กำจัดฉันทราคะในสิ่งอะไร

 
pirmsombat
วันที่  6 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20107
อ่าน  5,292

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 20

ข้อความบางตอนจาก พระสุตตันตปิฎก เล่มนี้

เชิญคลิกอ่านที่นี่

กำจัดฉันทราคะในสิ่งอะไร [ขันธวารวรรค]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 6 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความมาจากพระสูตร คือ เทวทหสูตร ซึ่จะขออธิบายพอสังเขปดังนี้ครับ

พระภิกษุทั้งหลาย กำลังจะไปที่ชนบทที่อื่น จึงไปกราบทูลลาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอได้ลาสารีบุตรหรือยัง พระภิกษุทั้งหลายกราบทูบว่ายัง พระภิกษุทั้งหลายจึงไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อลา เมื่อพบกับท่านพระสารีบุตร ท่านก็ได้ถามปัญหาธรรมและได้แสดงธรรมให้กับภิกษุทั้งหลายฟัง จะเห็นนะครับว่า ผู้มีปัญญาย่อมไม่ละเลยโอกาส แม้เพียงได้พบกันเพียงชั่วเวลาไม่นาน ก็ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์คือการแสดงธรรม ฟังพระธรรม ซึ่งพระพุทธองค์ทรงทราบเหตุที่ท่านพระสารีบุตรจะแสดงธรรมกับภิกษุเหล่านั้น และภิกษุจะได้ประโยชน์ พระองค์จึงมีรับสั่งให้พระภิกษุทั้งหลายไปลา ท่านพระสารีบุตรก่อน ซึ่งเนื้อหาที่ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมกับพระภิกษุทั้งหาย มีเนื้อหาพอสังเขปดังนี้

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า หากว่า มีผู้อื่นสอบถามว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมว่าอย่างไร ก็พึงกล่าวว่า สอนให้ละฉันทราคะ ฉันทราคะในที่นี้ ก็เป็นชื่อหนึ่งของ โลภะ คือ ความติดข้อง ละความติดข้อง ท่านพระสารีบุตรก็แสดงต่อไปว่า ละฉันทราคะ โลภะ ความติดข้องในอะไร ละความติดข้องในรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ คือ ละความติดข้องในขันธ์ ๕ ในสภาพธรรมที่มีจริงที่ยึดถือว่าเป็นเรานั่นเองครับ และเมื่อผู้อื่นถามต่อไปว่า ท่านท้้งหลายเห็นโทษอะไร จึงให้ละความติดข้อง ละฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในขันธ์ ละความติดข้องที่บัญญัติว่าเป็นเรา ท่านพระสารีบุตรกล่าวต่อไปว่า เพราะความติดข้องในขันธ์ ๕ ในตัวเรา มีผล คือ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความเศร้าเสียใจ เป็นผลของความติดข้องในร่างกาย ในตัวเรา ในสภาพธรรมครับ เพราะว่า ขันธ์ ๕ สภาพธรรม ร่างกาย จิต ต้องเกิดขึ้นและดับไป เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่เที่ยงด้วย เมื่อสิ่งนั้นไม่เที่ยงและไม่เป็นดั่งใจเรา ก็ต้องทุกข์ เพราะต้องพลัดพรากจากสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น เพราะมีความติดข้อง จึงทำให้ทุกข์ ครับ โทษของการติดข้องในขันธ์ ๕ จึงทำให้ทุกข์ จึงควรละความติดข้อง ฉันทราคะใน ขันธ์ ๕ ครับ

ท่านพระสารีบุตรกล่าวต่อไปว่า หากผู้อื่นถามต่อไปว่า และท่านเห็นอานิสงส์ สิ่งที่ดีอะไร ถึงให้ละฉันทราคะ ความติดข้องในขันธ์ ๕ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า เพราะเมื่อละความติดข้องในขันธ์ ๕ ในร่างกายของเราได้ ก็ไม่ต้องทุกข์กายและทุกข์ใจเลย ไม่ต้องเสียใจอีกครับ

ท่านพระสารีบุตรกล่าวต่อไปว่า พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรม มีการละฉันทราคะ คือ ความติดข้อง เพราะ เมื่อละอกุศศลธรรมแล้ว ก็ไม่ต้องทุกข์กายและใจ ย่อมนำไปสู่สุคติ และพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการเจริญของกุศลธรรม เพราะไม่นำมาซึ่งทุกข์ประการต่างๆ และนำไปสุ่สุคติครับ

ซึ่งหนทางการละฉันทราคะ คือ ความติดข้องในนาม รูป ในขันธ์ ๕ ในสภาพธรรม ก็ต้องเริ่มจากการฟังพระธรรมให้เข้าใจ โดยเริ่มจากปัญญาขั้นต้นให้เข้าใจก่อนครับว่า ธรรมคืออะไร เพราะยังละความติดข้องทันทีไม่ได้ เพราะกิเลสที่ต้องดับก่อนคือความเห็นผิดว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนครับ อาศัยการฟัง ศึกษาพระธรรมก็จะทำให้ถึงการละความติดข้องในสภาพธรรมต่างๆ ได้ในที่สุด แต่ต้องใช้เวลายาวนานครับ จึงต้องอดทนและอบรมต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2554

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 6 ธ.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 6 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

เทวทหสูตร

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 6 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pat_jesty
วันที่ 6 ธ.ค. 2554

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaturong
วันที่ 7 ธ.ค. 2554

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สมศรี
วันที่ 9 ธ.ค. 2554
ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 10 ธ.ค. 2554

การกำจัดฉันทราคะ เป็นเรื่องของผู้มีปัญญามาก เบื้องต้นต้องมีความรู้ความเข้าใจก่อน

ลำดับแรก ละความเห็นผิดในสัตว์ บุคคล ตัวตน แล้วเมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็จะค่อยๆ ละความติดข้องในขันธ์ทั้ง ๕ เองค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 6 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Sea
วันที่ 11 พ.ย. 2564

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ