กามคุณเหมือนความฝันหลอกลวงดังของที่ยืมมา [สัมพหุลภิกขุสูตร]

 
mookta
วันที่  23 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20217
อ่าน  3,503

กามคุณซึ่งได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ที่ว่าเป็นของที่ยืมมา คือต้องคืนกลับไป ไม่ใช่เจ้าของตลอดกาล ไม่ว่าจะช้าเร็ว วันหนึ่งก็ต้องถึงวันตาย ที่จะคืนไม่กลับมาอีกเลย ที่ว่าฝัน คือตื่นแล้วไม่มี ฝันหลายอย่างแต่ว่าตื่นแล้วไม่มีสักอย่าง ขณะนี้กำลังฝันหรือไม่ เพราะสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเพียงชั่วคราวแล้วดับไปไม่เหลือเลย ไม่กลับมาอีก ฝันมานานมากแล้วหรือไม่ เริ่มฝันตั้งแต่เกิด มีทุกอย่างที่จำไว้ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นคนนั้น สิ่งนั้นจริงๆ แม้เดี๋ยวนี้ก็ยังจำว่ามีอยู่ ทั้งที่ไม่มีอะไรเลย คือปรากฏแล้วหมดไป

อ่านข้อความเตือนสติ ทั้งหมดจากสัมพหุลภิกขุ สูตร ...

ข้อความเตือนสติเรื่องสัมพหุลภิกขุสูตร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นและดับไป ไม่เหลือเลย แม้แต่สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ที่กำลังเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส ที่เป็นกามคุณ ๕ ก็มีเกิดขึ้นและก็ดับไป ไม่มีกลับมาอีก แต่เพราะความไม่รู้และไม่มีปัญญา จึงสำคัญสิ่งที่เห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เพราะความเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมที่เกิดดับอย่างรวดเร็ว จึงปรากฏเสมือนว่าเที่ยง ยังมีอยู่ครับ ดังนั้นกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส เหมือนความฝัน เพราะ ความฝัน เมื่อตื่นขึ้นก็รู้ว่าไม่มีจริง ฉันใด แม้กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส ก็เกิดขึ้นและดับไป สิ่งที่ดับไปก็ไม่เหลือเลย ไม่ย้อนกลับมาเลย จึงไม่ต่างจากความฝันที่ไม่มีอยู่จริง เพราะเกิดแล้วดับไป ไม่กลับมาอีกนั่นเองครับ

กามคุณก็เปรียบเหมือนของที่ขอยืมเขามา ได้มาในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสที่ดี แต่เมื่อสภาพธรรมนั้นดับไป ก็จากไปแล้ว หรือเมื่ออกุศลให้ผล สิ่งที่ได้มาก็ต้องจากไปพรากไปเพราะอกุศลตัดรอนให้จากไปในสิ่งที่ดีๆ ดังนั้น กามคุณจึงเปรียบเหมือนของที่ขอยืมเขามาจริงๆ เพราะเมื่อขนของด้วยเกวียนไประหว่างทาง เจ้าของตัวจริงจำของได้ ก็ขอเอาคืนไปจนไม่เหลือเลย และเมื่อจากโลกนี้ไป ก็ต้องจากแม้ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสทั้งสิ้น คงเหลือสะสมไปแต่ความดีงามและอกุศลธรรมเท่านั้น ควรอย่างยิ่งที่จะเจริญกุศล อบรมปัญญาเพื่อละกิเลส ละคลายความพอใจรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสที่เป็นกามคุณ ๕ ครับ

ขออนุโมทนาคุณ mooktas และทีมงานทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
bou
วันที่ 23 ธ.ค. 2554

ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เซจาน้อย
วันที่ 23 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 23 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 23 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กามทั้งหลาย กล่าวคือ สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ ซึ่งไม่พ้นไปจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย) ที่แสวงหาและประสบกันอยู่ทุกวันนี้ เปรียบเสมือนของที่ยืมเขามา ซึ่งเป็นไปเพียงชั่วคราวเท่านั้นจริงๆ เกิดแล้วดับไปไม่ยั่งยืน

จึงไม่มีใครได้เป็นเจ้าของสิ่งหนึ่งสิ่งใดในโลกเลย ตลอดชีวิตเป็นแต่เพียงสิ่งที่ยืมมาเท่านั้น และถึงแม้ว่าสิ่งที่น่าปรารถนาเหล่านั้นไม่ได้พลัดพรากไป แต่ในที่สุดบุคคลก็จะต้องจากสิ่งที่น่าปรารถนาเหล่านั้นไปเมื่อถึงวาระที่จะต้องละจากโลกนี้ เพราะทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย และไม่สามารถนำเอาอะไรติดตามตัวไปได้เลย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นที่ตั้ง แต่ความติดข้องยินดีพอใจ ผู้ที่ยังไม่หมดโลภะก็ติดข้องอยู่ในสิ่งเหล่านี้เป็นปกติธรรมดา

ในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ที่ไม่ได้แสวงหาปัญญา (ความเข้าใจถูกเห็นถูก) มีแต่การแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทรัพย์สมบัติต่างๆ มากมาก ก็เพราะเหตุว่ายังไม่เห็นประโยชน์ และยังไม่เห็นคุณค่าของปัญญานั่นเอง ดังนั้น สิ่งที่ควรจะแสวงหาเป็นอย่างยิ่ง คือปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก ซึ่งเป็นการแสวงหาที่ประเสริฐที่จะทำให้รู้ความจริงของสภาพธรรม จนกระทั่งสามารถที่จะละคลายความติดข้องต้องการได้ เพราะความติดข้องต้องการนี้เองเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ เกิดความเดือดร้อน เมื่อมีปัญญาที่เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ ก็จะสามารถละคลายความติดข้องต้องการและสามารถดับทุกข์ได้ในที่สุด ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ โดยต้องเริ่มจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ในแนวทางที่ถูกต้องตรงตามที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เท่านั้น.

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ mooktas และทีมงานถอดเทปสนทนาพระสูตรแต่ละพระสูตร จนเหลือแต่ประโยคเตือนสติ ทุกๆ ท่าน ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
bsomsuda
วันที่ 24 ธ.ค. 2554

"ความติดข้องต้องการในกามทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วดับไปตามเหตุปัจจัย เป็นเหตุแห่งทุกข์ การแสวงหาด้วยความติดข้องในสิ่งที่เกิดแล้วดับจึงเป็นทุกข์ ปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมะเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐ ควรแสวงหาด้วยศรัทธาเมื่อเพียรอบรมให้ความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมะค่อยๆ เพิ่มขึ้นแล้ว ความติดข้องในกามก็จะค่อยๆ ลดลงจนหมด ทำให้พ้นทุกข์ได้ในที่สุด"

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา ในกุศลจิตของคุณ mooktas, คุณผเดิม, อ.คำปั่น และทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 24 ธ.ค. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
homenumber5
วันที่ 24 ธ.ค. 2554

กามคุณก็เปรียบเหมือนของที่ขอยืมเขามา ได้มาในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสที่ดี แต่เมื่อสภาพธรรมนั้นดับไปก็จากไปแล้ว หรือเมื่ออกุศลให้ผล สิ่งที่ได้มาก็ต้องจากไปพรากไป เพราะอกุศลตัดรอนให้จากไปในสิ่งที่ดีๆ ดังนั้น กามคุณจึงเปรียบเหมือนของที่ขอยืมเขามาจริงๆ เพราะเมื่อขนของด้วยเกวียนไประหว่างทาง เจ้าของตัวจริงจำของได้ ก็ขอเอาคืนไปจนไม่เหลือเลย และเมื่อจากโลกนี้ไปก็ต้องจากแม้รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสทั้งสิ้น คงเหลือสะสมไปแต่ความดีงามและอกุศธรรมเท่านั้น ควรอย่างยิ่งที่จะเจริญกุศลอบรมปัญญาเพื่อละกิเลส ละคลาย ความพอใจรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสที่เป็นกามคุณ ๕ ครับ

ขออนุโมทนาค่ะ ดิฉันขอเพิ่มเติมความเข้าใจดังนี้ค่ะ

แม้ว่า ปุถุชนจะเป็นผู้ข้องอยู่ในกามคุณ หากเพราะกุสลวิปากจึงให้มี ตา หู และอวัยวะอื่นๆ ที่นำพาให้ปุถุชนมาพบพระพุทธศาสนา (คณะบ้านธัมมะ) (ยังมีมหาชนอีกมหาศาลที่เกิดมาเป็นปุถุชน ไม่ได้พบพระพุทธศาสนา) ได้ฟังพระพุทธวจน ได้อ่านพระไตรปิฎก ได้ทำทานสร้างกุศล ตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเพื่อสร้างกุสลนำไปปฏิสนธิในภพภูมิใหม่ที่สูงขึ้น ดังนั้น เมื่อปุถุชนยังมี ตา หู ร่างกายที่พร้อมสร้างกุสล จงอย่าละโอกาส อย่าประมาทในความเพียร ตามที่พระพุทธองค์ทรงได้ให้โอวาทก่อนปรินิพพาน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
mari
วันที่ 12 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณค่ะขออนุโมทนานะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เข้าใจ
วันที่ 1 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณ และขอกราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Sea
วันที่ 20 พ.ย. 2564

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ