักจะหวั่นไหวไปด้วยอำนาจของอกุศลประการต่างๆ อยู่เสมอ แม้จากตัวอย่างที่ได้ยกมาก็เช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นเลยว่า อกุศล เยอะมากทีเดียว, เมื่อเราได้กระทำในสิ่งที่ดีแล้ว ใครจะคิดอย่างไร ใครจะว่าอย่างไร สะสมมาที่จะเกิดอกุศลอย่างไร ก็เป็นเรื่องของบุคคลคนนั้น ตามการสะสมของเขา เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย แต่สำหรับผู้ที่ได้สะสมเหตุที่ดีมา เห็นประโยชน์ของกุศลธรรม ก็ย่อมจะมีความจริงใจ มีความตั้งใจที่จะเจริญกุศลสะสมความดีต่อไป เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ไม่ใช่-ไปยืนยันความถูกต้องของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เพราะความดี ย่อมเป็นความดี แม้คนอื่นเขาไม่รู้ เขาไม่เข้าใจ ก็ตาม หรือ เมื่อเราได้กระทำความดีไปแล้ว ถึงใครจะบอกว่า ไม่ดี ความดี ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นตามที่เขาว่า เลย เพราะฉะนั้น พึงเป็นผู้มั่นคงในการสะสมความดีต่อไป นะครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเ้จ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ถ้าเราคิดว่าถูก แล้วแนะนำคนอื่น แต่เขาไม่เชื่อก็เป็นไร ถือว่าได้ทำหน้าที่แห่ง กัลยาณมิตรแล้ว ความทุกข์คนดี คือ คิดดี และอยากให้คนอื่นได้ดี ความทุกข์ของ คนไม่ดี ก็ทุกข์เพราะความไม่ดี แต่ทั้งดี และไม่ดี ล้วนไม่ใช่เรา สักแต่เป็น สภาพ ธรรมะ ที่ตกอยู่ภายใต้ กฎแห่งไตรลักษณ์ แต่ติดดี ก็ยังดีกว่าติดชั่ว
ถ้าเราทำดี ทำสิ่งที่ถูกต้อง คนอื่นจะติเตียน ก็ติเตียนเปล่า ตรงข้าม ถ้าเราคิด ไม่ดี ทำไม่ดี คนอื่นสรรเสริญก็สรรเสริญเปล่า เพราะไม่ใช่ความจริง สรุปว่า ถ้าเราทำดี ทำสิ่ิงที่ถูกต้อง คนอื่นจะว่า หรือไม่เข้าใจเรา ก็ช่างเขาเถอะค่ะ
ถ้าเรามี "เกณฑ์กลาง" หรือ "เกณฑ์มาตรฐาน" สำหรับตัดสินว่า ทำอย่างนั้นๆ ดี ทำอย่างนี้ๆ ไม่ดี และทุกคนยอมรับเกณฑ์ดังกล่าวนี้ เหมือนกับที่ "ต้อง" ยอมรับ กฎหมายที่ประกาศใช้บังคับแล้ว ปัญหาอย่างที่ถามนี้ก็ไม่เกิด
ผู้รู้ท่านก็คงจะบอกว่า เกณฑ์ที่ว่านั้นก็มีอยู่แล้ว คือหลักธรรมข้อนั้น ข้อนี้ ข้อโน้น ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะให้คนทั้งหลายยอมรับในเกณฑ์ที่ว่า "มีอยู่แล้ว" นั้นและเราก็คงจะไปบังคับให้ใครยอมรับเหมือนกับที่ต้องยอมรับกฎหมาย ไม่ได้ด้วย เพราะฉะนั้น คำถามทำนองนี้ก็คงจะเกิดขึ้นไม่รู้จบ
จะมีคำตอบแบบไหนบ้างไหมครับ ที่ตอบแล้วไม่ต้องตั้งคำถามแบบนี้กันอีก ต่อไป คือเข้าใจทะลุไปเลย และได้หลักยึดทางใจที่มั่นคง ไม่ต้องลังเล สงสัย หวั่นไหว ว่อกแว่ก อะไรอีกทั้งนั้น
อย่าลืมว่าทุกคนจะสะสมมาไม่เหมือนกัน แม้แต่ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้า ก็ยังไม่สามารถทำให้ทุกคนฟังธรรมแล้วบรรลุหมด อยุ่ที่การสะสมบุญบารมี และ เหตุปัจจัยทั้งหลายยังไม่พร้อม ถ้ายังไม่ถึงกาลเวลา ก็ยังต้องสงสัยเป็นเรื่องปกติ ธรรมดาของปุถุชนที่ถุกความไม่รู้ปิดบังค่ะ
ธรรมะเป็นสิ่งที่รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ไม่ว่าใครก็ทำให้คนอื่น บรรลุไม่ได้ แม้ พระพุทธเจ้าก็ยังเป็นได้แค่ผู้บอกทาง ท้ายที่สุด ตัวเราเองนั่นแหละ เมื่อ เหตุปัจจัย พร้อมถึงเวลา ยอมรับความจริง หรือประสบด้วยตัวเอง นั่นแหละ ถึงจะเข้าใจ แต่ถ้า เข้าใจแล้ว ละกิเลสได้บางส่วนแล้ว เวลาสอนคนอื่น เราก็ไม่ทุกข์กับคนที่เราสอน หรอกเพราะ รู้แล้วนี่ ว่า ท้ายที่สุด ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน และ แต่ละคนต่างเป็นเหตุ และปัจจัยเกื้อกูลกันและกัน การทำหน้าที่กัลยาณมิตร ก็ทำไปตามเหตุปัจจัย อย่า ว่าแต่เพื่อนเลย แม้แต่ ลูก เมีย แม่ พ่อ ก็คงได้ แต่แนะนำ จะทำให้เขายอมรับ และ เชื่อเลยไม่ได้หรอก พระพุทธเจ้าท่านจะสอนใคร ท่านยังเลือกว่า จะสอนได้ไหม ถ้าสอนไม่ได้ ท่านก็ไม่สอน เพราะฉะนั้น อย่ากังวลกับคนอื่น เอาตัวเองให้รอด แล้วทำให้เป็นแบบ อย่างมีความสุข ให้เขาเห็น แล้ว วันหนึ่ง คนรอบข้างเขาจะเข้า หาเราเอง