สูตรที่ ๓.. บริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล และมีอัครบุคล

 
pirmsombat
วันที่  25 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20227
อ่าน  2,004

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

………………………….

สูตรที่ ๓

ว่าด้วยบริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล และมีอัครบุคล

[๒๘๙] ๔๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก

เป็นไฉน คือ บริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล ๑ บริษัทที่มีอัครบุคคล ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ไม่มีอัครบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุเถระเป็นคนมักมาก เป็น

คนย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวไปสู่ทางต่ำ ทอดทิ้งธุระในปวิเวก

ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนภายหลังต่างถือเอา

ภิกษุเถระเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ถึงประชุมชนนั้นก็เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน

เป็นหัวหน้าในการก้าวไปสู่ทางต่ำ หยุดทิ้งธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความ

เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง

ซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า

บริษัทไม่มีอัครบุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่มีอัครบุคคลเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุเถระเป็นคน

ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดทิ้งธุระในการก้าวไปสู่ทางต่ำ เป็นหัวหน้า

ในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง

ไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนภาย

หลังต่างถือเอาภิกษุเถระเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ถึงประชุมชนนั้นก็เป็นผู้ไม่

มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดทิ้งธุระในการก้าวไปสู่ทางต่ำ เป็นหัวหน้าใน

ปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่

ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทมีอัครบุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒

จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้

บริษัทที่มีอัครบุคคลเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

บทว่า อคฺควตี ได้แก่ มีบุคคลสูงสุด หรือประกอบด้วยการ

ปฏิบัติอย่างเลิศคือสูงสุด. บริษัทตรงข้ามจากบริษัทที่มีตนเลิศนั้น. ชีวิต

ที่ไม่มีคนเลิศ. บทว่า พาหุลฺลิกา ได้แก่ ผู้ปฏิบัติด้วยความมักมากด้วย

ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น . บริษัทชื่อว่า สาถิลิกา เพราะอรรถว่า ถือ

ศาสนาย่อหย่อน. นิวรณ์ ๕ เรียกว่า โอกฺกมน ในคำว่า โอกฺกมเน

ปุพฺพงฺคมา นี้ ด้วยอรรถว่า ดำเนินต่ำลง. อธิบายว่า ภิกษุเถระเหล่านั้น

มุ่งหน้าด้วยทำนิวรณ์ ๕ ให้เต็ม. บทว่า ปวิเวเก นิกฺขิตฺตธุรา ความว่า

เป็นผู้ทอดธุระในวิเวก ๓ อย่าง. บทว่า น วิริยํ อารภนฺติ ความว่า

ไม่ทำความเพียรทั้ง ๒ อย่าง. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา ความว่า

เพื่อต้องการบรรลุคุณวิเศษคือฌานวิปัสสนามรรคและผลที่คนยังไม่ได้

บรรลุมาก่อน. สองบทนอกนี้ อนธิคตสฺส อธิคมาย อสจฺฉิกตสฺส

สจฺฉิกิริยาย เป็นไวพจน์ของบท (อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา) นั้นเอง.

บทว่า ปจฺฉิมา ชนตา ได้แก่ ชนผู้เป็นสัทธิวิหาริกและอันเตวสิก.

บทว่า ทิฏฺฐนุคตึ อาปชฺชติ ความว่า เมื่อกระทำความข้อที่อุปัชฌาย์

อาจารย์กระทำแล้ว ชื่อว่าประพฤติตามอาจาระของท่านเหล่านั้นที่ตนเห็น

แล้ว. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๓

.............................


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บริษัท 2 จำพวก คือ บริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล และบริษัทที่มีอัครบุคล

บริษัท หรือ กลุ่มชนที่มีอัครบุคคล คือ อย่างไร

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจ คำว่า อัครบุคคล หมายถึง บุคคลที่เลิศ หรือ หมายถึง ข้อ

ปฏิบัติที่เลิศ คือ ข้อปฏิบัติทืี่ขัดเกลากิเลส ชื่อว่า อัคร เช่นกันครับ ดังนั้น บริษัทที่มี

อัครบุคคล คือ กลุ่มชน ที่มีหัวหน้า หรือ ภิกษุเถระที่เป็นหัวหน้า เป็นคนดี ปฏิบัติธรรม

สมควรแก่ธรรม ไม่เห็นแก่ลาภ สักการะ ไม่มักมาก ไม่หลอกลวงชน และเป็นผู้ประพฤติ

ตามพระธรรมวินัย และมีความเห็นถูก ชนผู้ปฏิบัติตามก็ไม่มาก ไม่ติดลาภ สักการะ และ

เห็นถูก บริษัท หรือ กลุ่มชนนั้น ชื่อว่า บริษัทที่มีอัครบุคคล หรือ บริษัท กลุ่ชนเหล่าใด

ปฏิบัติธรรในหนทางที่ถูก ไม่ใช่เพื่อลาภ สักการะ และเข้าใจธรรมถูกต้องตามความเป็น

จริง บริษัทที่ถือข้อปฏิบัติที่ถูก ชื่อว่า บริษัท กลุ่มชนที่อัครบุคคลครับ

บริษัท หรือ กลุ่มชนที่ไม่มีอัครบุคคล คือ อย่างไร

ส่วนบริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล คือ บริษัท กลุ่มชน ที่มีหัวหน้า หรือพระภิกษุที่มักมาก

ติดในลาภ สักการะ หรือ เข้าใจหนทางที่ผิดและชนเหล่าอื่นในบริษัท กลุ่มชนนั้น ก็

ปฏิบัติผิดตามไปด้วย ชื่อว่า เป็นบริษัทที่ไม่มีอัครบุคคลครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 25 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 25 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ อาจารย์ผเดิม และทุกท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 25 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น บริษัท หมายถึง กลุ่มชน, แต่ละคน ก็เป็นแต่ละหนึ่ง เมื่อแต่ละคน ซึ่งเป็นแต่ละหนึ่งๆ นั้น อยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะ จึงเรียกว่า เป็นบริษัท (กลุ่มชน) การที่ในกลุ่มชนนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นผู้นำ เป็นพระเถระ ประพฤติตนเป็นคนดี สุจริตทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ มีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจพระธรรมอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เมื่อผู้อื่นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี ก็จะถือเอาเป็นแบบอย่างและประพฤติปฏิบัติตามในส่วนที่ดีดังกล่าวนั้นด้วย เมื่อเป็นอย่างนี้ บริษัทนั้น ก็เป็นบริษัทที่มีอัครบุคคล (บุคคลที่ดีเลิศ) ซึ่งจะทำให้ในบริษัทนั้น มากไปด้วยคนดี เพราะมีแบบอย่างที่ดี นั่นเอง ถ้าเป็นบริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล ก็เป็นตรงกันข้าม กล่าวคือ มีผู้นำหรือหัวหน้าเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ก็จะไม่มีแบบอย่างที่ดี มีแต่แบบอย่างที่ไม่ดี คนในบริษัทนั้น ก็จะคล้อยตามแต่สิ่งที่ไม่ดีจากผู้นำหรือผู้ที่เป็นหัวหน้าที่มีพฤติกรรมไม่ดี ย่อมจะทำให้บริษัทนั้นเต็มไปด้วยคนไม่ดี เนื่องจากเป็นบริษัทที่ไม่มีอัครบุคคลเป็นแบบอย่างที่ดี นั่นเอง ครับ ...ของพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kinder
วันที่ 26 ธ.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pirmsombat
วันที่ 26 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของ

คุณผเดิม คุณคำปั่น คุณผู้ร่วมเดินทางและทุกๆ ท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ