การตัดกิเลส ๓ ระดับ

 
dets25226
วันที่  25 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20232
อ่าน  44,697

ระดับที่ ๑ ตัดด้วยศีล มีพระบาลีว่า สีเลนะ วีติกกะมะกิเลเส วิโสธะนัง ปะกาสิตัง โหติฯ การรักษาศีล ๕ ศีล ๘ อย่างเคร่งครัดของฆราวาสก็ดี การปฏิบัติตามพระวินัย ๒๒๗ ข้อ และการปฏิบัติธุดงควัตร ๑๓ ข้อ อย่างเคร่งครัดของพระสงฆ์ก็ดี เป็นการชำระวีติกกมกิเลสที่เกิดทางกายและทางวาจา (ป้องกันสิ่งที่จะพึงก้าวล่วงทางกายและทางวาจา)

ระดับที่ ๒ ตัดด้วยสมาธิ มีพระบาลีว่า สะมาธิยา วิกขัมภะนะกิเลเส วิโสธะนัง ปะกาสิตัง โหติฯ การปฏิบัติโดยใช้สติกับสมาธินำหน้า เช่น การปฏิบัติตามสมถะ ๔๐ ซึ่งมีอนุสสติ ๑๐ เป็นเครื่องชำระวิกขัมภนกิเลส (ข่มกิเลสไว้) การปฏิบัติในลักษณะนี้ให้ผลได้ตลอดชาตินี้แล้ว เมื่อละอัตภาพก็ไปเกิดเป็นพรหม เมื่อหมดอายุพรหมก็กลับมาเกิดอีกตามแต่บุญกรรมที่ทำไว้

ระดับที่ ๓ ตัดด้วยปัญญา มีพระบาลีว่า ปัญญายะ อนุสสะยะกิเลเส สะมุจเฉทะนัง วิโสธะ นัง ปะกาสิตัง โหติฯ การใช้องค์มรรค คือสัมมาทิฏฐิ ดูรูปธาตุนามธาตุให้เห็นสภาวะที่มิใช่ตัวตน และใช้สัมมาสังกัปปะพิจารณาว่าเป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน หากใช้ปัญญาองค์มรรค ๒ ประการนำหน้าแล้ว สามารถที่จะตัดอนุสัยกิเลสซึ่งเป็นกิเลสชนิดละเอียดอันซ่อนอยู่ในกมลสันดานนั้น ให้ขาดสะบั้นลงไปแล้วก็เกิดความเป็นจิตใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมาได้

วิธีการตัดกิเลสทั้ง ๓ ระดับ ก็คือ

๑. ศีล ตัดกิเลส เหมือนกับการตัดกิ่งไม้

๒. สมาธิ ตัดกิเลส เหมือนกับการตัดต้นไม้

๓. ปัญญา ตัดกิเลส เหมือนกับการขุดรากถอนโคนต้นไม้ทั้งต้น

บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยเจ้าพึงตระหนักให้ดีฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กิเลส คือ ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมอง คือทำให้สภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วยคือจิต เศร้าหมอง กิเลสเป็นเจตสิก กิเลสต้องละเป็นลำดับ ซึ่งกิเลส มี ๓ ระดับ ดังนี้ครับ

๑. วีติกกมกิเลส เครื่องเศร้าหมองที่ก้าวล่วงอย่างยิ่ง หมายถึง กิเลสอย่างหยาบที่มีกำลังซึ่งก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา เช่น การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การกล่าววาจาทุจริตต่างๆ เป็นต้น ละได้ด้วยกุศลขั้นศีล

๒. ปริยุฏฐานกิเลส เครื่องเศร้าหมองที่ลุกขึ้นโดยรอบ หมายถึง กิเลสอย่างกลางที่กลุ้มรุมอยู่ในใจ ยังไม่ได้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา ละได้ด้วยกุศลขั้นสมาธิ (สมถภาวนา)

๓. อนุสัยกิเลส เครื่องเศร้าหมองที่นอนตาม หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดที่ตามนอนเนื่องอยู่ในจิต ไม่ปรากฏตัวออกมา หรือเป็นกิเลสที่มีกำลังที่ยังละไม่ได้ จะละได้ด้วยกุศลขั้นปัญญาเท่านั้น (วิปัสสนาภาวนา) วีติกกมกิเลสและปริยุฏฐานกิเลส เกิดขึ้นปรากฏได้ เพราะมีอนุสัยกิเลสเมื่อโลกุตตรมรรคประหาณอนุสัยกิเลสเป็นสมุจเฉทตามลำดับแล้ว กิเลสขั้นหยาบและกิเลสขั้นกลางจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกเลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 25 ธ.ค. 2554

ธรรมเป็นเรื่องละเอียดมากครับ หากเข้าใจเผินก็เข้าใจว่า การอบรมไตรสิกขา หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา จะต้องพยายามทำให้ศีลสมบูรณ์ รักษาศีลให้สมบูรณ์ก่อน แล้วก็ไปทำสมาธิ ไปเจริญสมถภาวนา และถึงอบรมเจริญวิปัสสนา ซึ่งหากเราศึกษาธรรมโดยละเอียด จะเห็นนะครับว่า การจะอบรมปัญญาเพื่อถึงการดับกิเลส ไม่ใช่จะต้องทำศีลก่อน และค่อยมาทำสมาธิและมาอบรมปัญญาเลย เพราะขณะที่อบรมวิปัสสนา ที่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน ขณะนั้น มีศีล สมาธิและปัญญาพร้อมกันในขณะที่เจริญวิปัสสนาแล้ว โดยการเกิดขึ้นพร้อมกันของสภาพธรรม เช่น ขณะที่เจริญวิปัสสนา หรือขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้น มีศีล คือขณะนั้น อินทรียสังวรศีล มีสมาธิ คือสัมมาสมาธิเกิดขึ้นในขณะนั้น และมีปัญญา คือสัมมาทิฏฐิ สัมปชัญญะที่รู้ความจริงในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ

จะเห็นนะครับว่า ไม่ได้หมายความว่า จะต้องไปทำศีลก่อนสมาธิ และปัญญา ไปตามลำดับ เพราะในสมัยพุทธกาล ผู้ที่ไม่ได้ฌานไม่ได้อบรมสมถภาวนาที่เป็นสมาธิก็มีอยู่ แต่ก็บรรลุธรรม เช่น นางวิสาขา เป็นต้น แล้วท่านอบรมสมาธิอย่างไร อบรมไตรสิกขาอย่างไร ก็ตามที่กระผมได้กล่าวมานั่นเอง คือขณะที่สติปัฏฐานเกิด ท่านเหล่านั้นก็มีศีล สมาธิ และปัญญาเกิดพร้อมกันแล้ว ในขณะนั้น เป็นการอบรมไตรสิกขาที่แท้จริงครับ

ผู้ที่รักษาศีลและอบรมสมถภาวนา แต่ไม่เข้าใจหนทางการดับกิเลสที่เป็นวิปัสสนา ศีล สมาธินั้น ก็ไม่ใช่องค์แห่งไตรสิกขาอันเป็นไปเพื่อละกิเลสได้อย่างแท้จริงครับ เพราะศีลและสมาธิที่เป็นสมถภาวนา ก็ละกิเลสเพียงชั่วคราว ไม่ได้ละต้นเหตุที่เป็นอนุสัยกิเลสจริงๆ ซึ่งจะละกิเลสได้หมดจริงๆ ไม่เกิดกิเลสทั้ง ๓ ระดับ ด้วยการเจริญสติปัฏฐานหรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งมีศีลและสมาธิ ปัญญาเกิดพร้อมกันในขณะนั้น แม้ไม่ได้อบรมสมถภาวนาก็อบรมวิปัสสนาและมีสมาธิในขณะนั้นได้ครับ ธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียด

ขออนุโมทนา ที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
dets25226
วันที่ 25 ธ.ค. 2554

ตามชื่มชมข้อความอธิบายของท่านอาจารย์ครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 25 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กิเลสมี ๓ ระดับ คือ กิเลสขั้นหยาบ เราเห็นได้จากการประพฤติทุจริตล่วงศีล แสดงให้ทราบว่า กิเลสนั้นหยาบ และมีกำลัง กิเลสที่ไม่ถึงกับล่วงศีลที่ออกมาเป็นกายทุจริต วจีทุจริต เมื่อเกิดแล้วแต่ยังไม่แสดงออกให้รู้ได้ในขณะนั้นๆ เป็นกิเลสขั้นกลาง เช่น ความขุ่นใจ มี แต่ไม่พูด ไม่แสดงออกทางกาย ทางวาจา หรือ โลภะ มี แต่ไม่แสดงออก ก็ไม่มีผู้อื่นรู้ว่ามีโลภะ กิเลสที่เกิดขึ้นทำกิจการงานร่วมกับจิต กิเลสขั้นกลางนี้เป็นกิเลสที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตแต่ยังไม่ถึงกับล่วงศีลหรือกระทำทุจริตกรรม แต่กิเลสขั้นหยาบและกิเลสขั้นกลาง จะเกิดได้ก็เพราะเหตุว่ามีกิเลสขั้นละเอียด พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ว่าการที่จะดับกิเลสหมดสิ้นเป็นสมุจเฉท (ถอนขึ้นอย่างเด็ดขาด) ได้นั้น ต้องดับอนุสัยกิเลสซึ่งเป็นพืชเชื้อที่เป็นเหตุให้กิเลสขั้นกลาง และกิเลสขั้นหยาบเกิดขึ้นได้

สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ กิเลสที่เป็นระดับที่ละเอียดมาก คืออนุสัยกิเลส ยังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉท ส่วนพระอรหันต์ ไม่มีอนุสัยกิเลสและไม่มีกิเลสระดับใดๆ ทั้งสิ้น พระอรหันต์ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส ท่านไม่หวั่นไหวไปด้วยอำนาจของกิเลส เพราะท่านดับกิเลสได้ทั้งหมดแล้ว แต่ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ย่อมหวั่นไหวไปด้วยอำนาจของกิเลสประการต่างๆ มีโลภะ โทสะ เป็นต้น กิเลสที่ปรากฏให้รู้ได้ในชีวิตประจำวันก็เป็นกิเลสขั้นกลางกับขั้นหยาบ และที่รู้ว่ายังมีกิเลสขั้นละเอียดอยู่ก็เพราะมีกิเลสขั้นกลาง คือขณะที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต และกิเลสขั้นหยาบคือล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมทางกาย ทางวาจา นั่นเอง, เพราะยังมีกิเลสขั้นละเอียด จึงเป็นเหตุให้มีกิเลสขั้นกลางและกิเลสขั้นหยาบ กิเลสขั้นละเอียดจะหมดไปได้นั้นเมื่อมีการอบรมเจริญปัญญารู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลายที่ปรากฏตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ เมื่อปัญญารู้แจ้งอริยสัจจธรรม กิเลสขั้นละเอียดก็จะหมดสิ้นไปเป็นสมุจเฉท และหมดไปตามลำดับมรรคด้วย การที่จะดับกิเลสได้นั้น ต้องด้วยการอบรมเจริญปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) เท่านั้น ไม่ใช่ด้วยสมถภาวนา เพราะสมถภาวนาเพียงข่มกิเลสไว้ได้ด้วยกำลังแห่งความสงบของจิตเท่านั้น หลังจากนั้นแล้ว กิเลสก็เกิดขึ้นได้อีก

กว่าจะดำเนินไปถึงการดับกิเลสได้นั้น ต้องเริ่มที่การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ไม่ขาดการฟังพระธรรม และจะต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนานในการอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่เพียงแค่ชาติเดียวหรือสองชาติเท่านั้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
bou
วันที่ 25 ธ.ค. 2554

ขอบคุณและขอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 26 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pat_jesty
วันที่ 27 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
jaturong
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
worrasak
วันที่ 1 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 5 พ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 22 พ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Witt
วันที่ 15 ต.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม ...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Smornmas
วันที่ 16 ส.ค. 2565

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ